นโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะสารบัญ: ห้วเรื่อง, เลขข้อ | ไฟล์เดียว: html, text | [ค้นหา] [สารบัญ] <ก่อนนี้] [ถัดไป> เนตติปกรณ์แปล : 7. อาวัฏฏหารวิภังค์ [30] ในความประมาท 4 ที่มีตัณหาเป็นมูล 3 และ ที่มีอวิชชาเป็นมูล 1 ที่กล่าวมานั้น, ความประมาทที่มีตัณหาเป็นมูล 3 คือ ยึดติดโภคะที่ยังไม่มี แล้วหาทางมีไว้ 1, ยึดติดโภคะที่มีอยู่ แล้วเก็บเอาไว้บ้าง 1, หรือ ยึดติดโภคะที่มีอยู่ แล้วใช้สอยไปบ้าง 1, การรักษาจิต ด้วยการเข้าใจแทงตลอดความประมาทที่มีตัณหาเป็นมูล 3 นั้น ซึ่งก็คือ การหลีกออกจากความประมาท, นี้คือ สมถะฯ สมถะที่ว่านี้ เกิดอย่างไร? สมถะเกิดในขณะที่บุคคลรู้อัสสาทะแห่งกามโดยความอัสสาทะ, รู้อาทีนวะแห่งกามโดยความอาทีนวะ, รู้นิสสรณะแห่งกามโดยความนิสสรณะ, รู้โอการะ, รู้สังกิเลส, รู้โวทาน, และรู้อานิสงส์ของเนกขัมมะ. การวีมังสา (ทุพพละ) และ การอุปปริกขา (พลวะ) ที่เกิดขึ้นเมื่อมีสมถะดังกล่าวเกิด (เป็นปาทกฌาน) นี้คือ วิปัสสนา. เพราะการเห็นโดยสภาวะอันวิเศษ ธรรมทั้ง 2 เหล่านี้ คือสมถะและวิปัสสนา ย่อมถึงการบริบูรณ์ด้วยภาวนา เมื่อสมถะและวิปัสสนาทั้ง 2 เจริญอยู่ ธรรมทั้ง 2 คือ ตัณหาและอวิชชา ย่อมถูกทำลาย เมื่อตัณหาและอวิชชาทั้ง 2 ถูกทำลายแล้ว อุปาทาน 4 ย่อมดับ ฯ เพราะความดับแห่งอุปาทาน ความดับแห่งภพย่อมมี เพราะความดับแห่งภพ ความดับแห่งชาติย่อมมี เพราะความดับแห่งชาติ ชรา มรณะ โสกะปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ย่อมดับ ฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งหมดนั้นย่อมมีอย่างนี้ ฯ เพราะฉะนั้น สัจจะ 2 นัยแรก เป็นทุกข์และเป็นสมุทัย สมถะและวิปัสสนาเป็นมรรค การดับภพเป็นพระนิพพาน ฯ สัจจะ 4 เหล่านี้ท่านยกขึ้นแสดงด้วยสามารถแห่งอาวัฏฏนะ (การหมุนไป) แห่งธรรมที่เป็นวิสภาคะและสภาคะ ด้วยประการฉะนี้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า "อารมฺภถ นิกฺกมถ" เป็นต้น ฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "ต้นไม้ เมื่อรากหาอันตรายมิได้ มั่นคงอยู่ แม้ถูกตัดแล้ว ก็กลับงอกขึ้นได้ ฉันใด ทุกข์นี้ เมื่อบุคคลยังถอนเชื้อ (อนุสัย) ตัณหาขึ้นไม่ได้แล้วย่อมเกิดขึ้นบ่อย ๆ แม้ฉันนั้น" ฯ ถามว่า ตัณหานี้ ตัณหา (ที่เป็นเชื้อ) นั้น เป็นไฉน ตอบว่า ภวตัณหา (เพราะยินดีในการเกิด) ฯ อนุสัยใด เป็นปัจจัยแก่ธรรม คือ ภวตัณหานั้น อนุสัยนี้ คือ อวิชชาเพราะภวตัณหา มีอวิชชาเป็นปัจจัย ฯ กิเลสทั้ง 2 คือ ตัณหาและอวิชชานี้เป็นอุปาทาน 4 ขันธ์เหล่าใด มีอุปาทานด้วยอุปาทาน 4 เหล่านั้น ขันธ์นี้เป็นทุกขสัจจะ อุปาทาน 4 เป็นสมุทยสัจจะ ปัญจขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงธรรม เพื่อการกำหนดรู้ทุกข์และเพื่อการละสมุทัยแห่งอุปาทานขันธ์ 5 นั้น ฯ บุคคลย่อมถอนขึ้นซึ่งตัณหานุสัยได้ด้วยธรรมใด ธรรมนั้น เป็นสมถะฯ บุคคลย่อมกั้นเสียซึ่งอวิชชาอันเป็นปัจจัยแก่ตัณหานุสัยได้ด้วยธรรมใด ธรรมนั้นเป็นวิปัสสนา ฯ ธรรมทั้ง 2 คือ สมถะและวิปัสสนาเหล่านี้ ย่อมถึงการบริบูรณ์ด้วยภาวนา ฯ ในธรรมทั้ง 2 นั้น ชื่อว่าเจโตวิมุตติ (การหลุดพ้นทางใจ) เพราะสำรอกราคะเป็นผลของสมถะ ชื่อว่าปัญญาวิมุตติ (การหลุดพ้นทางปัญญา)เพราะสำรอกอวิชชาเป็นผลของวิปัสสนา ฯ ด้วยประการฉะนี้ สัจจะ 2 เบื้องต้นเป็นทุกขสัจจะและสมุทยสัจจะ สมถะและวิปัสสนา เป็นมัคคสัจจะ การหลุดพ้นทั้ง 2 เป็นนิโรธสัจจะ ฯ พึงทราบสัจจะ 4 เหล่านี้ โดยทำนองที่กล่าวแล้ว ฯ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "ต้นไม้ เมื่อรากหาอันตรายมิได้"เป็นต้น ฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "การไม่ทำบาปทั้งปวง การยังกุศลให้ถึงพร้อม การชำระจิตให้ผ่องแผ้ว นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย" ดังนี้ ฯ ทุจริต 3 คือ กายทุจริต 1 วจีทุจริต 1 และมโนทุจริต 1 ชื่อว่า บาปทั้งปวง อกุศลกรรมบถ 10 คือ ปาณาติบาต 1 อทินนาทาน 1 กาเมสุมิจฉาจาร 1 มุสาวาท 1 ปิสุณาวาจา 1 ผรุสวาจา 1 สัมผัปปลาปะ 1 อภิชฌา 1พยาบาท 1 และมิจฉาทิฏฐิ 1 ชื่อว่า บาปทั้งปวง ฯ กรรม คือการกระทำบาปทั้งปวงนั้น มี 2 อย่างคือ เจตนากรรมและเจตสิกกรรม ฯ บรรดากรรมทั้ง 2 นั้น ปาณาติบาต 1 ปิสุณาวาจา 1 ผรุสวาจา 1ทั้ง 3 นี้ มีโทสะเป็นสมุฏฐาน ฯ อทินนาทาน 1 กาเมสุมิจฉาจาร 1 มุสาวาท 1ทั้ง 3 นี้ มีโลภะเป็นสมุฏฐาน ฯ สัมผัปปลาปะนี้ มีโมหะเป็นสมุฏฐาน เหตุ 7ประการ เหล่านี้ เป็นเจตนากรรม ฯ อกุศลมูล คือ อภิชฌาและโลภะ อกุศลมูลคือ พยาบาทและโทสะ มิจฉามรรค คือ มิจฉาทิฏฐิ เหตุ 3 เหล่านี้ เป็นเจตสิกกรรม ฯ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "เจตนากมฺมํเจตสิกกมฺมํ" ดังนี้ ฯ อกุศลมูล (มีโลภะเป็นต้น) เมื่อถึงปโยคะ ย่อมถึงอคติ 4 อย่าง คือฉันทาคติ โทสาคติ ภยาคติ และโมหาคติ ฯ ในอคติ 4 นั้น บุคคลย่อมถึงอคติใดเพราะฉันทะ อคตินี้ มีโลภะเป็นสมุฏฐาน ฯ บุคคลย่อมถึงอคติใดเพราะโทสะอคตินี้ มีโทสะเป็นสมุฏฐาน ฯ บุคคลย่อมถึงอคติใดเพราะความกลัว และเพราะความหลง อคตินี้ มีโมหะเป็นสมุฏฐาน ฯ ในอกุศลมูลเหล่านั้น โลภะอันบุคคลย่อมละด้วยอสุภภาวนา โทสะอันบุคคลย่อมละด้วยเมตตาและกรุณา ฯ โมหะย่อมละได้ด้วยปัญญา ฯ อนึ่ง โลภะอันบุคคลย่อมละได้ด้วยอุเบกขา โทสะอันบุคคลละได้ด้วยเมตตาและกรุณา โมหะ (โมหาคติ) ย่อมถึงการละ คือการตั้งอยู่ไม่ได้ด้วยมุทิตา ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "การไม่ทำบาปทั้งปวง" ดังนี้ ฯ |