สารบัญเนตติ ห้วเรื่อง, เลขข้อ | เนตติไฟล์เดียว html, text

เนตติปกรณ์แปล ข้อ 111 (+สาสนปัฏฐาน)

       [111] ในพระสูตร 16 นั้น สูตรชื่อว่า"วาสนาภาคิยะและนิพเพธภาคิยะเป็นไฉน" สูตรที่กล่าวว่า"การได้ความเป็นมนุษย์ ย่อมเป็นผู้มีกิจ (หน้าที่) 2 อย่าง คือกิจที่ควร และกิจที่ไม่ควรทีเดียว บุญทั้งหลาย หรือการละสังโยชน์ เป็นกิจดี
       ควรทำ" ดังนี้คำว่า "บุญทั้งหลาย เป็นกิจดี" ดังนี้ ข้อนี้ เป็นวาสนา ฯ คำว่า"หรือการละสังโยชน์" ดังนี้ เป็นนิพเพธะ ฯ พระสูตรว่า "บุคคลทั้งหลายผู้ทำบุญ ครั้นทำบุญทั้งหลายแล้ว ย่อมไปสู่สวรรค์จากสวรรค์นั่นแหละบุคคลผู้ละสังโยชน์ทั้งหลาย ย่อมพ้นจากชราและมรณะ" ดังนี้ คำว่า"บุคคลผู้ทำบุญ ครั้นทำบุญทั้งหลายแล้วย่อมไปสู่สวรรค์จากสวรรค์"ดังนี้ เป็นวาสนา ฯ คำว่า "บุคคลผู้ละสังโยชน์ทั้งหลาย ย่อมพ้นจากชราและมรณะ" ดังนี้ เป็นนิพเพธะ ฯ สูตรนี้ ชื่อว่า วาสนาภาคิยะและนิพเพธภาคิยะ ดังนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเพียรเหล่านี้ มี 2 อย่าง ความเพียร 2อย่างเป็นไฉน บุคคลใด ย่อมสละจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร (ถวาย) ในบรรพชิตผู้ไม่มีเรือน ผู้ออกบวชจากเรือน และในบรรพชิตทั้งหลายผู้ไม่มีเรือนออกบวชจากเรือนนั้น บุคคลใด สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นการสิ้นไปแห่งตัณหา เป็นวิราคะ นิโรธะ และนิพพาน" ดังนี้ ฯ
       ใน 2 อย่างนั้น บุคคลใด สละจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ในบรรพชิตผู้ไม่มีเรือน นี้ เป็นวาสนา ฯ ในบรรพชิตผู้ไม่มีเรือนนั้น บุคคลใด สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นการสิ้นไปแห่งตัณหา เป็นวิราคะนิโรธะ และนิพพาน นี้ เป็นนิพเพธะ ฯ สูตรนี้ ชื่อว่า วาสนาภาคิยะ และนิพเพธภาคิยะ ฉะนี้ แล ฯ
       ในพระสูตร 16 นั้น พระสูตรที่ชื่อว่า ส่วนแห่งตัณหาสังกิเลส พึงแสดงด้วยตัณหา 3 คือ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา เพราะเป็นฝ่ายแห่งตัณหาอย่างเดียว หรือตัณหานั้นยึดมั่นโดยอาศัยวัตถุใด ๆ พึงแสดงด้วยวัตถุนั้น ๆความพิสดารแห่งตัณหานั้น เป็นตัณหาที่ท่องเที่ยวไปในอารมณ์ต่าง ๆ เพียงดังข่ายมี 36 ประการ ฯ
