นโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
สารบัญ: ห้วเรื่อง, เลขข้อ | ไฟล์เดียว: html, text | [ค้นหา] [สารบัญ] <ก่อนนี้] [ถัดไป>

เนตติปกรณ์แปล : 7. อาวัฏฏหารวิภังค์

       [32] ในคาถานั้น ตัณหาและอวิชชาเป็นเหตุแห่งทุคติทั้งหลาย และธรรมทั้ง 2นั้นเป็นอุปาทาน 4 ฯ ขันธ์เหล่าใดที่มีอุปาทาน 4 เหล่านั้น ขันธปัญจกะนี้เป็นทุกขสัจจะ อุปาทาน 4 เหล่านี้เป็นสมุทยสัจจะ ขันธ์ 5 เหล่าใด เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อการรู้ทุกข์ เพื่อการละสมุทัยแห่งขันธ์เหล่านั้น ฯ
       บรรดาสัจจะทั้ง 2 นั้น อินทรีย์ 5 ที่เป็นรูปเป็นปทัฏฐาน (เหตุเกิด) แห่งตัณหา มนินทรีย์เป็นปทัฏฐานแห่งอวิชชา ฯ บุคคลเมื่อรักษาอินทรีย์ 5 ที่เป็นรูป ยังสมาธิให้เจริญอยู่ ย่อมข่มซึ่งตัณหา เมื่อรักษาซึ่งมนินทรีย์ ยังวิปัสสนาให้เจริญอยู่ ย่อมข่มซึ่งอวิชชา ฯ อุปาทาน 2 คือ กามุปาทานและสีลัพพตุปาทาน อันบุคคลย่อมละได้ ด้วยการข่มตัณหา ฯ อุปาทาน 2 คือทิฏฐุปาทานและอัตตวาทุปาทาน อันบุคคลย่อมละได้ด้วยการข่มอวิชชา ฯ
       อุปาทาน 4 อันบุคคลละได้แล้ว ธรรมทั้ง 2 คือ สมถะและวิปัสสนาย่อมถึงการบริบูรณ์ด้วยภาวนา หมวด 2 อันประเสริฐ กล่าวคือ สมถะและวิปัสสนานี้ท่านเรียกว่า การประพฤติพรหมจรรย์ ฉะนี้แล ฯ
       ในการประพฤติพรหมจรรย์นั้น สามัญญผล 4 คือ โสตาปัตติผล 1สกทาคามิผล 1 อนาคามิผล 1 และอรหัตตผลอันเลิศ 1 ทั้ง 4 นี้เป็นผลของการประพฤติพรหมจรรย์ ฯ สัจจะ 2 ในเบื้องต้น เป็นทุกขสัจจะและเป็นสมุทยสัจจะ ฯ สมถะและวิปัสสนาเป็นการประพฤติพรหมจรรย์และเป็นมัคคสัจจะ ฯ
       ผลแห่งการประพฤติพรหมจรรย์และอสังขตธาตุที่เป็นอารมณ์ของพรหมจรรย์นั้นเป็นนิโรธสัจจะ ฯ สัจจะ 4 เหล่านี้แล ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า "ธรรมแล ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม" เป็นต้น เพื่อรู้สัจจะ 4 เหล่านั้น ฯ
       ในคาถาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงแล้วนั้น ขันธปัญจกะใด ย่อมรักษาโดยการแทงตลอดด้วยปริญญา ขันธปัญจกะนี้เป็นทุกขสัจจะ ขันธปัญจกะใดย่อมรักษาให้พ้นจากตัณหาและสังกิเลสใด ตัณหาและสังกิเลสนี้เป็นสมุทยสัจจะขันธปัญจกะที่ผ่องแผ้ว ย่อมรักษาโดยธรรมใด ธรรมนี้เป็นมัคคสัจจะขันธปัญจกะใด อันบุคคลบรรลุอสังขตธาตุ เป็นจิตผ่องใส ธรรมที่เป็นอสังขตธาตุนี้เป็นนิโรธสัจจะ ฯ
       อาวัฏฏหาระ ท่านประกอบไว้ด้วยสามารถแห่งปทัฏฐาน (เหตุ) ตามที่ได้เพราะเหตุนั้น ท่านพระมหากัจจายนะ จึงกล่าวว่า "บุคคลแสวงหาในปทัฏฐานหนึ่ง หมุนไปสู่ปทัฏฐานที่เหลือ" เป็นต้นฉะนี้ แล ฯ
       จบ อาวัฏฏหารวิภังค์
       8. วิภัตติหารวิภังค์
[ค้นหา] [สารบัญ] <ก่อนนี้] [ถัดไป>