นโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะสารบัญ: ห้วเรื่อง, เลขข้อ | ไฟล์เดียว: html, text | [ค้นหา] [สารบัญ] <ก่อนนี้] [ถัดไป> เนตติปกรณ์แปล : 10. เววจนหารวิภังค์ [38] ตัณหาเหล่านั้น มีประการตามที่กล่าวในอาสาเป็นต้นนั่นแหละ ชื่อว่า ธัมมนันที (ความเพลิดเพลินในธรรม) ธัมมเปมัง (ความรักในธรรม) และความยึดมั่นในธรรม เป็นไปโดยอาการแห่งความปรารถนาของตัณหา คำนี้จึงเป็นเววจนะของตัณหา ฯ เววจนะแห่งจิตเป็นต้นคำว่า "จิตฺตํ มโน วิญฺญาณํ" นี้ เป็นเววจนะแห่งจิต ฯ คำว่า "มนินฺทริยํมโนธาตุ มนายตนํ วิชานนํ" นี้เป็นเววจนะแห่งมนะ (ใจ)ฯ ปัญญินทรีย์ปัญญาพละ อธิปัญญาสิกขา ปัญญา ปัญญาขันธ์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ญาณ สัมมาทิฏฐิ ตีรณะ วิปัสสนา ญาณในธรรม ญาณในอรรถะ อนุโลมญาณญาณในความสิ้นไป ญาณในความไม่เกิดขึ้น อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์อัญญินทรีย์ อัญญาตาวินทรีย์ จักขุ วิชชา พุทธิ ภูริ เมธา อาโลกะ ก็หรือว่า ธรรมชาติอย่างใด แม้อื่นที่มีชาติอย่างนี้ (คือ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัยและความเลือกสรรเป็นต้น) นี้เป็นเววจนะแห่งปัญญา ฯ อินทรีย์ 5 คือขเยญาณัง อนุปปาเทญาณัง และอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ เป็นต้น เป็นโลกุตตระ อินทรีย์ 5 นี้ เป็นเววจนะแห่งโลกุตตรปัญญา ปัญญาทั้งปวงนอกจากเววจนะ 5 นี้ เป็นมิสสกะ คือปะปนกันทั้งโลกียะทั้งโลกุตตระ ฯ ก็อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สัทธา เพราะอรรถะว่า ความเป็นใหญ่ในลักษณะแห่งความน้อมใจเชื่อ ชื่อว่า วิริยะ เพราะอรรถะว่า ความริเริ่ม ชื่อว่า สติ เพราะอรรถะว่า การไม่เลอะเลือน ชื่อว่า สมาธิ เพราะอรรถะว่า ความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่า ปัญญาเพราะอรรถะว่า ความรู้ทั่ว ฯ เววจนะแห่งพุทธานุสติเววจนะนี้ เหมือนอย่างที่กล่าวในพุทธานุสติว่า"แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม"ดังนี้ ฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้ถึงแล้วซึ่งความสมบูรณ์แห่งพละเป็นผู้บรรลุแล้วซึ่งเวสารัชชญาณ เป็นผู้มีปฏิสัมภิทาอันบรรลุแล้ว เป็นผู้ละแล้วซึ่งโยคะ 4 เป็นผู้ก้าวล่วงการถึงอคติ เป็นผู้มีลูกศรอันถอนขึ้นแล้ว เป็นผู้ไม่มีแผลเกิดขึ้น เป็นผู้ย่ำยีข้าศึกได้แล้ว เป็นผู้ยังปริยุฏฐานให้ดับสนิท เป็นผู้พ้นจากเครื่องจองจำ มีเครื่องผูกอันแก้ออกแล้ว เป็นผู้ก้าวล่วงแล้วซึ่งอัธยาสัยเป็นผู้ทำลายความมืด เป็นผู้มีจักษุ เป็นผู้ก้าวล่วงโลกธรรม เป็นผู้ปราศจากความยินดีความยินร้าย เป็นผู้ไม่หวั่นไหวในธรรมที่น่าปรารถนา และไม่น่าปรารถนา