นโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
สารบัญ: ห้วเรื่อง, เลขข้อ | ไฟล์เดียว: html, text | [ค้นหา] [สารบัญ] <ก่อนนี้] [ถัดไป>

เนตติปกรณ์แปล : 12. โอตรณหารวิภังค์

       
       [42] บรรดาหาระ 16 นั้น หาระ คือ โอตรณะ เป็นไฉน
       นิทเทสที่กล่าวว่า "ปฏิจจสมุปบาทใด" เป็นต้น เป็นโอตรณหาระพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานว่า" บุคคลพ้นวิเศษแล้วในสิ่งทั้งปวง ในเบื้องบน ในเบื้องต่ำ ไม่ตามเห็นว่า นี้เป็นเรา บุคคลพ้นวิเศษแล้วอย่างนี้ ข้ามได้แล้วซึ่งโอฆะ ที่ตนยังไม่เคยข้าม เพื่อความไม่เกิดอีก" ดังนี้ ฯ
       คำว่า "อุทฺธํ" ในเบื้องบน ได้แก่ รูปธาตุและอรูปธาตุ ฯ คำว่า "อโธ" ในเบื้องต่ำ ได้แก่ กามธาตุ ฯ คำว่า "สพฺพธิ วิปฺปมุตฺโต" (พ้นวิเศษแล้วในสิ่งทั้งปวง)ความว่า การพ้นนี้ เป็นการพ้นด้วยอเสกขะในโลกธาตุ 3 (กามธาตุ รูปธาตุอรูปธาตุ) ฯ อเสกขะทั้งหลายเหล่านั้นนั่นแหละ เป็นอินทรีย์ 5 มีสัทธินทรีย์เป็นต้น เทศนาที่หยั่งลงนี้ ชื่อ โอตรณา (คือ การหยั่งลง) ด้วยอินทรีย์ทั้งหลาย ฯ
       อินทรีย์ 5 ที่เป็นอเสกขะเหล่านั้นนั่นแหละเป็นวิชชา เพราะการเกิดขึ้นแห่งวิชชา อวิชชาจึงดับ เพราะความดับแห่งอวิชชา สังขารจึงดับ เพราะความดับแห่งสังขาร วิญญาณจึงดับ เพราะความดับแห่งวิญญาณ นามรูปจึงดับเพราะความดับแห่งนามรูป สฬายตนะจึงดับ เพราะความดับแห่งสฬายตนะผัสสะจึงดับ เพราะความดับแห่งผัสสะ เวทนาจึงดับ เพราะความดับแห่งเวทนาตัณหาจึงดับ เพราะความดับแห่งตัณหา อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัสและอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้โอตรณานี้ ชื่อ โอตรณา (คือ การหยั่งลง) ด้วยปฏิจจสมุปบาททั้งหลาย ฯ
       อินทรีย์ 5 ที่เป็นอเสกขะเหล่านั้นนั่นแหละ บัณฑิตสงเคราะห์ไว้ด้วยขันธ์ 3 คือ ด้วยสีลขันธ์ ด้วยสมาธิขันธ์ ด้วยปัญญาขันธ์ โอตรณานี้ ชื่อโอตรณา (คือ การหยั่งลง) ด้วยขันธ์ 3 ฯ
       อินทรีย์ 5 ที่เป็นอเสกขะเหล่านั้นนั่นแหละ นับเนื่องในสังขาร (คือหยั่งลงในสังขารขันธ์) สังขารทั้งหลายเหล่าใด ไม่มีอาสวะ และไม่เป็นองค์แห่งภพ (ส่วนแห่งการเกิด) สังขารเหล่านั้น บัณฑิตสงเคราะห์ไว้ด้วยธรรมธาตุโอตรณานี้ ชื่อ โอตรณา (คือการหยั่งลง) ด้วยธาตุทั้งหลาย ฯ