       ในพระสูตร 16 นั้น พระสูตร ที่ชื่อว่า ส่วนแห่งทิฏฐิสังกิเลส พึงแสดงโดยสัสสตะและอุทเฉทะ เพราะเป็นฝ่ายแห่งทิฏฐินั่นแหละ ก็หรือว่า ทิฏฐินั้นย่อมยึดมั่นด้วยอำนาจความเห็นในวัตถุใด ๆ ว่า "สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า"ดังนี้ ก็พึงแสดงโดยวัตถุนั้น ๆ นั่นแหละ ความพิสดารแห่งทิฏฐินั้น ได้แก่ทิฏฐิคตะ 62 ประการในพระสูตร 16 นั้น พระสูตรที่เป็นส่วนแห่งทุจริตสังกิเลส พึงแสดงด้วยทุจริต 3 คือ กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต ด้วยเจตนาและกรรมคือเจตสิกความพิสดารแห่งทุจริตนั้น ได้แก่ อกุศลกรรมบถ 10 ประการในพระสูตร 16 นั้น สูตรอันเป็นส่วนแห่ง ตัณหาโวทาน (คือความผ่องแผ้วจากตัณหา) บัณฑิตพึงแสดงด้วยสมถะ สูตรอันเป็นส่วนแห่งทิฏฐิโวทาน(ความผ่องแผ้วจากทิฏฐิ) พึงแสดงด้วยวิปัสสนา สูตรอันเป็นส่วนแห่งทุจริตโวทาน (ความผ่องแผ้วจากทุจริต) บัณฑิตพึงแสดงด้วยสุจริต อกุศลมูลมี 3อย่าง ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งอะไร เป็นเหตุของความเกิดขึ้นแห่งสังสาร จริงอย่างนั้น เมื่อสังสารเกิดขึ้นแล้ว กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต มีอยู่ พาลลักษณะนี้ ย่อมเกิดขึ้นด้วยวิบากแห่งกรรมอันไม่งามนี้ สูตรนี้ ชื่อว่า สังกิเลสภาคิยะ ฯ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต มีอยู่ มหาปุริสลักษณะนี้ ย่อมเกิดขึ้นด้วยวิบากแห่งกรรมอันงดงาม เพราะเหตุนั้น สูตรนี้จึงชื่่อว่า วาสนาภาคิยะ ฯ
       ในพระสูตร 16 เหล่านั้น สูตรอันเป็นส่วนแห่งสังกิเลส บัณฑิตพึงแสดงด้วยภูมิแห่งกิเลส 4 คือ ภูมิแห่งอนุสัย 1 ภูมิแห่งปริยุฏฐาน 1 ภูมิแห่งสังโยชน์ 1 และภูมิแห่งอุปาทาน 1 ฯ คืออย่างไรปริยุฏฐานกิเลส ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้ละอนุสัยยังไม่ได้ บุคคลผู้อันปริยุฏฐานมีกามราคะเป็นต้นกลุ้มรุมแล้ว ย่อมประกอบด้วยสังโยชน์มีกามราคะเป็นต้นบุคคลผู้ประกอบด้วยสังโยชน์ ย่อมยึดมั่นอกุศลกรรม มีกามุปาทานเป็นต้นเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงมี การเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี ด้วยประการฉะนี้ กิเลสทั้งปวงเหล่านี้ ย่อมถึงการสงเคราะห์ คือ ประชุมลงด้วยภูมิแห่งกิเลส 4 นี้ สูตรนี้ จึงชื่อว่า ส่วนแห่งกิเลส ฯ
       พระสูตร อันเป็นส่วนแห่งวาสนา พึงแสดงด้วยสุจริต 3 ฯ พระสูตร อันเป็นส่วนแห่งนิพเพธะ พึงแสดงด้วยสัจจะ 4 ฯ พระสูตร อันเป็นส่วนแห่งอเสกขะบัณฑิตพึงแสดงด้วยธรรม 3 อย่าง คือ ด้วยธรรมของพระพุทธเจ้า 1 ด้วยธรรมของพระปัจเจกพุทธะ 1 และด้วยภูมิแห่งพระสาวก 1 ภูมินี้ พึงแสดงด้วยอารมณ์แห่งฌานทั้งหลาย ฉะนี้แล ฯ
       มูลบท 18
[สารบัญ] | หน้าค้นหา
(ไม่สงวนลิขสิทธิ์)