สารบัญเนตติ ห้วเรื่อง, เลขข้อ | เนตติไฟล์เดียว html, text

เนตติปกรณ์แปล ข้อ 022 (4. ปทัฏฐานหารวิภังค์)

       [ 22 ] ในบรรดาหาระเหล่านั้น ปทัฏฐานหาระเป็นไฉน ? คาถาว่า “ธมฺมํ เทเสติ ชิโน (การพิจารณาเหตุใกล้ของธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง)” เป็นต้นนั้น ชื่อว่า ปทัฏฐานหาระ. ปทัฏฐานหาระแสดงอะไร ? แสดงเนื้อความเหล่านี้ คือ อวิชชา มีลักษณะการไม่แทงตลอดสภาพที่แท้จริงของธรรมทั้งปวง. วิปัลลาส 4 เป็นปทัฏฐาน (เหตุใกล้) ของอวิชชานั้น. ตัณหา มีลักษณะการเหนี่ยวอารมณ์มายึดไว้. สภาพที่น่ารัก สภาพที่น่ายินดี เป็นปทัฏฐาน (เหตุใกล้) ของตัณหานั้น. โลภะ มีลักษณะปรารถนาอารมณ์. อทินนาทานเจตนา เป็นปทัฏฐานของโลภะนั้น. สุภสัญญา (สัญญาวิปัลลาสที่กำหนดว่างาม ในสิ่งที่ไม่งาม) มีลักษณะการถือเอา สี สัณฐาน และ อิตถีนิมิต ปุริสนิมิต. การไม่สำรวมอินทรีย์เป็นปทัฏฐานของสุภสัญญานั้น. สุขสัญญา (สัญญาวิปัลลาสที่กำหนดว่า สุขในสื่งที่เป็นทุกข์) มีลักษณะการติดอารมณ์ด้วยผัสสะอันเป็นอารมณ์ของอาสวะ. อัสสาทะ (ตัณหาอันเป็นเหตุยินดี) เป็นปทัฏฐานของสุขสัญญานั้น. นิจจสัญญา (สัญญาวิปัลลาสที่กำหนดว่าเที่ยง ในสิ่งที่ไม่เที่ยง) มีลักษณะการไม่เห็นธรรมทั้งหลาย ที่มีสังขตลักษณะ. วิญญาณ เป็นปทัฏฐานของอนิจจสัญญานั้น. อัตตสัญญา (สัญญาวิปัลลาสที่กำหนดว่าเป็นอัตตา ในสิ่งที่เป็นอนัตตา) มีลักษณะการไม่เห็นอนิจจสัญญา และ ทุกขสัญญา. นามกาย เป็นปทัฏฐานของอัตตสัญญานั้น. วิชชา มีลักษณะการแทงตลอดธรรมทั้งปวง. ธรรมที่ควรรู้ทั้งปวงเป็นปทัฏฐานของวิชชานั้น. สมถะ (สมาธิ) มีลักษณะทำลายอุจธัจจะที่ทำให้จิตฟุ้งซ่าน. อสุภอารมณ์ เป็นปทัฏฐานของสมถะนั้น. อโลภะ มีลักษณะการกำจัดความอยากได้. เจตนาที่เป็นเหตุงดเว้นจากอทินนาทาน เป็นปทัฏฐานของอโลภะนั้น. อโทสะ มีลักษณะการไม่เบียดเบียน. เจตนาที่เป็นเหตุงดเว้นจากปาณาติบาต เป็นปทัฏฐานของอโทสะนั้น. อโมหะ มีลักษณะการแทงตลอดสภาพของอารมณ์. สัมมาปฏิบัติ เป็นปทัฏฐานของอโมหะนั้น อสุภสัญญา มีลักษณะการถือเอาวินีลกะ วิปุพพกะ อสุภะ. นิพพิทา (ปัญญาที่เกิดขึ้นเพราะความเบื่อหน่าย) เป็นปทัฏฐานของอสุภสัญญานั้น. ทุกขสัญญา มีลักษณะการกำหนดรู้ผัสสะ อันเป็นอารมณ์ของอาสวะ. เวททนา เป็นปทัฏฐานของทุกขสัญญานั้น. อนิจจสัญญา มีลักษณะการเห็นธรรมทั้งหลาย อันมีสังขตลักษณะ. ความเกิดและความดับของสังขตธรรมทั้งหลาย เป็นปทัฏฐานของอนิจจสัญญานั้น. อนัตตสัญญา มีลักษณะการใส่ใจสภาพธรรมทั้งปวง. การจำหมายว่า เป็นเพียงสภาวธรรมเท่านั้น เป็นปทัฏฐานของอนัตตสัญญานั้น