       ธรรมธาตุนั้น นับเนื่องในธัมมายตนะ อายตนะใด ไม่มีอาสวะและไม่มีองค์แห่งการเกิด เทศนาที่หยั่งลงนี้ ชื่อว่า โอตรณาด้วยอายตนะทั้งหลาย ฯ
       คำว่า "อยํ อหสฺมีติ อนานุปสฺสี" (บุคคลไม่ตามเห็นว่า นี้เป็นเรา) ความว่าบุคคลผู้มีสักกายทิฏฐิอันถอนขึ้นแล้วนี้ใด การถอนขึ้นซึ่งสักกายทิฏฐินั้น เป็นเสกขวิมุตติ เสกขะทั้งหลายเหล่านั้นนั่นแหละ เป็นอินทรีย์ 5 ฯ เทศนาที่หยั่งลงนี้ ชื่อ โอตรณาด้วยอินทรีย์ทั้งหลาย ฯ
       อินทรีย์ 5 ที่เป็นเสกขะเหล่านั้นนั่นแหละเป็นวิชชา เพราะความเกิดขึ้นแห่งวิชชา อวิชชาจึงดับ เพราะความดับแห่งอวิชชา สังขารจึงดับ ปฏิจจสมุปบาททั้งปวง เป็นไปด้วยอาการอย่างนี้ ฯ เทศนาที่หยั่งลงนี้ ชื่อ โอตรณาด้วยปฏิจจสมุปบาททั้งหลาย ฯ
       วิชชานั้นนั่นแหละ เป็นปัญญาขันธ์ ฯ เทศนาที่หยั่งลงนี้ ชื่อ โอตรณาด้วยขันธ์ทั้งหลาย ฯ วิชชานั้นนั่นแหละ นับเนื่องในสังขาร สังขารเหล่าใดไม่มีอาสวะ และไม่เป็นองค์แห่งการเกิดขึ้น สังขารเหล่านั้น ท่านสงเคราะห์ไว้ในธรรมธาตุ เทศนาที่หยั่งลงนี้ ชื่อ โอตรณาด้วยธาตุทั้งหลาย ฯ ธัมมธาตุนั้นนับเนื่องในธัมมายตนะ อายตนะใด ไม่มีอาสวะ และไม่เป็นองค์แห่งการเกิดขึ้นเทศนาที่หยั่งลงนี้ ชื่อ โอตรณาด้วยอายตนะทั้งหลาย ฯ บุคคลพ้นวิเศษแล้วด้วยเสกขวิมุตติ และอเสกขวิมุตติ ข้ามได้แล้วซึ่งโอฆะที่ตนยังไม่เคยข้ามเพื่อความไม่เกิดอีก ฯ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "อุทฺธํ อโธ"ดังนี้ ฯ
       [43] "การเคลื่อนไป ย่อมมีแก่บุคคลผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัย การเคลื่อนไป ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัย เมื่อการเคลื่อนไปไม่มี ปัสสัทธิย่อมมี เมื่อปัสสัทธิมีอยู่ ความยินดีย่อมไม่มี เมื่อความยินดีไม่มีอยู่ การมาและการไปย่อมไม่มี เมื่อการมาการไปไม่มี จุติและการเกิดก็ย่อมไม่มี เมื่อจุติและการเกิดไม่มี โลกนี้ก็ไม่มี โลกหน้าก็ไม่มีระหว่างโลกทั้ง 2 ก็ไม่มี ปฏิจจสมุปบาทนี้นั่นแลเป็นที่สุดแห่งทุกข์" ดังนี้ ฯ
       คำว่า "นิสฺสิตสฺส จลิตํ" อธิบายว่า ชื่อว่านิสสัย (ความประพฤติที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน) มี 2 อย่าง คือ ตัณหานิสสัย และ ทิฏฐินิสสัย ในธรรมทั้ง 2 นั้น เจตนาของบุคคลผู้กำหนัดแล้ว อันใด เจตนาธรรมนี้ ชื่อว่า ตัณหานิสสัย ฯ เจตนาของบุคคลผู้หลงอันใด เจตนาธรรมนี้ ชื่อว่า ทิฏฐินิสสัย ฯ ก็เจตนาเป็นสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยนามรูปจึงมี ปฏิจจสมุปบาททั้งปวงเป็นไปด้วยอาการอย่างนี้ เทศนาที่หยั่งลงนี้ชื่อว่า โอตรณาด้วยปฏิจจสมุปบาททั้งหลาย ฯ
