นโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะสารบัญ: ห้วเรื่อง, เลขข้อ | ไฟล์เดียว: html, text | [ค้นหา] [สารบัญ] <ก่อนนี้] [ถัดไป> เนตติปกรณ์แปล : 2. วิจยหารสัมปาตะ [60] โดยนัยที่กล่าวแล้วนั้น ปฏิปทาอันยังสัตว์ให้ถึงในที่ทั้งปวง เป็นอเนกธาตุโลก (โลกธาตุมิใช่น้อย) ปฏิปทาอันยังสัตว์ให้ถึงในที่นั้น ๆ เป็นนานาธาตุโลก (โลกธาตุที่่ต่างกัน)ฯ ในโลกทั้ง 2 นั้น อเนกธาตุโลก เป็นไฉน จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ โสตธาตุ สัททธาตุ โสตวิญญาณธาตุฆานธาตุ คันธธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาธาตุ รสธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุกายธาตุ โผฏฐัพพธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนธาตุ ธัมมธาตุ มโนวิญญาณธาตุปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ กามธาตุพยาปาทธาตุ วิหิงสาธาตุ เนกขัมมธาตุ อัพยาปาทธาตุ อวิหิงสาธาตุ ทุกขธาตุ โทมนัสสธาตุ อวิชชาธาตุ สุขธาตุ โสมนัสสธาตุ อุเปกขาธาตุ รูปธาตุอรูปธาตุ นิโรธธาตุ สังขารธาตุ นิพพานธาตุ นี้เป็น อเนกโลกธาตุ ฯ ในโลกทั้ง 2 นั้น นานาธาตุโลก เป็นไฉน จักขุธาตุเป็นอย่างหนึ่ง รูปธาตุเป็นอย่างหนึ่ง จักขุวิญญาณธาตุเป็นอย่างหนึ่ง นานาธาตุโลกทั้งปวง เป็นไปโดยทำนองนี้ และนิพพานธาตุก็เป็นอย่างหนึ่่งญาณใด ในอเนกธาตุโลกและนานาธาตุโลกนี้ เป็นไปโดยเหตุ โดยฐานะ ไม่มีอะไรกั้น คือ เป็นไปในขณะพิจารณา ญาณนี้ ท่านเรียกว่า อเนกธาตุนานาธาตุญาณเป็นกำลังของพระตถาคต ข้อที่ 3 ฯ ธาตุมิใช่น้อย (อเนกธาตุ) ของโลกที่มีธาตุต่างกัน เป็นไปโดยนัยที่กล่าวแล้วนั้น สัตว์ทั้งหลาย ย่อมน้อมไปสู่ธาตุใด ๆ นั่นแหละ สัตว์เหล่านั้น ย่อมตั้งมั่นย่อมยึดถือธาตุนั้น ๆ นั่นแหละ ฯ สัตว์บางพวกน้อมไปในรูป สัตว์บางพวกน้อมไปในเสียง สัตว์บางพวกน้อมไปในกลิ่น สัตว์บางพวกน้อมไปในรส สัตว์บางพวกน้อมไปในโผฏฐัพพะ สัตว์บางพวกน้อมไปในธรรม สัตว์บางพวกน้อมไปในหญิงสัตว์บางพวกน้อมไปในบุรุษ สัตว์บางพวกน้อมไปในจาคะ (บริจาค) สัตว์บางพวกน้อมไปในธรรมอันเลว สัตว์บางพวกน้อมไปในธรรมอันประณีต สัตว์บางพวกน้อมไปในเทวดา สัตว์บางพวกน้อมไปในมนุษย์ สัตว์บางพวกน้อมไปในพระนิพพาน ฯ ญาณใดในการน้อมไปนี้ เป็นไปโดยเหตุ โดยฐานะ ไม่มีอะไรขัดข้องว่า "สัตว์นี้เป็นเวไนยสัตว์ สัตว์นี้มิใช่เวไนยสัตว์ สัตว์นี้มีปกติไปสู่สวรรค์สัตว์นี้มีปกติไปสู่ทุคติ" ดังนี้ ญาณนี้ เรียกว่า ญาณรู้ความที่สัตว์ทั้งหลายมีอัธยาศัยต่าง ๆ เป็นกำลังของพระตถาคต ข้อที่ 4 ฯ ด้วยคำที่กล่าวแล้วนี้ สัตว์เหล่านั้นผู้มีอัธยาศัยเลวหรือประณีต