สารบัญ: ห้วเรื่อง, เลขข้อ | ไฟล์เดียว: html, text | [ค้นหา] [สารบัญ] <ก่อนนี้] [ถัดไป> เนตติปกรณ์แปล : +สีหวิกีฬิตนัยปฏิปทาที่ 2 สติปัฏฐานที่ 2 ฌานที่ 2 วิหารธรรมที่ 2 สัมมัปปธานที่ 2,อัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 2 อธิฏฐานคือจาคะ วิริยสมาธิ ตบะ กรุณา ดังนี้ เป็นทิศที่ 2 ฯ ปฏิปทาที่ 3 สติปัฏฐานที่ 3 ฌานที่ 3 วิหารธรรมที่ 3 สัมมัปปธานที่ 3 อัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 3 อธิฏฐานคือปัญญา จิตตสมาธิ พุทธิ มุทิตา ดังนี้เป็นทิศที่ 3 ฯ ปฏิปทาที่ 4 สติปัฏฐานที่ 4 ฌานที่ 4 วิหารธรรมที่ 4,สัมมัปปธานที่ 4 อัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 4 อธิฏฐานคืออุปสมะ วิมังสาสมาธิสัพพูปธิปฏินิสสัคคะ อุเบกขา ดังนี้ เป็นทิศที่ 4 ฯ ในธรรม 10 เหล่านั้น พระสูตร 10 คือ ปฏิปทาที่ 1 สติปัฏฐานที่ 1,ฌานที่ 1 วิหารธรรมที่ 1 สัมมัปปธานที่ 1 อัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 1 สัจจาธิฏฐานฉันทสมาธิ อินทริยสังวร เมตตา เหล่านี้ มีอรรถะอย่างเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน ธรรมนี้เป็นเภสัชชะ (ยาแก้โรค) แห่งบุคคลผู้ราคจริต ฯ ในธรรม 10 เหล่านั้น พระสูตร 10 คือ ปฏิปทาที่ 2 สติปัฏฐานที่ 2 ฌานที่ 2 วิหารธรรมที่ 2 สัมมัปปธานที่ 2 อัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 2 จาคาธิฏฐานวิริยสมาธิ ตบะ และกรุณา เหล่านี้ มีอรรถะอย่างเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน ธรรมนี้เป็นยาแก้โรคของบุคคลผู้โทสจริต ฯ ในธรรม 10 เหล่านั้น พระสูตร 10 คือ ปฏิปทาที่ 3 สติปัฏฐานที่ 3 ฌานที่ 3 วิหารธรรมที่ 3 สัมมัปปธานที่ 3 อัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 3 ปัญญาธิฏฐานจิตตสมาธิ พุทธิ มุทิตา เหล่านี้ มีอรรถะอย่างเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกันธรรมนี้เป็นยาแก้โรคของคนทิฏฐิจริตผู้มีปัญญาน้อย ฯ ในธรรม 10 เหล่านั้นพระสูตร 10 คือ ปฏิปทาที่ 4 สติปัฏฐานที่ 4 ฌานที่ 4 วิหารธรรมที่ 4สัมมัปปธานที่ 4 อัจฉริยอัพภูตธรรมที่ 4 อุปสมาธิฏฐาน วิมังสา สมาธิสัพพูปธิปฏินิสสัคคะและอุเบกขา เหล่านี้ มีอรรถะอย่างเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน ธรรมนี้เป็นยาแก้โรคของคนมีทิฏฐิจริตผู้มีปัญญาแก่กล้า ฯ ในปฏิปทา 4 นั้น ปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า และปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว เป็นทางแห่งความหลุดพ้น (วิโมกฺขมฺุขํ) ชื่อว่า อัปปณิหิตะ ปฏิบัติสบาย รู้ได้ช้า เป็นทางแห่งความหลุดพ้น ชื่อว่า สุญญตะ ปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว เป็นทางแห่งความหลุดพ้น ชื่อว่า อนิมิตตะ ฯ ในสติปัฏฐาน 4 นั้น สติปัฏฐาน คือ การพิจารณาเห็นกายในกาย และสติปัฏฐาน คือ การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายเป็นอัปปณิหิตวิโมกขมุขสติปัฏฐาน คือ การพิจารณาเห็นจิตในจิตเป็นสุญญตวิโมกขมุข สติปัฏฐาน คือการพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายเป็นอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ ในฌาน 4 นั้น ปฐมฌานและทุติยฌานเป็นอัปปณิหิตวิโมกขมุข ตติยฌานเป็นสุญญตวิโมกขมุข จตุตถฌานเป็นอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ ในวิหารธรรม 4 นั้น วิหารธรรมที่ 1 และวิหารธรรมที่ 2 เป็นอัปปณิหิตวิโมกขมุข วิหารธรรมที่ 3 เป็นสุญญตวิโมกขมุข วิหารธรรมที่ 4 