สารบัญเนตติ ห้วเรื่อง, เลขข้อ | เนตติไฟล์เดียว html, text

เนตติปกรณ์แปล ข้อ 047 (14. อธิฏฐานหารวิภังค์)

       [47] บัณฑิต ย่อมกำหนดธาตุทั้งหลาย โดยอาการ 2 อย่าง คือ โดยสังเขปและโดยพิสดาร ฯ บัณฑิต ย่อมกำหนดธาตุทั้งหลายโดยพิสดารอย่างไร ย่อมกำหนดปถวีธาตุโดยพิสดารด้วยอาการทั้งหลาย 20 อย่าง ย่อมกำหนดอาโปธาตุโดยพิสดารด้วยอาการทั้งหลาย 12 อย่าง ย่อมกำหนดเตโชธาตุโดยพิสดารด้วยอาการทั้งหลาย 4 อย่าง ย่อมกำหนดวาโยธาตุโดยพิสดารด้วยอาการทั้งหลาย 6 อย่าง ฯ
       ย่อมกำหนดปถวีธาตุโดยพิสดารด้วยอาการ 20 เป็นไฉน ย่อมกำหนดรู้ปถวีธาตุโดยอาการ 20 เหล่านี้ คือ ในกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็นกระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อยอาหารใหม่ อาหารเก่า มันสมองในศีรษะ ดังนี้ ฯ
       ย่อมกำหนดอาโปธาตุโดยพิสดารด้วยอาการ 12 เป็นไฉน ย่อมกำหนดรู้อาโปธาตุด้วยอาการ 12 เหล่านี้ คือ ในกายนี้มี น้ำดี เสมหะ น้ำเหลือง โลหิตเหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ น้ำมูตร ดังนี้ ฯ
       ย่อมกำหนดเตโชธาตุโดยพิสดารด้วยอาการ 4 เป็นไฉน ย่อมกำหนดรู้เตโชธาตุ ด้วยอาการ 4 เหล่านี้ คือ กายนี้ ย่อมเร่าร้อน ด้วยเตโชธาตุอันใดที่กำเริบแล้ว กายนี้ ย่อมคร่ำคร่าด้วยเตโชธาตุอันใด ที่ให้ถึงความบกพร่องแห่งอินทรีย์ กายนี้ ย่อมแผดเผา ด้วยเตโชธาตุอันใด ที่ทำให้คร่ำครวญว่า เราร้อน ฯ ของที่กินแล้ว ที่ดื่มแล้ว ที่เคี้ยวแล้ว ที่ลิ้มแล้ว ย่อมถึงการแปรเปลี่ยนไป(ย่อย) ด้วยเตโชธาตุอันใด เตโชธาตุทั้ง 4 นั้น มีอยู่ในกายนี้ ดังนี้ ฯ
       ย่อมกำหนดวาโยธาตุโดยพิสดารด้วยอาการ 6 เป็นไฉน ย่อมกำหนดรู้วาโยธาตุ ด้วยอาการ 6 เหล่านี้ว่า ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้องลมในสำไส้ใหญ่น้อย ลมแล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ (ทำให้เหยียดคู้เป็นต้น)ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ดังนี้ ฯ
       พระโยคาวจร พิจารณารูปพระโยคาวจร ผู้เข้าไปหมายรู้อยู่ ชั่งอยู่ ใคร่ครวญอยู่ หยั่งลงอยู่พิจารณาอยู่ ซึ่งธาตุทั้งหลายโดยสภาวะโดยพิสดาร ด้วยอาการ 42 เหล่านี้อย่างนี้ ย่อมไม่เห็นกาย หรือส่วนแห่งกายอะไร ๆ ที่ควรถือเอา เมื่อบุคคลใคร่ครวญอยู่ซึ่งบ่อน้ำครำ ไม่พึงเห็นอะไร ๆ ที่ควรถือเอา ฉันใด เมื่อบุคคลใคร่ครวญอยู่ซึ่งกองอยากเยื่อ ไม่พึงเห็นอะไร ๆ ที่พึงถือเอา ฉันใด เมื่อบุคคลใคร่ครวญอยู่ ซึ่งกระท่อมที่ถ่ายอุจจาระ ไม่พึงเห็นอะไร ๆ ที่พึงถือเอา ฉันใดเมื่อบุคคลใคร่ครวญอยู่ซึ่งป่าช้า (ศพ) ไม่พึงเห็นอะไร ๆ ที่ควรถือเอา ฉันใดพระโยคาวจร ผู้เข้าไปหมายรู้อยู่ ชั่งอยู่ ใคร่ครวญอยู่ หยั่งลงอยู่ พิจารณาอยู่ซึ่งธาตุทั้งหลายโดยสภาวะโดยพิสดาร ด้วยอาการ 42 เหล่านี้ ย่อมไม่เห็นกาย หรือ ส่วนแห่งกายอะไร ๆ ที่ควรถือเอา ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ
       เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า"ก็ปถวีธาตุทั้งภายใน ทั้งภายนอกเหล่านี้แล ปถวีธาตุนั้นสักว่าเป็นปถวีธาตุเท่านั้น พึงเห็นรูปทั้งปวงนั้นตามเป็นจริง ด้วยสัมมัปปัญญาอย่างนี้ว่า รูปนั้น ไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเราครั้นเห็นรูปทั้งปวงนั้น ตามความเป็นจริง ด้วยสัมมัปปัญญาอย่างนี้แล้วย่อมเบื่อหน่ายในปถวีธาตุ จิตย่อมคลายกำหนัดในปถวีธาตุ ฯ ก็อาโปธาตุทั้งภายใน ทั้งภายนอก ฯลฯ ก็เตโชธาตุ ทั้งภายใน ทั้งภายนอก ฯลฯ
       ก็วาโยธาตุ ทั้งภายใน ทั้งภายนอก วาโยธาตุนั้น สักว่าเป็นวาโยธาตุเท่านั้นพึงเห็นรูปทั้งปวงนั้น ตามเป็นจริง ด้วยสัมมัปปัญญาอย่างนี้ว่า รูปนั้นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นรูปนั้น ตามความเป็นจริงด้วยสัมมัปปัญญา อย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายวาโยธาตุจิตย่อมคลายกำหนัดในวาโยธาตุ" ความต่างกันแห่งรูปนั้น ชื่อว่า เวมัตตตาแห่งรูป ฯ
[สารบัญ] | หน้าค้นหา
(ไม่สงวนลิขสิทธิ์)