สารบัญเนตติ ห้วเรื่อง, เลขข้อ | เนตติไฟล์เดียว html, text

เนตติปกรณ์แปล ข้อ 053 (2. วิจยหารสัมปาตะ)

       [53] ในหารสัมปาตะ 16 นั้น วิจยหารสัมปาตะ เป็นไฉน
       ในวิจยหารสัมปาตะนั้น ความปรารถนามี 2 อย่าง คือ มีกุศล (เป็นปัจจัย)บ้าง มีอกุศล (เป็นปัจจัย) บ้าง ฯ ความปรารถนาที่มีอกุศล (เป็นปัจจัย) ย่อมยังสัตว์ให้ถึงสังสาร แต่ความปรารถนาที่มีกุศล (เป็นปัจจัย) ย่อมให้ถึงพระนิพพาน คือความปรารถนาที่เป็นเหตุละ ฯ
       แม้มานะก็มี 2 อย่าง คือ มีกุศล (เป็นปัจจัย) บ้าง มีอกุศล (เป็นปัจจัย)บ้าง ฯ บุคคลอาศัยมานะใด ย่อมละมานะ มานะนี้ชื่อว่า กุศล (คือ อาศัยกุศล)แต่มานะใด ย่อมให้ทุกข์เกิดขึ้น มานะนี้เป็นอกุศล ฯ ในความปรารถนาที่ยังสัตว์ให้ถึงสังสารและนิพพานนั้น ความปรารถนาที่มีกุศล (เป็นปัจจัย) ได้แก่ความปรารถนา ย่อมเกิดแก่กุลบุตรผู้ปรารถนาอริยผลว่า "พระอริยะทั้งหลายย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งอายตนะอันสงบแล้ว (อริยผล) อันใด เราก็จักกระทำให้แจ้งอายตนะ (อริยผล) อันนั้น" ดังนี้ โทมนัสนี้ เรียกว่า เนกขัมมสิตะ เพราะความปรารถนาเป็นปัจจัย โทมนัสจึงเกิดขึ้น ฯ ความปรารถนามีกุศล (เป็นปัจจัย) นี้ชื่อว่า เจโตวิมุตติเพราะสำรอกราคะ ความปรารถนามีกุศล (เป็นปัจจัย) นั้นชื่อว่า ปัญญาวิมุตติเพราะสำรอกอวิชชา (ความปรารถนามีกุศลเป็นปัจจัยย่อมไม่มีโทษ เพราะมุ่งอริยผลอันไม่มีโทษ) ฯ
       ถามว่า อะไร เป็นเครื่องตรวจสอบปัญญาวิมุตตินั้น ฯ
       ตอบว่า องค์แห่งมรรคมีองค์ 8 คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีิวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ย่อมตรวจสอบปัญญาวิมุตติ เพราะอริยมรรคนั้นเป็นมูล ฯ
       ถามว่า การตรวจสอบปัญญาวิมุตตินั้น พึงเห็นในที่ไหนตอบว่า พึงเห็นในฌานที่ 4 เพราะเป็นฌานสูงสุด จริงอยู่ บุคคลใดได้ฌานที่ 4 ย่อมยังจิตประกอบด้วยองค์ 8 เหล่านี้ คือ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อน จิตควรแก่การงาน จิตตั้งมั่น จิตไม่หวั่นไหว ให้เจริญอยู่ ฌานลาภีบุคคลนั้นย่อมบรรลุคุณวิเศษ 8 อย่างในฌานที่ 4 นั้น คือ ย่อมบรรลุอภิญญา 6 และคุณธรรมพิเศษอีก 2 คือ มโนมยิทธิและวิปัสสนาญาน ฯ ก็จิตในฌาณที่ 4 นั้น ย่อมมีเมื่อไร ความผ่องแผ้วก็ย่อมมีเมื่อนั้นความผ่องแผ้วย่อมมีเมื่อไร กิเลสเพียงดังเนินก็ย่อมไม่มีเมื่อนั้น กิเลสเพียงดังเนินย่อมไม่มีเมื่อไร จิตควรแก่การงานก็ย่อมมีเมื่อนั้น จิตควรแก่การงานย่อมมีเมื่อไร จิตตั้งมั่นก็ย่อมมีเมื่อนั้น จิตตั้งมั่นย่อมมีเมื่อไร จิตไม่หวั่นไหวก็ย่อมมีเมื่อนั้น เพราะฉะนั้น การตรวจสอบปัญญาวิมุตตินั้น จึงทราบได้ในฌานที่ 4 ฯ
       ในฝ่ายทั้ง 2 คือตัณหาและอวิชชานั้น คำทั้ง 2 คือ กิเลสเพียงดังเนินและอุปกิเลส เป็นฝ่ายแห่งตัณหา ความหวั่นไหวอันใด และความไม่ตั้งมั่นแห่งจิตอันใด นี้เป็นฝ่ายแห่งทิฏฐิ (อวิชชา) ฯ