เป็นอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ ในสัมมัปปธาน 4 นั้น สัมมัปปธานที่ 1 และสัมมัปปธานที่ 2 เป็นอัปปณิหิตวิโมกขมุข สัมมัปปธานที่ 3 เป็นสุญญตวิโมกขมุข สัมมัปปธานที่ 4เป็นอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ ในอัจฉริยอัพภูตธรรม 4 นั้น การละมานะ และการถอนขึ้นซึ่งความอาลัยเป็นอัปปณิหิตวิโมกขมุข การละอวิชชาเป็นสุญญตวิโมกขมุข การยังภพให้สงบเป็นอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ ในอธิฏฐาน 4 นั้น สัจจาธิฏฐาน และจาคาธิฏฐานเป็นอัปปณิหิตวิโมกขมุขปัญญาธิฏฐานเป็นสุญญตวิโมกขมุข อุปสมาธิฏฐานเป็นอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ ในสมาธิ 4 นั้น ฉันทสมาธิ และวิริยสมาธิเป็นอัปปณิหิตวิโมกขมุข จิตตสมาธิเป็นสุญญตวิโมกขมุข วิมังสาสมาธิเป็นอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ ในสุขภาคิยธรรม 4 นั้น อินทริยสังวรและตบะเป็นอัปปณิหิตวิโมกขมุขพุทธิ (โพชฌงค์) เป็นสุญญตวิโมกขมุข สัพพูปธิปฏินิสสัคคะเป็นอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ ในอัปปมัญญา 4 นั้น เมตตา และกรุณาเป็นอัปปณิหิตวิโมกขมุขมุทิตาเป็นสุญญตวิโมกขมุข อุเบกขาเป็นอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ สีหวิกกีฬิตนัยวิกกีฬิตะใด กล่าวคือการก้าวล่วง และการละซึ่งกิเลสวัตถุ 10 หมวด มีอาหาร 4 เป็นต้น วิกกีฬิตะใด กล่าวคือการเจริญกุศลธรรม 10 หมวด มีปฏิปทา 4 เป็นต้น วิกกีฬิตะใด กล่าวคือการกระทำพระนิพพานให้แจ้ง ทั้ง 3นัยนี้ เป็นวิกกีฬิตะของพระอริยะผู้พ้นแล้วเหล่านั้น ฯ ความที่ธรรมเหล่านั้นเป็นปฏิปักษ์กัน ความที่ธรรมเหล่านั้นอันบุคคลพึงละ ความที่ธรรมเหล่านั้นเป็นผู้ละ พึงทราบด้วยอำนาจฉันทราคะที่ผูกพันกับสิ่ง นั้น ๆ ดังนี้ อาหาร 4 มีอยู่ ปฏิปทา 4 เป็นปฏิปักษ์ต่ออาหารเหล่านั้น ฯลฯ วิปลาส 4มีอยู่ สติปัฏฐาน 4 เป็นปฏิปักษ์ต่อวิปลาสเหล่านั้น ฯ อุปาทาน 4 มีอยู่ ฌาน 4เป็นปฏิปักษ์ต่ออุปาทานเหล่านั้น ฯ โยคะ 4 มีอยู่ วิหารธรรม 4 เป็นปฏิปักษ์ต่อโยคะเหล่านั้น ฯ คันถะ 4 มีอยู่ สัมมัปปธาน 4 เป็นปฏิปักษ์ต่อคันถะเหล่านั้นฯ อาสวะ 4 มีอยู่ อัจฉริยอัพภูตธรรม 4 เป็นปฏิปักษ์ต่ออาสวะเหล่านั้น ฯ โอฆะ 4 มีอยู่ อธิฏฐาน 4 เป็นปฏิปักษ์ต่อโอฆะเหล่านั้น ฯ ลูกศร 4 มีอยู่ สมาธิภาวนาเป็นปฏิปักษ์ต่อลูกศรเหล่านั้น ฯ วิญญาณฐิติ 4 มีอยู่ สุขภาคิยธรรม 4 เป็นปฏิปักษ์ต่อวิญญาณฐิติเหล่านั้น ฯ การถึงอคติ 4 มีอยู่ อัปปมัญญา 4 เป็นปฏิปักษ์ต่อการถึงอคติเหล่านั้น ฯ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธะและพระสาวกทั้งหลาย ผู้ฆ่าราคะโทสะ โมหะแล้ว ชื่อว่า สีหะ การเจริญโพธิปักขิยธรรมที่ควรเจริญ การกระทำให้แจ้งซึ่งผลและนิพพานอันควรกระทำให้แจ้ง การกระทำให้สิ้นไปไม่เหลือแห่งกองกิเลส ชื่อว่า วิกกีฬิตะ ของพระอริยะผู้เป็นสีหะเหล่านั้น ฯ อธิฏฐานคือการเป็นไป การเจริญ และการกระทำให้แจ้งแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ชื่อว่า วิกกีฬิตะและการละ ไม่ให้วิปลาสเกิดขึ้นเป็นไป ชื่่อว่า วิกกีฬิตะ ฯ อินทรีย์มีสัทธินทรีย์เป็นต้น เป็นอารมณ์แห่งสัทธรรมในฝ่ายแห่งโวทาน เป็นเหตุละวิปลาส เป็นอารมณ์แห่งกิเลส นัยนี้เป็นภูมิแห่งนัย ชื่อว่า สีหวิกกีฬิตะและทิสาโลจนะ ฯ เพราะเหตุนั้น ท่านพระมหากัจจายนะจึงกล่าวว่า "นัยใด ย่อมนำไปซึ่งสังกิเลสทั้งหลาย เพราะเป็นอารมณ์วิปลาสทั้งหลาย" เป็นต้น และในการวิสัชชนาอรรถะแห่งพระสูตรว่า "ธรรมเหล่าใดเป็นกุศลและอกุศล" เป็นต้น ฯ +ติปุกขลนัย |