       ในตัณหานิสสัยและทิฏฐินิสสัยนั้น เวทนาของบุคคลผู้กำหนัด อันใด เวทนานี้เป็นสุขเวทนา (คือ นอนเนื่องในสุขเวทนา) เวทนาของบุคคลผู้หลง อันใด เวทนานี้เป็นอทุกขมสุขเวทนา (คือ นอนเนื่องอยู่ในอทุกขมสุข) เวทนาทั้ง 2 นี้เป็นเวทนาขันธ์ เทศนาที่หยั่งลงนี้ ชื่อว่า โอตรณาด้วยขันธ์ทั้งหลาย ฯ
       ในขันธ์นั้น สุขเวทนาเป็นอินทรีย์ 2 คือ สุขินทรีย์ และโสมนัสสินทรีย์ส่วนอทุกขมสุขเวทนาเป็นอุเบกขินทรีย์ เทศนาที่หยั่งลงนี้ ชื่อว่า โอตรณาด้วยอินทรีย์ทั้งหลาย ฯ อินทรีย์เหล่านั้นนั่นแหละ หยั่งลงในสังขาร สังขารเหล่าใดมีอาสวะเป็นองค์แห่งการเกิด สังขารเหล่านั้นสงเคราะห์ในธรรมธาตุเทศนาที่หยั่งลงนี้ ชื่อว่า โอตรณาด้วยธาตุทั้งหลาย ฯ ธรรมธาตุนั้น นับเนื่องในธัมมายตนะ อายตนะใดมีอาสวะเป็นองค์แห่งการเกิด เทศนาที่หยั่งลงนี้ชื่อว่า โอตรณาด้วยอายตนะทั้งหลาย ฯ
       คำว่า "การเคลื่อนไป ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่อาศัย" ความว่า บุคคลอันตัณหาไม่อาศัย ด้วยอำนาจสมถะ หรือบุคคลผู้อันทิฏฐิไม่อาศัย ด้วยอำนาจวิปัสสนา วิปัสสนาอันใด อันนี้ เป็นวิชชา เพราะความเกิดขึ้นแห่งวิชชา อวิชชาจึงดับ เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับปฏิจจสมุปบาททั้งปวงเป็นไปอย่างนี้ เทศนาที่หยั่งลงนี้ ชื่อว่า โอตรณาด้วยปฏิจจสมุปบาททั้งหลาย ฯ
       วิปัสสนานั้นนั่นแหละ เป็นปัญญาขันธ์ เทศนาที่หยั่งลงนี้ ชื่อว่า โอตรณาด้วยขันธ์ทั้งหลาย ฯ วิปัสสนานั่นแหละ เป็น 2 อินทรีย์ คือ วิริยินทรีย์ และปัญญินทรีย์ เทศนาที่หยั่งลงนี้ ชื่อว่า โอตรณาด้วยอินทรีย์ทั้งหลาย ฯ
       วิปัสสนานั้นนั่นแหละ นับเนื่องในสังขาร สังขารเหล่าใด ไม่มีอาสวะและไม่เป็นองค์แห่งการเกิด สังขารเหล่านั้นสงเคราะห์ในธรรมธาตุ เทศนาที่หยั่งลงนี้ ชื่อว่า โอตรณาด้วยธาตุทั้งหลาย ฯ ธรรมธาตุนั้นหยั่งลงในธัมมายตนะ อายตนะใดไม่มีอาสวะ และไม่เป็นองค์แห่งการเกิด เทศนาที่หยั่งลงนี้ ชื่อว่า โอตรณาด้วยอายตนะทั้งหลาย ฯ
