สารบัญเนตติ ห้วเรื่อง, เลขข้อ | เนตติไฟล์เดียว html, text

เนตติปกรณ์แปล ข้อ 046 (14. อธิฏฐานหารวิภังค์)

       [46] บรรดาหาระ 16 นั้น หาระ คือ อธิฏฐานะเป็นไฉน
       คาถาว่า "เอกตฺตตาย ธมฺมา เยปิ จ เวมตฺตตาย นิทฺทิฏฺฐา" เป็นต้น เป็น
       อธิฏฐานหารวิภังค์
       ธรรมเหล่าใด มีทุกขสัจจะเป็นต้น อันพระองค์ทรงแสดงแล้ว (โดยความเป็นอันเดียวกันและต่างกัน) ในธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น บัณฑิตพึงทรงไว้อย่างนั้น คือ ไม่พึงใคร่ครวญโดยประการอื่น ฯ
       คำว่า "ทุกฺขํ" ได้แก่ เอกัตตตา (ภาวะอย่างเดียวกัน) ฯ ในอรรถะทั้งหลายมีทุกข์เป็นต้นนั้น ทุกข์เป็นไฉน การเกิดเป็นทุกข์ (ชาติ ทุกฺขา) ความแก่เป็นทุกข์(ชรา ทุกฺขา) ความป่วยไข้เป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ การพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักเป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นเป็นทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์ รูปเป็นทุกข์ เวทนาเป็นทุกข์สัญญาเป็นทุกข์ สังขารเป็นทุกข์ วิญญาณเป็นทุกข์ ความแปลกกันแห่งทุกข์นั้น ๆ นี้ ชื่อว่า เวมัตตตา (ความต่างกัน) แห่งทุกข์ ฯ
       คำว่า "ทุกฺขสมุทโย" ได้แก่ เอกัตตตา คือ ความเสมอกันแห่งสมุทัย ฯ
       ในอรรถะแห่งทุกขสมุทัยนั้น ทุกขสมุทัยเป็นไฉน ตัณหานี้ใด อันเป็นเหตุเกิดในภพใหม่ ประกอบด้วยความยินดีและกำหนัด มีความเพลิดเพลินอยู่ในอารมณ์นั้น ๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ความต่างกันนี้ ชื่อว่า เวมัตตตา(แห่งสมุทัย) ฯ
       คำว่า "ทุกฺขนิโรโธ" ได้แก่ เอกัตตตา คือ ภาวะอย่างเดียวกันแห่งการดับ ฯในอรรถะนั้น ทุกขนิโรธเป็นไฉน ความสำรอก ความดับโดยไม่เหลือ ความสละความสละคืน ความพ้น ความไม่ติดอยู่ (ความไม่มีอาลัย) แห่งตัณหานั้นนั่นแหละภาวะนี้ ชื่อว่า เวมัตตตา ฯ
       คำว่า "ทุกฺขนิโรธคามินี ปฏิปทา" ได้แก่ เอกัตตตา คือ ภาวะอย่างเดียวกัน
       แห่งปฏิปทาที่ถึงความดับทุกข์ ฯ ในอรรถะนั้น ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทาเป็นไฉน
       อริยมรรคมีองค์ 8 นี้เท่านั้น สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ นี้ ชื่อว่า เวมัตตตา ฯ
       คำว่า "มคฺโค" ได้แก่ เอกัตตตา คือ ภาวะอย่างเดียวกันแห่งมรรค ชื่อเอกัตตตา ฯ ในอรรถะแห่งมรรคนั้น มรรคเป็นไฉน มรรค (หนทาง) อันยังสัตว์ให้ถึงนรก มรรคอันยังสัตว์ให้ถึงกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน มรรคอันยังสัตว์ให้ถึงเปตวิสัย มรรคอันยังสัตว์ให้ถึงกำเนิดอสูร มรรคอันยังสัตว์ให้ถึงสวรรค์ มรรคอันยังสัตว์ให้ถึงความเป็นมนุษย์ มรรคอันยังสัตว์ให้ถึงนิพพาน มรรคนี้ ชื่อว่าเวมัตตตา ฯ
       คำว่า "นิโรโธ" ได้แก่ เอกัตตตา คือ ความเสมอกันแห่งความดับ ชื่อว่าเอกัตตตา ฯ ในอรรถะแห่งนิโรธะนั้น นิโรธะเป็นไฉน ความดับ (นิโรธะ) โดยพิจารณา (เจริญธรรมตรงกันข้าม) ความดับโดยไม่พิจารณา (ธณิกนิโรธะ) ความดับความยินดี ความดับปฏิฆะ ความดับมานะ ความดับมักขะ (ความลบหลู่)ความดับปฬาสะ (ความขึ้งเคียด) ความดับอิสสา ความดับมัจฉริยะ ความดับกิเลสทั้งปวง ความดับต่างกันนี้ ชื่อว่า เวมัตตตา ฯ
       คำว่า "รูปํ" ได้แก่ เอกัตตตา คือ ความที่รูปเสมอกันโดยไม่เพ่งรูปที่ต่างกันชื่อว่า เอกัตตตา ฯ ในอรรถะแห่งรูปนั้น รูปเป็นไฉน รูปที่เป็นมหาภูตะมี 4 การเรียกรูปอาศัยมหาภูตะ 4 (มี 24) ความต่างกัน นี้ชื่อว่า เวมัตตตา แห่งรูป ฯ
       บรรดารูปเหล่านั้น มหาภูตะ 4 เป็นไฉน ปถวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ นี้เรียกว่า มหาภูตะ 4 ฯ
[สารบัญ] | หน้าค้นหา
(ไม่สงวนลิขสิทธิ์)