สารบัญเนตติ ห้วเรื่อง, เลขข้อ | เนตติไฟล์เดียว html, text

เนตติปกรณ์แปล ข้อ 082 (+นยสมุฏฐาน)

       [82] ก็ธรรมเหล่าใด (ที่เป็นทิศ) พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "กุศลและอกุศล"ในไวยากรณ์ทั้งหลาย ธรรมเหล่านั้น บัณฑิตพึงใคร่ครวญ โดยภาวะ 2 อย่างคือโลกวัฏฏานุสารี (หมุนไปตามโลก) และโลกวิวัฏฏานุสารี (ไม่หมุนไปตามโลก) ฯ
       สังสาร ชื่อว่า วัฏฏะ ฯ พระนิพพาน ชื่อว่า วิวัฏฏะ ฯ กรรมและกิเลสเป็นเหตุแห่งสังสาร ฯ บรรดากรรมและกิเลสนั้น บัณฑิตพึงแสดงว่า เจตนาเป็นกรรม และเป็นเจตสิก ฯ คำนั้นพึงเห็นได้อย่างไร กรรมพึงเห็นได้โดยการสั่งสม กิเลสแม้ทั้งหมดพึงเห็นได้ด้วยวิปลาส ฯ กิเลสเหล่านั้น พึงเห็นได้ในที่ไหน ในกองแห่งกิเลสมีวัตถุ 10 หมวด ฯ วัตถุ 10 หมวดเป็นไฉน วัตถุ 10 คืออาหาร 4 วิปลาส 4 อุปาทาน 4,โยคะ 4 คันถะ 4 อาสวะ 4,โอฆะ 4 สัลละ 4 วิญญาณฐิติ 4,การถึงอคติ 4 ฯ,
       วิปลาสที่ 1 (รูปสุภะ) ย่อมเป็นไปในกวฬิงการาหารที่ 1 เป็นอารมณ์,วิปลาสที่ 2 ย่อมเป็นไปในอาหารที่ 2 เป็นอารมณ์,วิปลาสที่ 3 ย่อมเป็นไปในอาหารที่ 3 เป็นอารมณ์,วิปลาสที่ 4 ย่อมเป็นไปในอาหารที่ 4 เป็นอารมณ์ ฯ
       อุปาทานที่ 1 (กาม) ย่อมเป็นไปในวิปลาสที่ 1 เป็นอารมณ์,อุปาทานที่ 2 ย่อมเป็นไปในวิปลาสที่ 2 เป็นอารมณ์,อุปาทานที่ 3 ย่อมเป็นไปในวิปลาสที่ 3 เป็นอารมณ์,อุปาทานที่ 4 ย่อมเป็นไปในวิปลาสที่ 4 เป็นอารมณ์ ฯ
       โยคะที่ 1 (กาม) ย่อมเป็นไปในอุปาทานที่ 1 เป็นอารมณ์,โยคะที่ 2 ย่อมเป็นไปในอุปาทานที่ 2 เป็นอารมณ์,โยคะที่ 3 ย่อมเป็นไปในอุปาทานที่ 3 เป็นอารมณ์,โยคะที่ 4 ย่อมเป็นไปในอุปาทานที่ 4 เป็นอารมณ์ ฯ
       คันถะที่ 1 (อภิชฌา) ย่อมเป็นไปในโยคะที่ 1 เป็นอารมณ์,คันถะที่ 2 ย่อมเป็นไปในโยคะที่ 2 เป็นอารมณ์,คันถะที่ 3 ย่อมเป็นไปในโยคะที่ 3 เป็นอารมณ์,คันถะที่ 4 ย่อมเป็นไปในโยคะที่ 4 เป็นอารมณ์ ฯ
       อาสวะที่ 1 (กาม) ย่อมเป็นไปในคันถะที่ 1 เป็นอารมณ์,อาสวะที่ 2 ย่อมเป็นไปในคันถะที่ 2 เป็นอารมณ์,อาสวะที่ 3 ย่อมเป็นไปในคันถะที่ 3 เป็นอารมณ์,อาสวะที่ 4 ย่อมเป็นไปในคันถะที่ 4 เป็นอารมณ์ ฯ
       โอฆะที่ 1 (กาม) ย่อมเป็นไปในอาสวะที่ 1 เป็นอารมณ์,โอฆะที่ 2 ย่อมเป็นไปในอาสวะที่ 2 เป็นอารมณ์,โอฆะที่ 3 ย่อมเป็นไปในอาสวะที่ 3 เป็นอารมณ์,โอฆะที่ 4 ย่อมเป็นไปในอาสวะที่ 4 เป็นอารมณ์ ฯ
       สัลละ (ลูกศร) ที่ 1 (ราคะ) เป็นไปในโอฆะที่ 1 เป็นอารมณ์,สัลละที่ 2 เป็นไปในโอฆะที่ 2 เป็นอารมณ์,สัลละที่ 3 เป็นไปในโอฆะที่ 3 เป็นอารมณ์,สัลละที่ 4 เป็นไปในโอฆะที่ 4 เป็นอารมณ์ ฯ
       วิญญาณฐิติที่ 1 เป็นไปในลูกศร (สัลละ) ที่ 1 เป็นอารมณ์,วิญญาณฐิติที่ 2 เป็นไปในลูกศรที่ 2 เป็นอารมณ์,วิญญาณฐิติที่ 3 เป็นไปในลูกศรที่ 3 เป็นอารมณ์,วิญญาณฐิติที่ 4 เป็นไปในลูกศรที่ 4 เป็นอารมณ์ ฯ
       อคติที่ 1 (ฉันทะ) เป็นไปในวิญญาณฐิติที่ 1 เป็นอารมณ์,อคติที่ 2 เป็นไปในวิญญาณฐิติที่ 2 เป็นอารมณ์,อคติที่่ 3 เป็นไปในวิญญาณฐิติที่ 3 เป็นอารมณ์,อคติที่ 4 เป็นไปในวิญญาณฐิติที่ 4 เป็นอารมณ์ ฯ
[สารบัญ] | หน้าค้นหา
(ไม่สงวนลิขสิทธิ์)