       คำว่า "ปสฺสทฺธิยา สติ" ได้แก่ ปัสสัทธิ 2 อย่าง คือ ความสงบอันเป็นไปทางกาย และความสงบอันเป็นไปทางใจ กายิกสุข อันใด นี้ชื่อว่า กายปัสสัทธิเจตสิกสุขอันใด นี้ชื่อว่า เจตสิกปัสสัทธิ ฯ บุคคลผู้มีกายอันสงบแล้ว ย่อมเสวยสุข จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น ผู้มีจิตตั้งมั่นแล้วย่อมรู้ตามความเป็นจริง บุคคลเมื่อรู้ตามความเป็นจริงย่อมเบื่อหน่าย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้นเพราะหมดความยินดี ญาณในจิตที่หลุดพ้นแล้วว่า เราหลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ว่า ชาติสิ้นแล้ว การประพฤติพรหมจรรย์จบแล้ว กิจที่ควรกระทำ เราทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้ ฯ
       บุคคลนั้น ย่อมไม่น้อมไปในรูปทั้งหลาย ย่อมไม่น้อมไปในเสียงทั้งหลายย่อมไม่น้อมไปในกลิ่นทั้งหลาย ย่อมไม่น้อมไปในรสทั้งหลาย ย่อมไม่น้อมไปในโผฏฐัพพะทั้งหลาย ย่อมไม่น้อมไปในธรรมทั้งหลาย เพราะความสิ้นราคะ เพราะความสิ้นโทสะ เพราะความสิ้นโมหะ เมื่อจะบัญญัติ พึงประกาศสัตว์ผู้ไปแล้วอย่างนั้น ว่า กำลังยืนอยู่ กำลังเที่ยวไปด้วยรูปใด แต่เพราะความสิ้นไปแห่งรูปนั้น เพราะคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะสละ เพราะสละคืน เป็นสัตว์พ้นแล้วในการนับว่ารูป (เพราะ) สัตว์ผู้ไปแล้วอย่างนั้นไม่ถึงแล้วซึ่งการนับว่า"มีอยู่" ดังนี้บ้าง ไม่เข้าถึงแล้วว่า "ไม่มีอยู่" ดังนี้บ้าง ไม่เข้าถึงแล้วว่า "มีอยู่ไม่มีอยู่" ดังนี้บ้าง ไม่เข้าถึงแล้วว่า "มีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่" ดังนี้บ้าง โดยที่แท้ สัตว์นั้นสุขุมคือยากที่ใคร ๆ จะเข้าใจได้ เป็นสัตว์มีคุณไม่มีประมาณ อันบุคคลไม่พึงนับ ย่อมถึงซึ่งการนับว่า สัตว์นั้นสงบแล้วทีเดียว เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ เพราะความสิ้นไปแห่งโทสะ เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ ฯ
       เมื่อจะบัญญัติ พึงประกาศสัตว์ผู้ไปแล้วอย่างนั้นว่า กำลังยืนอยู่ กำลังเที่ยวไป ด้วยเวทนาใด ฯลฯ ด้วยสัญญาใด ฯลฯ ด้วยสังขารทั้งหลายเหล่าใดฯลฯ ด้วยวิญญาณใด แต่เพราะความสิ้นไปแห่งวิญญาณนั้น เพราะคลายกำหนัดเพราะความดับ เพราะสละ เพราะสละคืน ซึ่งเป็นสัตว์พ้นแล้ว ในการนับว่าวิญญาณ เพราะสัตว์ผู้ไปแล้วอย่างนั้น ไม่เข้าถึงแล้วซึ่งการนับว่า "มีอยู่"ดังนี้บ้าง ไม่เข้าถึงแล้วซึ่งการนับว่า "ไม่มีอยู่" ดังนี้บ้าง ไม่เข้าถึงแล้วซึ่งการนับว่า "มีอยู่ ไม่มีอยู่" ดังนี้บ้าง ไม่เข้าถึงแล้วซึ่งการนับว่า "มีอยู่ก็ไม่ใช่ไม่มีอยู่ก็มิใช่" ดังนี้บ้าง โดยที่แท้ สัตว์นั้นสุขุม คือยากที่ใคร ๆ จะเข้าใจได้เป็นสัตว์มีคุณไม่มีประมาณ อันบุคคลไม่พึงนับ แต่ย่อมถึงซึ่งการนับว่า สัตว์นั้นสงบแล้ว เพราะสิ้นราคะ เพราะสิ้นโทสะ เพราะสิ้นโมหะ ฯ
       คำว่า "อาคติ" ได้แก่ ผู้มาในโลกนี้คำว่า "คติ" ได้แก่ สัตว์ละภพนี้ไป ฯ อธิบายว่า แม้การมาและการไปก็ย่อมไม่มี ฯ
       คำว่า "เนวิธ" แปลว่า ในโลกนี้ก็ไม่มี ได้แก่ อายตนะภายใน 6 ฯ คำว่า"น หุรํ" แปลว่า ในโลกอื่นก็ไม่มี ได้แก่ อายตนะภายนอก 6 ฯ คำว่า"น อุภยมนฺตเรน" แปลว่า ระหว่างโลกทั้ง 2 ก็ไม่มี ได้แก่ ย่อมไม่เห็นตนในธรรมทั้งหลายที่ตั้งขึ้นด้วยผัสสะ ฯ
       คำว่า "เอเสวนฺโต ทุกฺขสฺส" แปลว่า นี้เป็นที่สุดแห่งทุกข์ ได้แก่ ปฏิจจสมุปบาท อธิบายว่า ปฏิจจสมุปบาทนั้น มี 2 คือ โลกียะและโลกุตตระ ฯ ใน 2อย่างนั้น โลกียปฏิจจสมุปบาทว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลายจนกระทั่งถึง ชรา มรณะ ฯ โลกุตตรปฏิจจสมุปบาทว่า ความไม่เดือดร้อนย่อมเกิดแก่ผู้มีศีล จนกระทั่งถึงญาณรู้ว่า กิจอย่างอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า"การเคลื่อนไปย่อมมีแก่ผู้อาศัย การเคลื่อนไป ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่อาศัย ฯลฯ ปฏิจจสมุปบาทนี้นั่นแหละเป็นที่สุดแห่งทุกข์" ดังนี้ ฯ
       [44] พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานว่า"ความโศกก็ดี ความร่ำไรก็ดี ความทุกข์ก็ดี แต่ละอย่างมากมายในโลกนี้ เพราะอาศัยสัตว์ หรือสังขารอันเป็นที่รัก เมื่อไม่มีสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รัก ความโศก ความร้องไห้ร่ำไร และความทุกข์เหล่านี้ย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้นแล ผู้ใด ไม่มีสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รักในโลกไหน ๆ ผู้นั้นเป็นผู้มีความสุข ปราศจากความโศก เพราะเหตุนั้น ผู้ปรารถนาความไม่โศก อันปราศจากกิเลสดุจธุลี ไม่พึงทำสัตว์ หรือสังขารให้เป็นที่รักในโลกไหน ๆ" ดังนี้ ฯ ข้อว่า"ความโศกก็ดี ความร่ำไรก็ดี ความทุกข์ก็ดี แต่ละอย่างมากมายในโลกนี้ เพราะอาศัยสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รัก" นี้เป็นทุกขเวทนา ฯ
