นโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะสารบัญ: ห้วเรื่อง, เลขข้อ | ไฟล์เดียว: html, text | [ค้นหา] [สารบัญ] <ก่อนนี้] [ถัดไป> เนตติปกรณ์แปล : +สัตตาธิฏฐานและธัมมาธิฏฐาน [113] ในสาสนปัฏฐาน 28 นั้น "สัตตาธิษฐานเป็นไฉน" ในราชสูตรตรัสว่า"ใคร ๆ ตรวจดูด้วยจิตทั่วทุกทิศแล้ว หาได้พบผู้เป็นที่รักยิ่งกว่าตนในที่ไหน ๆ ไม่ สัตว์เหล่าอื่นก็รักตนมากเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ผู้รักตนจึงไม่ควรเบียดเบียนผู้อื่น" ดังนี้ ข้อนี้ เป็นสัตตาธิฏฐาน ฯ ในอัปปายุกาสูตรตรัสว่า"สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ผู้เกิดแล้ว หรือแม้จักเกิด สัตว์ทั้งหมดเหล่านั้น จักละร่างกายไป ท่านผู้ฉลาด ทราบความเสื่อมแห่งสัตว์ทั้งปวงนั้นแล้ว พึงเป็นผู้มีความเพียรประพฤติพรหมจรรย์" ดังนี้ ข้อนี้ เป็นสัตตาธิฏฐาน ฯ ในสขสูตรตรัสว่า"ดูกรภิกษุทั้งหลาย กัลยาณมิตร ประกอบด้วยองค์ 7 อันบุคคลผู้ฉลาด ไม่พึงเว้นตลอดชีวิต แม้ถูกตำหนิประณามเสือกใสที่คอ กัลยาณมิตรประกอบด้วยองค์ 7 เป็นไฉน คือ บุคคลเป็นที่รักใคร่พอใจ (เพราะประกอบด้วยคุณ คือมีศีลและทิฏฐิอันบริสุทธิ์) 1 บุคคลเป็นครู (เป็นดุจฉัตรหิน) 1 บุคคลผู้ควรสรรเสริญ (ด้วยคุณ) 1 บุคคลผู้ฉลาดพูด (ในการให้โอวาท) 1 เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ 1 เป็นผู้กล่าวถ้อยคำอันลึกซึ้ง(มีสัจจะและปฏิจจสมุปบาทเป็นต้น) 1 เป็นผู้ไม่ชักนำในทางไม่ควร 1 ดูกรภิกษุทั้งหลาย องค์ 7 ประการเหล่านี้แล ฯลฯ อันบุคคลไม่พึงเว้นตลอดชีวิต" พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว พระสุคตผู้ศาสดาครั้นตรัสเนื้อความนี้แล้ว ได้ตรัสคาถานี้ว่า"บุคคลผู้เป็นที่รักใคร่พอใจ เป็นครู เป็นผู้ควรสรรเสริญ เป็นผู้ฉลาดพูด เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ เป็นผู้กล่าวถ้อยคำอันลึก เป็นผู้ไม่ชักนำไปในทางที่ไม่ควร บุคคลผู้ต้องการมิตร ควรเสพมิตรนั้นเช่นนั้นตลอดชีวิต" ดังนี้ข้อนี้ เป็นสัตตาธิฏฐาน ฯ ในสาสนปัฏฐาน 28 นั้น "ธัมมาธิฏฐานเป็นไฉน"ในราชสูตร ทรงเปล่งอุทานว่า"กามสุขในโลกและทิพยสุข ย่อมไม่ถึงซึ่่งเสี้ยวที่ 16 (ที่จำแนกออก 16 ส่วน) แห่งสุขคือความสิ้นตัณหา" ดังนี้ ข้อนี้ เป็นธัมมาธิฏฐาน ฯ พระพากุลเถระกล่าวว่า"นิพพานที่พระสัมมาสัมพุทธะทรงแสดงแล้ว ไม่มีความโศก ปราศจากกิเลสธุลี เป็นแดนเกษม เป็นที่ดับทุกข์ เป็นสุขดีหนอ" ดังนี้ ข้อนี้เป็นธัมมาธิฏฐาน ฯ ในสาสนปัฏฐาน 28 นั้น"สัตตาธิษฐานและธัมมาธิษฐานเป็นไฉน""พราหมณ์ ฆ่าแล้วซึ่งมารดา (ตัณหา) และบิดา (มานะ) ฆ่าราชาผู้เป็นกษัตริย์ทั้ง 2 (สัสสตะและอุทเฉทะ) ฆ่าแว่นแคว้น (อายตนะ 12)พร้อมทั้งผู้ติดตาม (นันทิราคะ) เป็นผู้ไม่มีทุกข์ย่อมไป" ดังนี้ คำว่า"ฆ่ามารดาและบิดา ฆ่าราชาผู้เป็นกษัตริย์ทั้ง 2 ฆ่าแว่นแคว้น พร้อมทั้งผู้ติดตาม" ดังนี้ ข้อนี้ เป็นธัมมาธิฏฐาน ฯ คำว่า "พราหมณ์เป็นผู้ไม่มีทุกข์ย่อมไป" ดังนี้ ข้อนี้ เป็นสัตตาธิฏฐาน ฯ สูตรนี้ เป็นสัตตาธิฏฐานและธัมมาธิฏฐาน ฯ ในอิทธิบาทสังยุตต์ว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท 4 เหล่านี้ อิทธิบาท 4 เป็นไฉน อิทธิบาทประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร วิริยะ ฯลฯ จิตตะ ฯลฯ อิทธิบาทประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขาร นี้เป็นธัมมาธิฏฐาน ฯ บุคคลผู้ประกอบด้วยอิทธิบาท 4 นั้น (ปรารถนาไปด้วยกายที่ปรากฏ) จึงตั้งจิตไว้ในฌานที่เป็นบาท ในกรชกายบ้าง ปรารถนาไปเร็วตั้งกรชกายในจิตที่มีฌานเป็นบาทบ้าง ก้าวล่วงสุขวิหารสัญญา และลหุคมนสัญญาในกรชกาย ย่อมเข้าถึงอยู่ ส่วนแห่งพระสูตรนี้ เรียกว่าสัตตาธิฏฐาน ฯ ข้อนี้ เป็นธัมมาธิฏฐาน ฯ +ญาณและเญยยะ |