เป็นผู้ครอบงำเครื่องจองจำ เป็นผู้มีสงครามอันหยุดแล้ว เป็นผู้รุ่งเรืองยิ่ง เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งคบเพลิง เป็นผู้กระทำซึ่งแสงสว่าง เป็นผู้กระทำความรุ่งโรจน์ เป็นผู้ขจัดความมืด เป็นผู้ละการเบียดเบียนของกิเลส เป็นผู้มีวรรณะหาประมาณมิได้ เป็นผู้มีวรรณะไม่พึงประมาณ เป็นผู้มีวรรณะอันไม่พึงนับ เป็นผู้กระทำความรุ่งเรือง เป็นผู้กระทำพระรัศมี เป็นผู้กระทำพระธรรมให้มีรัศมีรุ่งโรจน์ ดังนี้ คำว่า "พระพุทธเจ้า และ พระผู้มีพระภาคเจ้า" นี้เป็นเววจนะของพุทธานุสติ ฯ เววจนะแห่งธัมมานุสติอนึ่ง ในธัมมานุสติ บัณฑิตกล่าวเววจนะไว้ว่า "พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว อันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนทั้งหลายจะพึงรู้เฉพาะตน" ดังนี้ พระธรรมนี้ใด เป็นเครื่องขจัดความเมา (มทนิมฺมทโน) เป็นเครื่องนำออกซึ่งความกระหาย(ปิปาสวินโย) เป็นเครื่องถอนขึ้นซึ่งอาลัย เป็นเครื่องตัดซึ่งวัฏฏะ เป็นธรรมว่างจากสังขตะ เป็นของได้ยากอย่างยิ่ง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นเครื่องสำรอกราคะ เป็นความดับทุกข์ เป็นพระนิพพานนิพพาน ชื่อว่า อสังขตะ ชื่อว่า อนันตะ (ไม่มีที่สุด) ชื่อว่า อนาสวะชื่อว่า ปรมัตถสัจจะ ชื่อว่า ปาระ (ฝั่ง) ชื่อว่า นิปุณะ (ละเอียด) ชื่อว่า สุทุททสะ (เห็นได้ยาก) ชื่อว่า อชัชชระ (ไม่คร่ำคร่า) ชื่อว่า ธุวะ (มั่นคง)ชื่อว่า อปโลกินะ (ไม่บุบสลาย) ชื่อว่า อนิทัสสนะ (ไม่เห็นด้วยจักษุ) ชื่อว่า นิปปปัญจะ (ไม่มีธรรมเนิ่นช้า) ชื่อว่า สันตะ (สงบจากสังขาร) ชื่อว่า อมตะ ชื่อว่า ปณีตะ (สูงสุด) ชื่อว่า สิวะ (มีความเย็น) ชื่อว่า เขมะ(ปราศจากอันตราย) ชื่อว่า ตัณหักขยะ (สิ้นตัณหา) ชื่อว่า อัจฉริยะ(อัศจรรย์) ชื่อว่า อัพภูตะ (ไม่เกิดแล้วมีอยู่) ชื่อว่า อนีติกะ (ปราศจากทุกข์)ชื่อว่า อนีติกธรรม (ธรรมปราศจากทุกข์) พระนิพพานนีิ้ อันพระสุคตทรงแสดงแล้ว ฯ พระนิพพานไม่เกิด ไม่มีปัจจัยให้เกิด ไม่มีอันตราย ไม่มีปัจจัยกระทำอันตราย ไม่มีความโศก ปราศจากความโศกแล้ว ไม่มีอุปสรรคไม่มีธรรมเป็นอุปสรรค พระนิพพานนี้ อันพระสุคตทรงแสดงแล้ว ฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "นิพพานเป็นธรรมลึกซึ้ง เป็นธรรมเห็นได้ยาก เป็นธรรมสูงสุด เป็นธรรมไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ไม่มีธรรมอื่นเสมอ ไม่มีธรรมอื่นเปรียบ เป็นธรรมเจริญที่สุด เป็นธรรมประเสริฐที่สุด"ดังนี้ ฯ นิพพาน ชื่อว่า เลณะ (ที่พักอันปลอดภัย) ชื่อว่า ตาณะ (ที่ต้านทาน)ชื่อว่า อรณะ (กำจัดภัย) ชื่อว่า อนังคณะ (ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน) ชื่อว่า อกาจะ (บริสุทธิ์สะอาด) ชื่อว่า วิมละ (ปราศจากมลทิน) ชื่อว่า ทีปะ(เกาะไม่จมด้วยโอฆะ 4) ชื่อว่า สุขอันสงบจากสังสาร ชื่อว่า อัปปมาณะ(ไม่มีประมาณ) ชื่อว่า ปติฏฐะ (ที่พึ่ง) ชื่อว่า อกิญจนะ (ไม่มีกังวัล) ชื่อว่า อัปปปัญจะ (ไม่มีธรรมเครื่องเนิ่นช้า) อันพระสุคตแสดงไว้แล้ว ฯ คำนี้เป็นเววจนะในธัมมานุสติ ฯ เววจนะแห่งสังฆานุสติสังฆานุสติ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรง เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อญายธรรม เป็นผู้ปฏิบัติชอบ พระสงฆ์นี้ใดคือ คู่แห่งบุรุษ 4 เป็นบุรุษบุคคล 8 พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ควรแก่การบูชา เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ เป็นผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า เป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ เป็นสาระมีศีลเป็นต้นของสัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้ผ่องใสดุจความใสของเนยใสของสัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้ยกคุณที่มีสาระของสัตว์ทั้งหลายเป็นเสาหลักที่มั่นคงของสัตว์ทั้งหลาย เป็นดังดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมของสัตว์ทั้งหลาย เป็นที่สักการะบูชาของทวยเทพและมนุษย์ทั้งหลาย" คำนี้ก็เป็นเววจนะในสังฆานุสติ ฯ เววจนะแห่งสีลานุสติก็คำที่กล่าวไว้ในสีลานุสติว่า "ศีลทั้งหลายไม่ขาด (อขณฺฑานิ ไม่เป็นท่อน)ไม่ทะลุ (อจฺฉิทฺทานิ) ไม่ด่าง (อสพลานิ) ไม่พร้อย (อกมฺมาสานิ) เป็นอริยศีลเป็นศีลอันพระอริยะใคร่ เป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญแล้ว อันตัณหาและทิฏฐิไม่ถูกต้องแล้ว เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ ก็ศีล ชื่อว่า อลังการ เพราะเป็นเครื่องประดับองค์เบื้องบนให้งดงาม ศีล ชื่อว่า นิธานะ เพราะอรรถะว่า ก้าวล่วงอันตรายโดยประการทั้งปวง ศีล ชื่อว่า ศิลปะ (ธนูศิลปะ) เพราะความที่ธนูศิลป์ เป็นเครื่องแทงได้ตลอดเวลา ศีล ชื่อว่า เวลา (ฝั่ง) เพราะอรรถะว่า ไม่ก้าวล่วง ศีล ชื่อว่า ธัญญะ เพราะอรรถะว่า เป็นทรัพย์ตัดความขัดสน ศีลชื่อว่า อาทาสะ (แว่น) เพราะอรรถะว่าเป็นเครื่่องส่องดูธรรม ศีล ชื่อว่า ปราสาทเพราะอรรถะว่า เป็นเครื่องแลดูโลก ชื่อว่า ศีล ย่อมเป็นไปในภูมิทั้งปวงมีอมตนิพพานเป็นที่สุด" คำนี้เป็นเววจนะในสีลานุสติ ฯ ก็ในจาคานุสติ ท่านกล่าวว่า "ในสมัยใด อริยสาวกอยู่ครองเรือน เป็นผู้มีจาคะอันสละแล้ว มีฝ่ามืออันล้างแล้ว ยินดีในการสละ ควรแก่ผู้ขอ ยินดีในการจำแนกทาน" ดังนี้ คำนี้ก็เป็นเววจนะในจาคานุสติฯ เพราะเหตุนั้น ท่านพระมหากัจจายนะ จึงกล่าวว่า "เววจนะทั้งหลายมีมาก" ดังนี้ ฯ จบ เววจนหารวิภังค์ 11. บัญญัติหารวิภังค์ |