สารบัญเนตติ ห้วเรื่อง, เลขข้อ | เนตติไฟล์เดียว html, text

เนตติปกรณ์แปล ข้อ 003 (2. อุทเทสวาระ)

       [ 3 ] ในคาถาว่า “โสฬสหารา (หาระ 16)” เป็นต้นนั้น มูลบท 18 เป็นไฉน ? คือ กุศลบท 9 และอกุศลบท 9.
       ในบรรดากุศลบทและอกุศลบทเหล่านั้น อกุศลบท 9 เป็นไฉน ? คือ ตัณหา, อวิชชา, โลภะ, โทสะ, โมหะ, สุภสัญญา, สุขสัญญา, นิจจสัญญา, และ อัตตสัญญา. ธรรมที่เป็นฝ่ายอกุศลทั้งหมดย่อมถึงการรวมเข้าในอกุศลบทเหล่านี้.
       ในบรรดากุศลบทและอกุศลบทเหล่านั้น กุศลบท 9 เป็นไฉน ? คือ สมถะ, วิปัสสนา, อโลภะ, อโทสะ, อโมหะ, อสุภสัญญา, อสุขสัญญา, อนิจจสัญญา, และ ออัตตสัญญา. ธรรมที่เป็นฝ่ายกุศลทั้งหมดย่อมถึงการรวมเข้าในกุศลบทเหล่านี้.
       9 บทเหล่านี้ คือ ตัณหา, อวิชชา, โลภะ, โทสะ, โมหะ และ วิปัลลาส 4 (สุภสัญญา, สุขสัญญา, นิจจสัญญา, อัตตสัญญา) เป็นอินทรียภูมิ.
       9 บทเหล่านี้ คือ สมถะ, วิปัสสนา, กุศลมูล 3 (อโลภะ, อโทสะ, อโมหะ) และสติปัฏฐาน 4 (อสุภสัญญา, อสุขสัญญา, อนิจจสัญญา, อนัตตสัญญา) เป็นอินทรียภูมิ.
       สมถะเป็นต้นที่เป็นฝ่ายกุศล ข้าพเจ้าพรรณนาประกอบด้วย 9 บท และตัณหาเป็นต้นที่เป็นฝ่ายอกุศล ข้าพเจ้าพรรณนาประกอบด้วย 9 บท. 18 บทเหล่านี้แลชื่อว่า มูลบท.
       อุทเทสวาระ จบ
       ทั้งอรรถะและพยัญชนะ โดยใช้ หาระ 16 เป็นหลักในการพิจารณาพยัญชนะ (ศัพท์) และ นัย 3 อย่าง คือ นันทิยาวัฏฏนัย ติปุกขลนัย สีหวิกกีฬิตนัย เป็นหลักในการพิจารณาอรรถะ ส่วนนัยที่เหลืออีก 2 อย่าง คือ ทิสาโลจนนัย และอังกุสนัย เรียกว่า กรรมนัยหรือโวหารนัย เป็นเพียงการตรวจดูธรรมที่แสดงแล้วโดยอรรถนัย 3 อย่างข้างต้นเท่านั้น ไม่มีการพรรณนาอรรถต่างหาก
       หาระและนัยเหล่านี้ ผู้ศึกษาสามารถนำไปใช้ในสูตรทั้งปวงได้ เพราะท่านกำหนดจากพระบาลีแล้วนำมาวางเป็นกฎเกณฑ์ เป็นหลักในการศึกษา ดังนั้นคัมภีร์เนตติจึงจัดเป็นสังวรรณนาสูตรที่ขยายความตามสมควรแก่พระบาลีที่เป็นสังวัณเณตัพพสูตร หรือสูตรที่ควรขยาย
       3. นิทเทสวาระ
[สารบัญ] | หน้าค้นหา
(ไม่สงวนลิขสิทธิ์)