นโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะสารบัญ: ห้วเรื่อง, เลขข้อ | ไฟล์เดียว: html, text | [ค้นหา] [สารบัญ] <ก่อนนี้] [ถัดไป> เนตติปกรณ์แปล : 1. เทสนาหารวิภังค์ [ 10 ] ในเทศนาว่า “ธมฺมํ โว ภิกฺขเว เทเสสฺสามิ (ภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงธรรมแก่เธอทั้งหลาย)” นั้น บท 6 ทั้งหลาย ชื่อว่าอรรถแห่งพระบาลี. บท 6 เหล่านั้นเป็นไฉน ? คือ เนื้อความโดยสังเขป, เนื้อความที่แสดงในเบื้องต้น, เนื้อความที่ขยายความ, เนื้อความที่จำแนก, เนื้อความที่ทำให้ปรากฏชัด (หรือทำให้เข้าใจง่าย), เนื้อความที่ให้รู้โดยประการต่าง ๆ . บท 6 เหล่านี้ ชื่อว่า อรรถแห่งพระบาลี. บท 6 ชื่อว่า ศัพท์. บท 6 เหล่านั้นเป็นไฉน ? คือ อักษร, บท, วากยะ(ประโยค), ส่วนแห่งวากยะ, วิเคราะห์, คำขยายความวิเคราะห์. บท 6 เหล่านี้ ชื่อว่า ศัพท์. เพราะเหตุนั้น (เพราะความบริบูรณ์ด้วยอรรถบทและพยัญชนบทเหล่านั้น) พระผู้มีพระภาคทรงตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมด้วยอรรถะและพยัญชนะแก่เธอทั้งหลาย”. บทว่า "เกวลํ" หมายความว่า เป็นโลกุตรธรรมล้วน ๆ ไม่ระคนด้วยโลกิยธรรม. บทว่า “ปริปุณฺณํ” หมายความว่า บริบูรณ์ ไม่หย่อนไม่ยิ่ง. บทว่า “ปริสุทฺธํ” คือ ไม่มีมลทิน ปราศจากมลทินทั้งปวง สะอาดหมดจด เป็นที่ตั้งแห่งคุณวิเศษทั้งปวง. ข้อปฏิบัตินี้เรียกว่า “ตถาคตบท (หนทางเป็นที่เสด็จไปของพระพุทธเจ้า)” บ้าง, เรียกว่า “ตถาคตนิเสวิต (สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงเสพ)” บ้าง, เรียกว่า “ตถาคตรญฺชิต (ที่เจาะด้วยพระเขี้ยว กล่าวคือสัพพัญญุตญาณของพระพุทธเจ้า)” บ้าง ด้วยเหตุนั้นพระองค์จึงบัญญัติศาสนานี้ว่า พรหมจรรย์ (ความประพฤติอันประเสริฐ) เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “เราจะประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง” ธรรมเทศนานี้ แสดงเพื่อประโยชน์แก่ใคร ? เพื่อประโยชน์แก่โยคีบุคคล (ผู้ปฏิบัติ) ทั้งหลาย. เพราะฉะนั้น ท่านมหากัจจายนเถระจึงกล่าวว่า อัสสาทะ, อาทีนวะ, นิสสรณะ, ผล, อุบาย และอาณัตติ (การแนะนำตักเตือน) ของพระผู้มีพระภาค เพื่อประโยชน์แก่โยคีบุคคลทั้งหลาย เป็นสังวรรณนาพิเศษ ชื่อว่า เทสนาหาระ เทสนาหาระ ท่านยกจากพระบาลีมาประกอบแล้ว 2. วิจยหารวิภังค์ |