สารบัญเนตติ ห้วเรื่อง, เลขข้อ | เนตติไฟล์เดียว html, text

เนตติปกรณ์แปล ข้อ 041 (11. บัญญัติหารวิภังค์)

       [41] ภิกษุนั้น ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า "นี้ทุกข์" ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า "นี้ทุกขสมุทัย" ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า "นี้ทุกขนิโรธ" ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า "นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา" ดังนี้ บัญญัตินี้ ชื่อว่า ปฏิเวธบัญญัติแห่งสัจจะทั้งหลาย ชื่อว่า นิกเขปบัญญติแห่งทัสสนภูมิ ชื่อว่า ภาวนาบัญญัติแห่งมรรค ชื่อว่า สัจฉิกิริยาบัญญัติแห่งโสตาปัตติผล ฯ
       ภิกษุนั้น ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า "นี้อาสวะ" ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า "นี้อาสวสมุทัย" ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า "นี้อาสวนิโรธ" ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า "นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา" ฯ ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า อาสวะเหล่านั้นย่อมดับไปไม่มีส่วนเหลือ ฯ บัญญัตินี้ ชื่อว่า อุปปาทบัญญัติแห่งขยญาณ(ญาณในความสิ้นไป) ชื่อว่า โอกาสบัญญัติแห่งญาณในความไม่เกิดขึ้น ชื่อว่า ภาวนาบัญญัติแห่งมรรค ชื่อว่า ปริญญาบัญญัติแห่งทุกข์ ชื่อว่า ปหานบัญญัติแห่งสมุทัย ชื่อว่า อารัมภบัญญัติแห่งวิริยินทรีย์ ชื่อว่า อาหฏนาบัญญัติ(นำกิเลสเพียงดังไข่ขางออก) แห่งไข่แมลงวัน ชื่อว่า นิกเขปบัญญัติแห่งภาวนาภูมิ ชื่อว่า อภินิฆาตบัญญัติ (การทำลาย) แห่งอกุศลธรรมอันลามก ฯ
       บัญญัติ เทสนาธรรมจักรดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า "นี้ทุกข์" ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ
       "นี้ทุกขสมุทัย" ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ "นี้ทุกขนิโรธ" ดูกรภิกษุทั้งหลายดวงตาเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า "นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา" ดังนี้ ฯ บัญญัตินี้ ชื่อว่า เทสนาบัญญัติแห่งสัจจะทั้งหลาย ชื่อว่า นิกเขปบัญญัติแห่งสุตมยปัญญา ชื่อว่าสัจฉิกิริยาบัญญัติแห่งอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ชื่อว่า ปวัตตนาบัญญัติแห่งธรรมจักร ฯ
       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า "ทุกข์นี้นั่นแล อันบุคคลควรกำหนดรู้"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ "ทุกขสมุทัยนี้นั่นแล อันบุคคลควรละ" ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ "ทุกขนิโรธนี้นั่นแล อันบุคคลควรกระทำให้แจ้ง" ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า "ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานี้นั่นแล อันบุคคลควรเจริญ" ดังนี้ ฯ
       บัญญัตินี้ ชื่อว่า ภาวนาบัญญัติแห่งมรรค ชื่อว่า นิกเขปบัญญติแห่งจินตามยปัญญา ชื่อว่า สัจฉิกิริยาบัญญัติแห่งอัญญินทรีย์ ฯ
       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า "ทุกข์นี้นั่นแล เราได้กำหนดรู้แล้ว"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ ว่า "ทุกขสมุทัยนี้นั่นแล เราละได้แล้ว" ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ ว่า "ทุกขนิโรธนี้นั่นแล เรากระทำให้แจ้งแล้ว" ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า "ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานี้นั่นแล เราก็เจริญแล้ว" ดังนี้ ฯ
       บัญญัตินี้ ชื่อว่า ภาวนาบัญญัติแห่งมรรค ชื่อว่า นิกเขปบัญญัติแห่งภาวนามยปัญญา ชื่อว่า สัจฉิกิริยาบัญญัติแห่งอัญญาตาวินทรีย์ และชื่อว่า ปวัตตนาบัญญัติแห่งพระธรรมจักร แล ฯ
       พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานว่า"มุนี ได้สละแล้วซึ่งสังขารในภพ อันเป็นเหตุเกิดกรรม ที่ชั่งได้(ตุลํ) และชั่งไม่ได้ (อตุลํ) มีความยินดีในภายใน มีจิตมั่นคงปลงอายุสังขาร(เพราะ) ได้ทำลายกิเลสให้เกิดตนแล้ว ดุจการทำลายเกราะ ฉะนั้น" ฯ
       คำว่า "ตุลํ" ได้แก่ สังขารธาตุ ฯ
       คำว่า "อตุลํ" ได้แก่ นิพพานธาตุ ฯ
       คำว่า "ตุลมตุลญฺจ สมฺภวํ" ได้แก่ อภิญญาบัญญัติแห่งธรรมทั้งปวง และนิกเขปบัญญัติแห่งธัมมปฏิสัมภิทา ฯ
       คำว่า "มุนี ได้สละแล้วซึ่งสังขารในภพ" ได้แก่ ปริจาคบัญญัติแห่งสมุทัยและปริญญาบัญญัติแห่งทุกข์ ฯ
       คำว่า "มีความยินดีในภายใน มีจิตมั่นคง" ได้แก่ภาวนาบัญญัติแห่งกายคตาสติ และฐิติบัญญัติแห่งเอกัคคตาจิต ฯ
       คำว่า "ได้ทำลายกิเลสให้เกิดตนแล้ว ดุจการทำลายเกราะ" ได้แก่อภินิพพิทาบัญญัติแห่งจิต (การเบื่อหน่ายอย่างยิ่ง) เป็นอุปาทานบัญญัติของพระสัพพัญญูพุทธะ เป็นปทาลนาบัญญัติ (ทำลาย) แห่งกระเปาะไข่ คือ อวิชชาฯ
       ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "ตุลมตุลญฺจ สมฺภวํ" แปลว่า เป็นเหตุเกิดกรรมที่ชั่งได้และชั่งไม่ได้ ฯ
       พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะมารว่า"บุคคลใด ได้เห็นทุกข์ มีกามใดเป็นแดนมอบให้ บุคคลนั้นพึงน้อมไปในกามทั้งหลายได้อย่างไร เพราะกามทั้งหลายเป็นเครื่องข้องในโลก บุคคลมีสติ รู้อย่างนี้ พึงศึกษาเพื่อกำจัดกามเหล่านั้น" ฯ
       คำว่า "โย ทุกฺขํ" แปลว่า บุคคลใด....ทุกข์ ได้แก่ เววจนบัญญัติ และปริญญาบัญญัติแห่งทุกข์ ฯ คำว่า "ยโตนิทานํ" แปลว่า กามใดเป็นการมอบให้เป็นปภวบัญญัติและปหานบัญญัติแห่งสมุทัย ฯ คำว่า "อทฺทกฺขิ" แปลว่า ได้เห็นแล้ว เป็นเววจนบัญญัติและปฏิเวธบัญญัติแห่งญาณจักษุ ฯ
       คำว่า "บุคคลนั้น พึงน้อมไปในกามทั้งหลายได้อย่างไร" เป็นเววจนบัญญัติและอภินิเวสบัญญัติแห่งกามตัณหา ฯ คำว่า "เพราะรู้กามทั้งหลายเป็นเครื่องข้องในโลก" เป็นทัสสนบัญญัติโดยเป็นข้าศึกแห่งกามทั้งหลาย ฯ จริงอยู่ กามทั้งหลายเปรียบเทียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง เปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ เปรียบเหมือนเหว และอสรพิษ ฯ
       คำว่า "เตสํ สติมา" แปล มีสติ.... แห่งกามเหล่านั้น เป็นอปจยบัญญัติ(บัญญัติไม่สั่งสมไว้) แห่งสาระ เป็นนิกเขปบัญญัติแห่งกายคตาสติ และเป็นภาวนาบัญญัติแห่งมรรค ฯ
       คำว่า "วินยาย สิกฺเข" แปลว่า พึงศึกษาเพื่อการกำจัด เป็นปฏิเวธบัญญัติแห่งการกำจัดราคะ การกำจัดโทสะ การกำจัดโมหะ ฯ
       คำว่า "ชนฺตุ" (บุคคล) เป็นเววจนบัญญัติแห่งพระโยคี จริงอยู่ ในกาลใดพระโยคีใด รู้ว่า "กามทั้งหลายเป็นเครื่องข้อง" ดังนี้ ในกาลนั้น พระโยคีนั้นย่อมยังกุศลธรรมทั้งหลายให้เกิดขึ้น เพื่อไม่ให้กามทั้งหลายเกิดขึ้น พระโยคีนั้นย่อมพยายามเพื่อยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น บัญญัตินี้ เป็นวายามบัญญัติเพื่อการบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เป็นนิกเขปบัญญัติของบุคคลผู้ไม่ยินดีโลกียธรรมในคำว่า กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดเป็นต้นนั้น พระโยคีนั้น ย่อมพยายาม เพื่อดำรงอยู่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ดังนี้ บัญญัตินี้ เป็นอัปปมาทบัญญัติแห่งภาวนาเป็นนิกเขปบัญญัติแห่งวิริยินทรีย์ เป็นอารักขบัญญัติแห่งกุศลธรรม เป็นฐิติ-บัญญัติแห่งอธิจิตตสิกขา เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า"บุคคลใด ได้เห็นทุกข์แล้ว มีกามใดเป็นแดนมอบให้" เป็นต้น ฯ
       พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานว่า"สัตวโลก มีโมหะเป็นเครื่องผูกพัน ย่อมเห็นเหมือนมีรูปที่ยั่งยืนคนพาลมีอุปธิเป็นเครื่องผูกไว้ ถูกความมืดหุ้มห่อแล้ว ย่อมปรากฏราวกะว่าเที่ยงยั่งยืน กิเลสเป็นเครื่องกังวลย่อมไม่มีแก่บัณฑิตผู้เห็นอยู่" ฯ
       คำว่า "สัตวโลกมีโมหะเป็นเครื่องผูกพัน" เป็นเทสนาบัญญัติแห่งวิปลาส ฯ
       คำว่า "ย่อมเห็นเหมือนมีรูปที่ยั่งยืน" เป็นวิปริตบัญญัติของโลก ฯ
       คำว่า "คนพาล มีอุปธิเป็นเครื่องผูกไว้" เป็นปภวบัญญัติแห่งการท่องเที่ยวของตัณหาอันลามก เป็นกิจจบัญญัติของปริยุฏฐาน เป็นพลวบัญญัติของกิเลสทั้งหลาย เป็นวิรุหนาบัญญัติ (บัญญัติที่งอกงาม) แห่งสังขารทั้งหลาย ฯ
       คำว่า "ถูกความมืดหุ้มห่อแล้ว" เป็นเทสนาบัญญัติ และเป็นเววจนบัญญัติแห่งความโง่เขลา คือ อวิชชา ฯ
       คำว่า "ย่อมปรากฏราวกะว่าเที่ยงยั่งยืน" เป็นทัสสนบัญญัติแห่งทิพยจักษุเป็นนิกเขปบัญญัติแห่งปัญญาจักษุ ฯ
       คำว่า "กิเลสเครื่องกังวล ย่อมไม่มีแก่บัณฑิตผู้เห็นอยู่" เป็นปฏิเวธบัญญัติของสัตว์ทั้งหลาย ก็กิเลสเครื่องกังวล คืออะไร กิเลสเครื่องกังวล คือ ราคะกิเลสเครื่องกังวล คือ โทสะ กิเลสเครื่องกังวล คือ โมหะ เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า"สัตวโลก มีโมหะเป็นเครื่องผูกพัน" เป็นต้น ฯ
       พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานว่า"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว อันปรุงแต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าธรรมชาติ อันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว อันปรุงแต่งไม่ได้แล้ว จักไม่ได้มีแล้วไซร้ การสลัดออก(นิสสรณะ) ซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว ที่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว อันปรุงแต่งแล้ว จะไม่พึงปรากฏในโลกนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว อันปรุงแต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่ เพราะฉะนั้นการสลัดออก ซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้วที่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว อันปรุงแต่งแล้วจึงปรากฏ" ดังนี้ ฯ ข้อว่า"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าธรรมชาติอันไม่เกิดขึ้นแล้ว ไม่เป็นแล้วอันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว อันปรุงแต่งไม่ได้แล้ว จักไม่ได้มีแล้วไซร้" ดังนี้บัญญัตินี้เป็นเทสนาบัญญัติ และเป็นเววจนบัญญัติแห่งนิพพาน ฯ ข้อว่า"การสลัดออก ซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว ที่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว อันปรุงแต่งแล้ว จะไม่พึงปรากฏในโลกนี้" ดังนี้ เป็นเววจนบัญญัติแห่งสังขตะ และเป็นอุปนยนบัญญัติ (บัญญัติที่น้อมเข้าไปใกล้) แห่งสังขตะ ฯ ข้อว่า"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่" ดังนี้ เป็นเววจนบัญญัติแห่งนิพพาน และเป็นโชตนาบัญญัติ (บัญญัติการอธิบาย) แห่งนิพพาน ฯ
       ข้อว่า "เพราะฉะนั้น การสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว ที่เป็นแล้วอันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว จึงปรากฏ" ดังนี้ บัญญัตินี้เป็นเววจนบัญญัติแห่งนิพพาน เป็นนิยยานิกบัญญัติแห่งมรรค เป็นนิสสรณบัญญัติจากสังสาระ ฯ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "โน เจตํภิกฺขเว อภวิสฺส" ดังนี้ ฯ
       ด้วยเหตุนั้น ท่านพระมหากัจจายนะ จึงกล่าวว่า"พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงธรรมอย่างหนึ่ง ด้วยบัญญัติทั้งหลายมีอย่างต่าง ๆ" ดังนี้ ฯ
       จบ บัญญัติหารวิภังค์
       12. โอตรณหารวิภังค์
[สารบัญ] | หน้าค้นหา
(ไม่สงวนลิขสิทธิ์)