       กามคุณ 5 เป็นปทัฏฐานของกามราคะ. รูปอินทรีย์ 5 เป็นปทัฏฐานของรูปราคะ. อายตนะที่ 6 (มนายตนะ) เป็นปทัฏฐานของภวราคะ (ราคะที่ติดอยู่ในภพ) ความยินดีภพที่ตนเกิด เป็นปทัฏฐานของอุปาทานขันธ์ 5. ปุพเพนิวาสานุสสติ เป็นปทัฏฐานของญาณทัสสนะ. สัทธา มีลักษณะความเสื่อมใส และ เป็นปัจจุปัฏฐาน (อาการที่ปรากฏ) ของความผ่องใส. สัทธา มีลักษณะความเชื่อ. ความเลื่อมใสอย่างยิ่ง เป็นปทัฏฐานของความเชื่อนั้น. ปสาทะ มีลักษณะความไม่ขุ่นมัว. สัทธา เป็นปทัฏฐานของปสาทะนั้น. วิริยะ มีลักษณะความพยายาม. สัมมัปปธาน เป็นปทัฏฐานของวิริยะนั้น. สติ มีลักษณะสนใจในอารมณ์. สติปัฏฐาน มีกายเป็นต้น เป็นปทัฏฐานของสตินั้น. สมาธิ มีลักษณะการถือเอาอารมณ์อันเดียวแล้วไม่ซัดส่าย. ฌานทั้งหลาย เป็นปทัฏฐานของสมาธินั้น. ปัญญา มีลักษณะการรู้โดยประการต่าง ๆ. สัจจะทั้งหลาย เป็นปทัฏฐานของปัญญานั้น
       อีกนัยหนึ่ง อโยนิโสมนสิการ มีลักษณะการทำใจยินดี (ในธรรมที่เป็นสังโยชน์). อวิชชา เป็นปทัฏฐานของ อโยนิโสมนสิการนั้น. อวิชชา มีลักษณะหลงในสัจจะ 4. อวิชชานั้น เป็นปทัฏฐานของสังขารทั้งหลาย. สังขารทั้งหลาย มีลักษณะการทำให้ถึงภพใหม่ สังขารเหล่านั้น เป็นปทัฏฐานของวิญญาณ. วิญญาณ มีลักษณะการเกิดขึ้นโดยความเป็นมูลของ อุปปัตติภพ. นามรูป มีลักษณะการรวมนามกายและรูปกาย. นามรูปนั้นเป็นปทัฏฐานของ สฬายตนะ (อายตนะ 6). วิญญาณนั้น เป็นปทัฏฐานของ นามรูป. สฬายตนะ (อายตนะ 6) มีลักษณะเป็นสิ่งที่ถูกกำหนดของอินทรีย์ทั้งหลาย มีจักขุเป็นต้น. สฬายตนะนั้น เป็นปทัฏฐานของ ผัสสะ. ผัสสะ มีลักษณะเป็นที่ประชุมของ จักขุปสาท รูปารมณ์ และ จักขุวิญญาณ. ผัสสะนั้น เป็นปทัฏฐานของเวทนา. เวทนา มีลักษณะการเสวยอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์. เวทนานั้น เป็นปทัฏฐานของตัณหา. ตัณหา มีลักษณะการเหนี่ยวอารมณ์มายึดไว้. ตัณหานั้น เป็นปทัฏฐานของ อุปาทาน. อุปาทาน ทำให้เกิด อุปปัตติขันธ์. อุปาทานนั้น เป็นปทัฏฐานของ ภพ. ภพ มีลักษณะการทำให้เกิดนามกายและรูปกาย. ภพนั้น เป็นปทัฏฐานของ ชาติ. ชาติ มีลักษณะความปรากฏแห่งขันธ์ในเบื้องแรก. ชาตินั้น เป็นปทัฏฐานของ ชรา. ชรา มีลักษณะความแก่แห่งอุปธิ คือ ขันธ์. ชรานั้น เป็นปทัฏฐานของมรณะ. มรณะ มีลักษณะการตัดชีวิตินทรีย์. มรณะนั้น เป็นปทัฏฐานของ โสกะ. โสกะ กระทำความเร่าร้อนเศร้าโศก. โสกะนั้น เป็นปทัฏฐานของ ปริเทวะ. ปริเทวะ กระทำความบ่นเพ้อคร่ำครวญ. ปริเทวะนั้น เป็นปทัฏฐานของ ทุกข์. ทุกข์ คือความบีบคั้นเบียดเบียนทางกาย. ทุกข์นั้น เป็นปทัฏฐานของ โทมนัส. โทมนัส คือความบีดคั้นเบียดเบียนทางใจ. โทสมัสนั้น เป็นปทัฏฐานของ อุปายาส. อุปายาส กระทำความเผาลน. อุปายาสนั้น เป็นปทัฏฐานของ ภพ. ภพนั้น เป็นปทัฏฐานของ วัฏสงสาร. มรรค มีลักษณะการนำออกจากวัฏสงสาร. มรรคนั้น เป็นปทัฏฐานของ นิพพาน
       ความเป็นผู้รู้จักคบกัลยาณมิตร เป็นปทัฏฐานของงความเป็นผู้รู้จักเจริญภาวนา ที่ทำให้เกิดปิติในธรรม. ความเป็นผู้รู้จักเจริญภาวนาที่ทำให้ปิติในธรรม เป็นปทัฏฐานของความเป็นผู้รู้ประมาณแห่งกรรมฐาน. ความเป็นผู้รู้ประมาณแห่งกรรมฐาน เป็นปทัฏฐานของ ปุพเพกตปุญญตา (ความเป็นผู้มีบุญที่เคยทำไว้ในกาลก่อน). ปุพเพกตปุญญตา เป็นปทัฏฐานของ ปฏิรูปเทสวาสะ (การอยู่ในประเทศอันสมควร). ปฏิรูปเทสวาสะ เป็นปทัฏฐานของ สัปปุริสูปนิสสยะ (การคบสัตบุรุษ). สัปปุริสูปนิสสยะ เป็นปทัฏฐานของ อัตตสัมมาปณิธิ (การประพฤติตนด้วยดี). อัตตสัมมาปณิธิ เป็นปทัฏฐานของ ศีล. ศีล เป็นปทัฏฐานของ อวิปปฏิสาร (ความไม่ร้อนใจ). อวิปปฏิสาร เป็นปทัฏฐานของ ปาโมช. ปาโมช เป็นปทัฏฐานของ ปีติ. ปีติ เป็นปทัฏฐานของ ปัสสัทธิ (ความสงบกายและใจ). ปัสสัทธิ เป็นปทัฏฐานของ สุข. สุข เป็นปทัฏฐานของ สมาธิ. สมาธิ เป็นปทัฏฐานของ ยถาภูตญาณทัสสนะ. ยถาภูตญาณทัสสนะ เป็นปทัฏฐานของ นิพพิทา (ความเบื่อหน่าย). นิพพิทา เป็นปทัฏฐานของ วิราคะ (มรรค). วิราคะ เป็นปทัฏฐานของ วิมุตติ (ผล). วิมุตติ เป็นปทัฏฐานของ วิมุตติญาณทัสสนะ (ปัจจเวกขญญาณ). อุปนิสัย (เหตุที่มีกำลัง) ทั้งสิ้น ปัจจัย (เหตุที่เหลือ) ทั้งสิ้น ย่อมมีอย่างนี้. ทั้งหมดนั้นจัดเป็นปทัฏฐาน. เพราะฉะนั้นพระมหากัจจายนเถระ จึงกล่าวว่า “ธมฺมํ เทเสติ ชิโน (การพิจารณาเหตุใกล้ของธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง)” เป็นต้น
       ปทัฏฐานหาระ ท่านยกจากพระบาลีมาประกอบแล้ว
       5. ลักขณหารวิภังค์
[สารบัญ] | หน้าค้นหา
(ไม่สงวนลิขสิทธิ์)