ย่อมน้อมไปโดยประการใด ๆ ก็ยึดถือซึ่งกรรมสมาทาน (การทำกรรม) นั้น ๆ สัตว์เหล่านั้นย่อมสมาทานซึ่งกรรม 6 อย่าง สัตว์บางพวกย่อมกระทำกรรมด้วยอำนาจแห่งโลภะ สัตว์บางพวกย่อมทำกรรมด้วยอำนาจแห่งโทสะ สัตว์บางพวกย่อมทำกรรมด้วยอำนาจแห่งโมหะ สัตว์บางพวกย่อมทำกรรมด้วยอำนาจแห่งศรัทธา สัตว์บางพวกย่อมทำกรรมด้วยอำนาจแห่งวิริยะ สัตว์บางพวกย่อมทำกรรมด้วยอำนาจแห่งปัญญา ฯ กรรมสมาทานนั้น เมื่อจำแนกก็มี 2 อย่างคือ สังสารคามีและนิพพานคามี ฯ ในกรรมสมาทาน 6 นั้น บุคคลย่อมทำกรรมใด ด้วยอำนาจแห่งโลภะหรือโทสะหรือโมหะ กรรมนี้เป็นกรรมดำ มีวิบากดำ (เพราะให้เกิดในอบาย) ฯ ในกรรมสมาทานนั้น บุคคลย่อมทำกรรมใด ด้วยอำนาจแห่งศรัทธา (กุศลกรรมบถ 10) กรรมนี้เป็นกรรมขาว มีวิบากขาว ฯ ในกรรมสมาทานนั้น บุคคลย่อมทำกรรมใด ด้วยอำนาจแห่งโลภะ โทสะ โมหะ และด้วยอำนาจแห่งศรัทธากรรมนี้มีทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว ในกรรมสมาทานนั้น บุคคลย่อมทำกรรมใด ด้วยอำนาจแห่งวิริยะ และด้วยอำนาจแห่งปัญญา กรรมนี้ไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นกรรมสูงสุด ประเสริฐสุด เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม ฯ กรรมสมาทาน 4 อย่างกรรมสมาทาน 4 คือ กรรมสมาทานบางอย่าง มีสุขในปัจจุบัน มีทุกข์เป็นวิบากต่อไปมีอยู่ กรรมสมาทานบางอย่าง มีทุกข์ในปัจจุบัน มีสุขเป็นวิบากต่อไปมีอยู่ กรรมสมาทานบางอย่าง มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์ต่อไปมีอยู่ กรรมสมาทานบางอย่าง มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขต่อไปมีอยู่ ฯ กรรมสมาทานใด ในชาติมีประการตามที่กล่าวนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ตรัสสอนบุคคลผู้มีวิบากเป็นเครื่องกั้นนั้นว่า "กรรมสมาทานฝ่ายอกุศล อันบุคคลนี้สั่งสมไว้ไม่สำเร็จผลเป็นกรรมปรากฏเฉพาะวิบาก และผู้นั้นก็ไม่สามารถเพื่อบรรลุมรรคอันเบื่อหน่ายอย่างยิ่ง" ดังนี้ ฯ พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมตรัสสอนบุคคลเหล่านั้นผู้มีกรรมอันไม่บริบูรณ์คือ พระเทวทัตต์ พระโกกาลิกะ พระสุนักขัตตะบุตรของเจ้าลิจฉวี ก็หรือว่าสัตว์แม้เหล่าอื่นผู้เป็นมิจฉัตตนิยตะ อนึ่ง อกุศลของบุคคลเหล่านี้เริ่มเพื่อกระทำยังไม่ถึงความบริบูรณ์ก่อน อกุศลบริบูรณ์ย่อมยังผลให้เกิดขึ้น ผลของกรรมในกาลก่อนนั้น ย่อมห้ามซึ่งมรรค เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ผลกรรมในกาลก่อน ย่อมก้าวล่วงความเป็นเวไนยสัตว์ เหมือนตรัสกับนายปุณณะผู้ประพฤติอย่างโค และชีเปลือยประพฤติอย่างสุนัข ฉะนั้น ฯ |