สารบัญเนตติ ห้วเรื่อง, เลขข้อ | เนตติไฟล์เดียว html, text

เนตติปกรณ์แปล ข้อ 036 (9. ปริวัตตนหารวิภังค์)

       [36] อีกอย่างหนึ่ง ปาณาติบาตของบุคคลใด ผู้เว้นขาดจากปาณาติบาตเป็นอันบุคคลนั้นละแล้ว (ละด้วยตทังคปหานะเป็นต้น) ฯ อทินนาทานของบุคคลใด ผู้เว้นขาดจากอทินนทาน ก็เป็นอันบุคคลนั้นละแล้ว ฯ โดยนัยนี้อพรหมจรรย์ ของบุคคลผู้ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมเป็นอันละได้แล้ว ฯ มุสาวาทของบุคคลผู้มีปกติกล่าวสัจจะย่อมเป็นอันละได้แล้ว ฯ ปิสุณาวาจาของบุคคลผู้ไม่กล่าวคำ ส่อเสียดย่อมเป็นอันละได้แล้ว ฯ ผรุสวาจาของบุคคลผู้กล่าวคำไพเราะย่อมเป็นอันละได้แล้ว ฯ สัมผัปปลาปะของบุคคลผู้มีปกติกล่าวตามกาลย่อมเป็นอันละได้แล้ว ฯ อภิชฌาของบุคคลผู้ไม่มีอภิชฌาย่อมเป็นอันละได้แล้วฯ พยาบาทของบุคคลผู้อันไม่มีพยาบาทย่อมเป็นอันละได้แล้ว ฯ มิจฉาทิฏฐิของบุคคลผู้ สัมมาทิฏฐิก็ย่อมเป็นอันละได้แล้ว ฯ
       ก็แต่ว่า มิจฉาทิฏฐิบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ติเตียน อริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 วาทะเป็นไปตามวาทะอันบุคคลพึงติเตียนอันเป็นไปกับเหตุที่กระทำ อันบุคคลพึงเห็นเองย่อมมาถึงบุคคลนั้น ๆ อนึ่ง บุคคลผู้มิจฉาทิฏฐินั้น เจริญอยู่ย่อมติเตียนซึ่งพระธรรมคือสัมมาทิฏฐิ ฯ ก็ชนเหล่าใด เป็นมิจฉาทิฏฐิ ด้วยการติเตียนนั้น สิ่งที่ควรบูชา สิ่งที่ควรสรรเสริญย่อมไม่มีแก่บุคคลเหล่านั้นผู้เจริญอยู่ ฯ ด้วยคำตามที่กล่าวนี้ มิจฉาทิฏฐิบุคคลเหล่านั้น เจริญอยู่ ย่อมติเตียนธรรมคือ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะสัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาวิมุตติ สัมมาวิมุตติญาณทัสสนะ ฯ ก็ชนเหล่าใดเป็นมิจฉาวิมุตติญาณทัสสนะ ด้วยการติเตียนนั้น การบูชา การสรรเสริญย่อมไม่มีแก่บุคคลเหล่านั้นผู้เจริญอยู่ ฯ
       ก็แล ชนผู้ตกอยู่ในอำนาจกามเหล่าใดเหล่าหนึ่งกล่าวอย่างนี้ว่า "กามทั้งหลายอันบุคลพึงกิน กามทั้งหลายอันบุคคลพึงบริโภคกามทั้งหลายอันบุคคลพึงส้องเสพ กามทั้งหลายอันบุคคลพึงเสพเป็นนิตย์กามทั้งหลายอันบุคคลพึงให้เจริญ กามทั้งหลายอันบุคคลพึงกระทำให้มาก" ดังนี้
       เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากกามทั้งหลาย เป็นอธรรม ของชนเหล่านั้น ฯก็หรือว่า ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง กล่าวอย่างนี้ว่า "การประกอบความเพียร เพื่อทำตนให้ลำบาก (อัตตกิลมถานุโยค)ว่าเป็นธรรมนำออกจากทุกข์ (นิยยานิกธรรม)" ดังนี้ นิยยานิกธรรม ของชนเหล่านั้น เป็นอธรรม ฯ ก็หรือว่า ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง กล่าวอย่างนี้ว่า "ทุกข์ คือความเร่าร้อน เป็นธรรม" ดังนี้ธรรม คือ สุข จึงเป็นอธรรมของชนเหล่านั้น ฯ
       หมุนกลับ วิปลาส 4อีกนัยหนึ่ง เมื่อภิกษุตามพิจารณาในอสุภะ คือความไม่งามในสังขารทั้งปวงอยู่ สุภสัญญา (ความสำคัญว่างาม) เป็นอันเธอย่อมละได้ ฯ เมื่อตามเห็นทุกข์อยู่ สุขสัญญา (สำคัญว่าเป็นสุข) เป็นอันเธอย่อมละได้ ฯ เมื่อตามเห็นความไม่เที่ยงอยู่ นิจจสัญญา (ความสำคัญว่าเที่ยง) เป็นอันเธอย่อมละได้ ฯ
       เมื่อตามเห็นความไม่มีตัวตน อัตตสัญญา (ความสำคัญว่าตัวตน) เป็นอันเธอย่อมละได้ ฯ ก็หรือว่า ภิกษุนั้น ย่อมชอบใจธรรมใด ๆ หรือเข้าใกล้ธรรมใด ๆด้วยทิฏฐิ ธรรมใดเป็นปฏิปักษ์ต่อธรรมที่ชอบใจ หรือธรรมที่เข้าใกล้นั้น ๆธรรมที่เป็นปฏิปักษ์นั้น อันเธอกำหนดรู้แล้วโดยความเป็นข้าศึกกัน ฯ ปริวัตตนหาระ พึงกระทำด้วยสามารถแห่งธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กัน ตามสมควรแก่ธรรมที่ตนปรารถนาให้เป็นไป ฉะนี้ ฯ
       ด้วยเหตุนั้น ท่านพระมหากัจจายนะ จึงกล่าวว่า "ย่อมหมุนกลับธรรมที่เป็นข้าศึกในกุศลและอกุศลว่า ธรรมนี้ควรเจริญ ธรรมนี้ควรละ" ดังนี้
       จบ ปริวัตตนหารวิภังค์
       10. เววจนหารวิภังค์
[สารบัญ] | หน้าค้นหา
(ไม่สงวนลิขสิทธิ์)