สารบัญเนตติ ห้วเรื่อง, เลขข้อ | เนตติไฟล์เดียว html, text

เนตติปกรณ์แปล ข้อ 059 (2. วิจยหารสัมปาตะ)

       [59] ในสังกิเลส 3 อย่างนั้น ตัณหาสังกิเลส สามารถแสดงเป็น 3 คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหาฯ ก็หรือว่า วัตถุใดๆ ถูกตัณหาสังกิเลสยึดแล้ว ก็สามารถแสดงวัตถุนั้นๆ ได้เช่นกัน(ไม่จำเป็นต้องแสดงแค่ 3)ฯ ความพิสดารแห่งวัตถุนั้น เช่น การท่องเที่ยวไปแห่งข่ายคือตัณหา มี 36 ประการ (ตัณหาชาลวิจริต) ฯ
       ในสังกิเลส 3 นั้น สังกิเลส คือ ทิฏฐิ พึงแสดงด้วยอุจเฉทะและสัสสตะ ก็หรือว่า ทิฏฐินี้ ย่อมยึดมั่นด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิด้วยวัตถุใด ๆ พึงแสดงการยึดมั่นด้วยทิฏฐินั้น ๆ นั่นแหละ ความพิสดารแห่งทิฏฐินั้น ได้แก่ ทิฏฐิ 62 ประการ ฯ
       ในสังกิเลสนั้น สังกิเลส คือ ทุจริต ได้แก่ เจตนา อันบุคคลพึงแสดงด้วยกรรมแห่งเจตสิก คือ พึงแสดงด้วยทุจริต 3 ได้แก่ กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต ความพิสดารแห่งทุจริต 3 นั้น ได้แก่ อกุศลกรรมบถ 10 อย่าง ฯ
       ข้อว่า "สัตว์เหล่าอื่น เจริญมรรคแล้ว ไม่มีอาสวะ ย่อมปรินิพพาน" ดังนี้คำนี้ เป็นโวทาน (ความผ่องแผ้ว) ฯ
       โวทานนี้นั้น เป็นธรรมบริสุทธิ์ 3 อย่าง คือ ตัณหาสังกิเลส ย่อมบริสุทธิ์ด้วยสมถะ สมถะนั้นเป็นสมาธิขันธ์ ทิฏฐิสังกิเลสย่อมบริสุทธิ์ด้วยวิปัสสนาวิปัสสนานั้นเป็นปัญญาขันธ์ ทุจริตสังกิเลสย่อมบริสุทธิ์ด้วยสุจริต สุจริตนั้นเป็นศีลขันธ์ ฯ
       ข้อว่า "สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจักตาย เพราะชีวิตมีความตายเป็นที่สุด สัตว์ทั้งหลายจักไปตามกรรม ผู้เข้าถึงผลแห่งบุญและบาป ผู้มีบาปกรรมจักไปสู่นรก"ดังนี้ เป็นอปุญญปฏิปทา ฯ ข้อว่า "ผู้มีบุญกรรมย่อมไปสู่สุคติ" ดังนี้เป็นปุญญปฏิปทา ฯ ข้อว่า "สัตว์เหล่าอื่นเจริญมรรคแล้ว ไม่มีอาสวะ ย่อมปรินิพพาน" ดังนี้ เป็นปฏิปทาที่ก้าวล่วงบุญและบาป ฯ ในปฏิปทา (ข้อปฏิบัติ) 3 นั้น บุญญปฏิปทาอันใด และอปุญญปฏิปทาอันใด นี้เป็นปฏิปทาอย่างหนึ่งอันยังสัตว์ให้ถึงในที่ทั้งปวง ปฏิปทาอย่างหนึ่งมีปกตินำสัตว์ไปในอบายทั้งหลายปฏิปทาอย่างหนึ่งมีปกตินำสัตว์ไปในเทพทั้งหลาย ปฏิปทาอันก้าวล่วงซึ่งบุญและบาปอันใด ปฏิปทานี้ (เมื่อมรรคยังไม่เกิด) เป็นปฏิปทายังสัตว์ให้ไปในที่่นั้นๆ ฯ
       ปฏิปทาเนื่องด้วยราสี 3ราสีมี 3 คือ มัจฉัตตราสี (ราสีที่แน่นอนต่อภาวะที่ผิด) สัมมัตตราสี(ราสีที่แน่นอนต่อภาวะที่ชอบ) และอนิยตราสี (ราสีที่ไม่แน่นอน) ในราสี 3 นั้นมิจฉัตตราสีอันใด และสัมมัตตราสีอันใด นี้เป็นปฏิปทาอย่างหนึ่่ง ที่ยังสัตว์ให้ถึงในที่นั้น ๆ ในราสี 3 นั้น อนิยตราสีอันใด นี้เป็นปฏิปทาอันยังสัตว์ให้ถึงในที่ทั้งปวง คือ เมื่อได้ปัจจัยด้วยเหตุอะไร พึงให้เกิดในนรก ก็พึงเกิดในนรก เมื่อได้ปัจจัยพึงให้เกิดในกำเนิดสัตว์เดรัจฉานทั้งหลาย เมื่อได้ปัจจัยพึงให้เกิดในเปตวิสัยทั้งหลาย เมื่อได้ปัจจัยพึงให้เกิดในอสุรกายทั้งหลาย เมื่อได้ปัจจัยพึงให้เกิดในเทพทั้งหลาย เมื่อได้ปัจจัยพึงให้เกิดในมนุษย์ทั้งหลาย เมื่่อได้ปัจจัยด้วยเหตุอะไรพึงให้นิพพาน ก็นิพพาน เพราะฉะนั้น ปฏิปทานี้ เป็นปฏิปทาอันยังสัตว์ให้ถึงในที่ทั้งปวง ญาณใดในปฏิปทานี้ เป็นไปโดยเหตุ โดยฐานะไม่มีอะไรกั้นญาณนี้ ท่านเรียกว่า สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ เป็นกำลังของพระตถาคตข้อที่ 2 ฯ
[สารบัญ] | หน้าค้นหา
(ไม่สงวนลิขสิทธิ์)