นโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
สารบัญ: ห้วเรื่อง, เลขข้อ | ไฟล์เดียว: html, text | [ค้นหา] [สารบัญ] <ก่อนนี้] [ถัดไป>

เนตติปกรณ์แปล : 14. อธิฏฐานหารวิภังค์

       [48] คำว่า "อวิชฺชา" ชื่อว่า เอกัตตตา (ความมีภาวะอย่างเดียว) ฯ
       บรรดาอกุศลธรรมเหล่านั้น อวิชชาเป็นไฉน
       ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในขันธ์ อายตนะ ธาตุอันเป็นส่วนเบื้องต้น (อดีตอัทธา) ความไม่รู้ในขันธ์ อายตนะ ธาตุอันส่วนเบื้องปลาย (อนาคตอัทธา) ความไม่รู้ทั้งส่วนเบื้องต้น ทั้งส่วนเบื้องปลาย ความไม่รู้ในธรรมอันอาศัยกันเกิดขึ้น คือ เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ความไม่รู้ ความไม่เห็นความไม่ตรัสรู้ ความไม่ตรัสรู้ตาม ความไม่รู้ตามเป็นจริง ความไม่แทงตลอดความไม่พิจารณา การไม่เข้าไปกำหนด การไม่เข้าไปกำหนดเฉพาะภาวะ การไม่เข้าไปเพ่งพินิจ การไม่กระทำให้ประจักษ์ ความทรามปัญญา ความโง่เขลาความไม่รู้ชัด ความหลง ความลุ่มหลง ความหลงใหล อวิชชา โอฆะคืออวิชชาโยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้ ชื่อว่า เวมัตตตา แห่งอวิชชา ฯ
       คำว่า "วิชฺชา" ชื่อว่า เอกัตตตา (ความมีภาวะอย่างเดียว) ฯ
       บรรดากุศลธรรมเหล่านั้น วิชชาเป็นไฉน
       ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความรู้ในส่วนอดีต ความรู้ในส่วนอนาคต ความรู้ทั้งในส่วนอดีตทั้งในส่วนอนาคต ความรู้ในธรรมทั้งหลายอันเป็นอิทัปปัจจยตาและปฏิจจสมุปบาท ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ธัมมวิจยะ การกำหนดโดยชอบ การเข้าไปกำหนด การเข้าไปกำหนดเฉพาะภาวะ ภาวะที่รู้ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญปัญญาดังแผ่นดิน (ภูริ) ปัญญากำจัดกิเลส (เมธา) ปัญญาเป็นเครื่องนำไป วิปัสสนาความรู้ชัด ปัญญาเป็นเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท แสงสว่างคือปัญญา ความรุ่งเรืองคือปัญญาปัญญาดังดวงแก้ว อโมหะ ธัมมวิจยะ สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ องค์(การณะ) แห่งอริยมรรค (มคฺคงฺคํ) การหยั่งลงในอริยมรรค (มคฺคปริยาปนฺนํ)นี้ชื่อว่า เวมัตตตา แห่งวิชชา ฯ
       คำว่า "สมาปตฺติ" ชื่อว่า เอกัตตตา ฯ
       ในอรรถะแห่งสมาบัตินั้น สมาบัติเป็นไฉน
       สัญญาสมาบัติ (การเข้าฌาณประกอบด้วยสัญญา) อสัญญาสมาบัติ (คือสมาบัติที่เกิดขึ้นเพื่อสงบระงับสัญญา หรือสัญญาวิราคะ) เนวสัญญานาสัญญาสมาบัติ วิภูตสัญญาสมาบัติ (คือวิญญาณัญจายตนสมาบัติ) นิโรธสมาบัติสมาบัติที่ต่างกันนี้ ชื่อว่า เวมัตตตา ฯ
       คำว่า "ฌายี" คือ ฌาณลาภี ชื่อว่า เอกัตตตา ฯ
       ในอรรถะแห่งฌายีนั้น ฌายีเป็นไฉน
       พระเสกขะผู้มีปกติเพ่ง (ฌายี) มีอยู่ พระอเสกขะ ผู้มีปกติเพ่งมีอยู่ เนวเสกขนาเสกขบุคคล ผู้มีปกติเพ่งมีอยู่ อาชานิยบุคคล (พระอรหันต์) ผู้มีปกติเพ่งมีอยู่ บุคคลเปรียบด้วยม้ามีฝีเท้าเลว มีปกติเพ่งมีอยู่ บุคคลผู้ยิ่งด้วยทิฏฐิมีปกติเพ่ง บุคคลผู้่ยิ่งด้วยตัณหา มีปกติเพ่ง บุคคลผู้ยิ่งด้วยปัญญา มีปกติเพ่ง(ด้วยลักขณูปนิชฌาณ) มีอยู่ ฌายีที่ต่างกันนี้ ชื่อว่า เวมัตตตา ฯ
       คำว่า "สมาธิ" คือ เอกัคคตา ชื่อว่า เอกัตตตา ฯ
       ในอรรถะแห่งสมาธินั้น สมาธิเป็นไฉน