       อินทรีย์ 4 คือ ทุกขินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ สุขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ย่อมดับไปในฌานที่ 4 อุเบกขินทรีย์ที่เหลือ ย่อมมีแก่พระโยคีนั้น ฯ พระโยคีนั้นย่อมใส่ใจซึ่งสมาบัติเบื้องบน เพราะความยินดีในสมาบัติอันสงบ เมื่อพระโยคีนั้นใส่ใจสมาบัติเบื้องบนอยู่ สัญญาในฌานที่ 4 ย่อมเป็นราวกะว่าสัญญาหยาบตั้งอยู่ และไม่ยินดีปฏิฆสัญญา (ปัญจวิญญาณ) อยู่ พระโยคีนั้นจึงกระทำในใจถึง"อนนฺตํ อากาสํ" เป็นไปเพราะการก้าวล่วงรูปสัญญาโดยไม่เหลือ เพราะการตั้งอยู่ไม่ได้แห่งปฏิฆสัญญาทั้งหลาย และเพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา (อกุศลสัญญาต่างๆ ) กระทำให้แจ้งซึ่งอากาสานัญจายตนะสมาบัติ เข้าถึงอยู่ ฯ รูปาวจรสัญญา ชื่อว่า มีการนำออกด้วยอภิญญา โวการ (ความลามก) ในอารมณ์ต่าง ๆชื่อว่า นานัตตสัญญา พระโยคีย่อมก้าวล่วงรูปาวจรสัญญาและนานัตตสัญญานั้นและปฏิฆสัญญาของพระโยคาวจรนั้น ย่อมถึงการตั้งอยู่ไม่ได้ รูปาวจรสมาธิ คือโอภาสของพระโยคีผู้มีจิตตั้งมั่นอย่างนี้ย่อมอันตรธานไป และการเห็นกสิณรูปทั้งหลายก็ย่อมอันตรธานไป ด้วยอำนาจแห่งอรูปาวจรสมาธิ รูปาวจรสมาธิทั้ง 2 นั้น ประกอบด้วยองค์ 6 นั้น ควรพิจารณาว่า ใจของเราไม่ประกอบด้วยอภิชฌาในโลกทั้งปวง จิตของเราไม่มุ่งร้ายในสัตว์ทั้งปวง ความเพียรอันเราเริ่มประคองไว้แล้ว กายของเราสงบแล้ว ไม่ปั่นป่วนแล้ว จิตของเราตั้งมั่น ไม่ฟุ้งซ่านแล้ว สติของเราปรากฏ ไม่หลงลืมแล้ว ฯ
       ในองค์ 6 เหล่านั้น ใจไม่ประกอบด้วยอภิชฌาในโลกทั้งปวงอันใด จิตไม่มุ่งร้ายในสัตว์ทั้งปวงอันใด ความเพียรเริ่มแล้วประคองไว้อันใด จิตที่ตั้งมั่นไม่ซัดส่ายอันใด ทั้งหมดนี้ ชื่อว่า สมถะ ฯ กายอันสงบแล้วไม่ปั่นป่วนอันใด นี้ ชื่อว่าสมาธิบริกขาร ฯ สติปรากฏแล้ว ไม่หลงลืมอันใด นี้ชื่อว่า วิปัสสนา ฯ
       ญาณทัสสนะ 5
       สมาธิอรหัตผลใด ได้ด้วยสมถะวิปัสสนาปฏิปทาสมาธินั้น พึงทราบว่ามีญาณทัสสนะ 5 อย่างคือ ญาณทัสสนะ ย่อมปรากฏเฉพาะแก่พระอรหันต์เท่านั้นว่า "สมาธินี้ เป็นสมาธิมีสุขในปัจจุบัน" ดังนี้ญาณทัสสนะ ย่อมปรากฏเฉพาะแก่พระอรหันต์เท่านั้นว่า "สมาธินี้เป็นสมาธิ มีสุขวิบากต่อไป" ดังนี้ ญาณทัสสนะ ย่อมปรากฏเฉพาะแก่พระอรหันต์เท่านั้นว่า"สมาธินี้ เป็นอริยะไม่มีอามิส" ดังนี้ ญาณทัสสนะ ย่อมปรากฏเฉพาะแก่พระอรหันต์เท่านั้นว่า "สมาธินี้ เป็นสมาธิอันบุรุษผู้ไม่ต่ำทรามเสพแล้ว" ดังนี้ญาณทัสสนะ ย่อมปรากฏเฉพาะแก่พระอรหันต์เท่านั้นว่า "สมาธินี้ เป็นสมาธิสงบแล้ว ประณีต ได้ความสงบระงับ มีการบรรลุภาวะแน่วแน่ และมีการข่มการห้ามปัจจนิกธรรมที่มีการปรุงแต่งเป็นไป" ดังนี้ ฯ ก็ญาณทัสสนะ ย่อมปรากฏเฉพาะแก่พระอรหันต์เท่านั้นว่า "เรามีสติเข้าถึง เรามีสติออก ซึ่งสมาธินี้นั้น" ดังนี้แล ฯ
[สารบัญ] | หน้าค้นหา
(ไม่สงวนลิขสิทธิ์)