นโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะสารบัญ: ห้วเรื่อง, เลขข้อ | ไฟล์เดียว: html, text | [ค้นหา] [สารบัญ] <ก่อนนี้] [ถัดไป> เนตติปกรณ์แปล : +นยสมุฏฐาน นันทิยาวัฏฏนัย [80] บรรดาทิฏฐิจริตและตัณหาจริตเหล่านั้น บุคคลผู้ทิฏฐิจริต ย่อมยึดรูปโดยความเป็นตน ย่อมยึดเวทนา ฯลฯ ย่อมยึดสัญญา ฯลฯ ย่อมยึดสังขารทั้งหลาย ฯลฯ ย่อมยึดวิญญาณ โดยความเป็นตน (อัตตา) ฯ บุคคลผู้ตัณหาจริต ย่อมยึดตนมีรูป หรือยึดรูปในตน หรือว่า ยึดตนในรูป ย่อมยึดตนมีเวทนาฯลฯ ย่อมยึดตนมีสัญญา ฯลฯ ย่อมยึดตนมีสังขาร ฯลฯ ย่อมยึดตนมีวิญญาณหรือย่อมยึดตนวิญญาณในตน หรือว่า ย่อมยึดตนในวิญญาณ มิจฉาทิฏฐิ มีวัตถุ 20 นี้ ท่านเรียกว่า สักกายทิฏฐิ ฯ โลกุตตรสัมมาทิฏฐิ (ปฐมมรรค) เป็นปฏิปักษ์ต่อสักกายทิฏฐิ 20 นั้นสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะสัมมาสติ และสัมมาสมาธิ ย่อมคล้อยตามสัมมาทิฏฐินั้น ธรรมมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้นนี้ เป็นอริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 มรรค 8 เหล่านั้นเป็นขันธ์ 3 คือสีลขันธ์ สมาธิขันธ์ และปัญญาขันธ์ ฯ สีลขันธ์และสมาธิขันธ์เป็นสมถะ ปัญญาขันธ์เป็นวิปัสสนา ฯ ในทิฏฐิจริตและตัณหาจริตเหล่านั้น สักกายะ (กายของตน)เป็นทุกข์ สักกายสมุทัยเป็นเหตุเกิดของทุกข์ สักกายนิโรธเป็นการดับทุกข์อริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงการดับทุกข์ ธรรมเหล่านี้เป็นสัจจะ 4 ในสัจจะเหล่านั้น ทุกข์เป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ สมุทัยเป็นธรรมที่พึงละมรรคเป็นธรรมที่ควรเจริญ นิโรธเป็นธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล ฯ ในทิฏฐิจริตและตัณหาจริตเหล่านั้น บุคคลเหล่าใด ย่อมยึดรูป โดยความเป็นตน ย่อมยึดเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ ย่อมยึดวิญญาณโดยความเป็นตน บุคคลผู้มีทิฏฐิจริตเหล่านี้ เรียกว่า มีปกติกล่าวว่าขาดสูญ(อุจเฉทวาทะ) เพราะมีรูปเป็นต้นเป็นตน และความที่ธรรมมีรูปเป็นต้นไม่เที่ยงและแม้ความที่อัตตาก็ไม่เที่ยง อัตตาย่อมขาดสูญ อัตตาย่อมพินาศ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตกอัตตาย่อมขาดสูญ ฯ บุคคลเหล่าใด ย่อมยึดตนมีรูปหรือยึดรูปในตน หรือยึดตนมีในรูป ย่อมยึดตนมีเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ ย่อมยึดตนมีวิญญาณ หรือยึดวิญญาณในตน หรือยึดตนมีในวิญญาณ บุคคลมีทิฏฐิจริตเหล่านี้ เรียกว่า มีปกติกล่าวว่าเที่ยง (สัสสตวาทะ) ฯ เพราะเห็นเป็น 2 อย่าง ฯ ในบุคคลผู้มีปกติกล่าวว่าขาดสูญและเที่ยงนั้น วาทะว่าขาดสูญและเที่ยงเป็นปฏิปทาที่สุด (โต่ง) 2 อย่าง ฯ ปฏิปทาทั้ง 2 ที่สุดโต่งนี้ ย่อมเป็นไปในสังสาร ฯ ในปฏิปทาที่เป็นไปในสังสารและไม่เป็นไปในสังสารนั้น ปฏิปทาที่เป็นไปในสังสารเป็นทุกข์ ตัณหาที่เกี่ยวข้องกับทุกข์นั้นเป็นสมุทัย การดับตัณหาเป็นการดับทุกข์ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 เป็นปฏิปทาให้ถึงการดับทุกข์ธรรมเหล่านี้เป็นสัจจะ 4 ในสัจจะ 4 นั้น ทุกข์เป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ สมุทัยเป็นธรรมที่ควรละ มรรคเป็นธรรมที่ควรเจริญ นิโรธเป็นธรรมที่ควรกระทำให้แจ้ง ฯ ในอุทเฉทะ สัสสตะและมรรคนั้น อุจเฉททิฏฐิและสัสสตทิฏฐิ ได้แก่สักกายทิฏฐิมีวัตถุ 20 โดยย่อ โดยพิสดาร ได้แก่ ทิฏฐิ 62 ประการ ฯ ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อทิฏฐิเหล่านั้น ได้แก่ โพธิปักขิยธรรม 43 วิโมกข์ 8 และ กสิณายตนะ 10 ฯ ทิฏฐิ 62 เป็นโมหะและชาละ อันเป็นไปไม่มีที่สุดในเบื้องต้น ฯ โพธิปักขิยธรรม 43 เป็นวชิรญาณ เป็นเครื่องทำลายโมหะและ ชาละอันเป็นไปไม่มีที่สุดในเบื้องต้น ฯ ในโมหะและชาละ (ข่าย) ทั้ง 2 นั้น โมหะ ได้แก่อวิชชา ข่าย (ชาลํ) ได้แก่ ภวตัณหา เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า"ที่สุดเบื้องต้นแห่งอวิชชาและภวตัณหา ย่อมไม่ปรากฏ" ดังนี้ ฯ |