       สรณสมาธิ (คือ เอกัคคตาในอกุศลจิต) อรณสมาธิ (คือ สมาธิที่เป็นกุศลและอัพยากตะ) สเวรสมาธิ (คือ เอกัคคตาในปฏิฆจิต) อเวรสมาธิ (คือ เมตตาเจโตวิมุตติ) สัพยาปัชชสมาธิ (คือ เอกัคคาในปฏิฆจิต) อัพยาปัชชสมาธิ (คือเมตตาเจโตวิมุตติ) สัปปีติกสมาธิ นิปปีติกสมาธิ สามิสสมาธิ (คือ โลกียสมาธิ)นิรามิสสมาธิ (คือ โลกุตตรสมาธิ) สสังขารสมาธิ (สมาธิข่มกิเลสได้ยาก คือทุกขาปฏิปโท ทันธาภิญโญสมาธิ และสุขาปฏิปโท ทันธาภิญโญสมาธิ) อสังขารสมาธิ (คือ นอกจากสสังขารสมาธินั้น) เอกังสภาวิตสมาธิ (สมาธิของสุกขวิปัสสกะ)อุภยังสภาวิตสมาธิ (คือ สมาธิของสมถยานิก) อุภยโย ภาวิตภาวโนสมาธิ (คือสมาธิของกายสักขีผู้หลุดพ้นโดยส่วนทั้งสอง) สวิตักกสวิจารสมาธิ อวิตักกวิจารมัตตสมาธิ อวิตักกอวิจารสมาธิ หานภาคิยสมาธิ (คือ สมาธิอันเป็นไปในส่วนที่เสื่อม) ฐิติภาคิยสมาธิ (คือ สมาธิอันเป็นส่วนแห่งการตั้งอยู่) วิเสสภาคิยสมาธิ (คือสมาธิอันเป็นส่วนวิเศษ) นิพเพธภาคิยสมาธิ (คือ สมาธิอันเป็นส่วนแห่งการแทงตลอด) โลกียสมาธิ โลกุตตรสมาธิ มิจฉาสมาธิ สัมมาสมาธิ นี้ ชื่อว่าเวมัตตตา แห่งสมาธิ ฯ
       คำว่า "ปฏิปทา" คือ ข้อปฏิบัติ ชื่อว่า เอกัตตตา ฯ
       ในอรรถะแห่งปฏิปทานั้น ปฏิปทาเป็นไฉน
       อาคาฬหปฏิปทา (คือ ปฏิปทาในการประกอบเนือง ๆ ในกามสุข) นิชฌามปฏิปทา (คือ ปฏิปทาในอัตตกิลมถานุโยค) มัชฌิมปฏิปทา อขมาปฏิปทา (ไม่อดทนในการทำความเพียร) ขมาปฏิปทา สมาปฏิปทา (คือ ให้มิจฉาวิตกสงบ)ปฏิปทาที่ฝึกมนินทรีย์ ทุกขาปฏิปทาที่รู้ได้ช้า ทุกขาปฏิปทาที่รู้ได้เร็ว สุขาปฏิปทาที่รู้ได้ช้า สุขาปฏิปทาที่รู้ได้เร็ว ปฏิปทานี้ ชื่อว่า เวมัตตตา ฯ
       คำว่า "กาโย" คือ กาย ชื่อว่า เอกัตตตา ฯ
       ในอรรถะแห่งกายนั้น กายเป็นไฉน
       นามกาย และ รูปกาย ในนามกายและรูปกายทั้ง 2 นั้น รูปกายเป็นไฉน
       เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ มังสัง นหารู อัฏฐี อัฏฐิมิญชัง วักกัง หทยังยกนัง กิโลมกัง ปิหกัง บัปผาสัง อันตัง อันตคุณัง อุทริยัง กรีสัง ปิตตัง เสมหังปุพโพ โลหิตัง เสโท เมโท อัสสุ วสา เขโฬ สิงฆานิกา ลสิกา มุตตัง มัตถลุงคังนี้ ชื่อว่า รูปกาย ฯ นามกาย คือ นาม เวทนา สัญญา เจตนา จิต ผัสสะ มนสิการกายทั้ง 2 นี้ ชื่อว่า เวมัตตตาแห่งกาย ฯ
       โดยนัยตามที่กล่าวแล้วนี้ ธรรมใด (มีชาติเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง) มีภาวะเสมอแก่ธรรมใด (คือ มีภาวะเสมอแก่ชราเป็นต้น) ธรรมนั้น ชื่อว่า เอกี(มีภาวะอย่างเดียวโดยเป็นทุกข์เป็นต้น) เพราะความที่ธรรมนั้นมีความเป็นไปได้อย่างเดียว (ภาวะนี้เรียกว่า เอกัตตตา) ฯ ก็หรือว่า ธรรมใด แปลกไปด้วยภาวะใด ๆ ธรรมนั้น ย่อมถึงความต่างกันด้วยภาวะนั้น ๆ (นี้ เรียกว่า เวมัตตตา) ฯ
       ด้วยอาการอย่างนี้ อันบุคคลผู้ถาม พึงพิจารณาในพระสูตร หรือในไวยากรณ์หรือในคาถาก่อน บุคคลย่อมถามอะไรโดยเอกัตตตา หรือ โดยเวมัตตตา ฯ
       ถ้าถามโดยเป็นเอกัตตตา ก็พึงตอบโดยเอกัตตตา ถ้าถามโดยเวมัตตตา ก็พึงตอบโดยเวมัตตตา ฯ ถ้าถามโดยสัตตาธิฏฐาน ก็พึงตอบโดยสัตตาธิฏฐานถ้าถามโดยธัมมาธิฏฐาน ก็พึงตอบโดยธัมมาธิฏฐาน หรือถามโดยประการใด ๆก็พึงตอบโดยประการนั้น ๆ เพราะเหตุนั้น ท่านพระมหากัจจายะจึงกล่าวว่า"ธรรมทั้งหลาย โดยที่ทรงแสดงแล้ว โดยความเป็นอย่างเดียวกัน"เป็นต้น ฯ
       จบ อธิฏฐานหารวิภังค์
       15. ปริกขารหารวิภังค์
[ค้นหา] [สารบัญ] <ก่อนนี้] [ถัดไป>