       ข้อว่า "เมื่อไม่มีสัตว์ หรือสังขารอันเป็นที่รัก ความโศก ความร้องไห้ร่ำไรและความทุกข์เหล่านี้ ย่อมไม่มี" นี้เป็นสุขเวทนาฯ เวทนา ได้แก่ เวทนาขันธ์ เทศนาที่หยั่งลงนี้ ชื่อว่า โอตรณาด้วยขันธ์ทั้งหลาย ฯ
       เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทานเพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรามรณะ ชรามรณะทั้งปวงมีด้วยอาการอย่างนี้ เทศนาที่หยั่งลงนี้ชื่อว่า โอตรณาด้วยปฏิจจสมุปบาททั้งหลาย ฯ
       บรรดาเวทนาเหล่านั้น สุขเวทนาเป็นอินทรีย์ 2 คือ สุขินทรีย์และโสมนัสสินทรีย์ ทุกขเวทนาเป็นอินทรีย์ 2 คือ ทุกขินทรีย์และโทมนัสสินทรีย์เทสนาที่หยั่งลงนี้ ชื่อว่า โอตรณาด้วยอินทรีย์ทั้งหลาย ฯ อินทรีย์เหล่านั้นนั่นแหละหยั่งลงในสังขาร สังขารเหล่าใด มีอาสวะและเป็นองค์แห่งภพสังขารเหล่านั้นสงเคราะห์ด้วยธัมมธาตุ นี้ชื่อว่า โอตรณาด้วยธาตุทั้งหลาย ฯ
       ธัมมธาตุนั้นนับเนื่องในธัมมายตนะ อายตนะใด มีอาสวะเป็นองค์แห่งภพนี้ชื่อว่า โอตรณาด้วยอายตนะทั้งหลาย ฯ
       ข้อว่า "เพราะเหตุนั้นแล ผู้ใด ไม่มีสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รักในกาลไหน ๆ ผู้นั้นเป็นผู้มีความสุขปราศจากความโศก เพราะเหตุนั้น ผู้ปรารถนาความไม่โศก อันปราศจากกิเลสดุจธุลี ไม่พึงทำสัตว์หรือสังขารให้เป็นที่รักในกาลไหน ๆ" ดังนี้ ข้อนี้ เป็นการละตัณหา ฯ เพราะความดับแห่งตัณหาอุปาทานจึงดับ เพราะความดับแห่งอุปาทานภพจึงดับ ชรามรณะทั้งปวงย่อมดับด้วยอาการอย่างนี้ นี้ชื่อว่า โอตรณาด้วยปฏิจจสมุปบาททั้งหลาย ฯ
       การละตัณหานั้นนั่นแหละเป็นสมถะ สมถะนั้นเป็นอินทรีย์ 2 คือ สตินทรีย์และสมาธินทรีย์ นี้ชื่อว่า โอตรณาด้วยอินทรีย์ทั้งหลาย ฯ สมถะนั้นนั่นแหละเป็นสมาธิขันธ์ นี้ชื่อว่า โอตรณาด้วยขันธ์ทั้งหลาย ฯ สมถะนั้นนั่นแหละนับเนื่องในสังขาร สังขารเหล่าใด ไม่มีอาสวะและไม่เป็นองค์แห่งภพ สังขารเหล่านั้นสงเคราะห์ในธัมมธาตุ นี้ชื่อว่า โอตรณาด้วยธาตุทั้งหลาย ฯ
       ธัมมธาตุนั้น นับเนื่องในธัมมายตนะ อายตนะใด ไม่มีอาสวะและไม่เป็นองค์แห่งภพ นี้ชื่อว่า โอตรณาด้วยอายตนะทั้งหลาย ฯ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "เยเกจิ โสกา" เป็นต้น ฯ
       พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า"ถ้าว่าวัตถุกาม จะสำเร็จแก่สัตว์ผู้ปรารถนาอยู่ไซร้ สัตว์ปรารถนาสิ่งใดได้สิ่งนั้นแล้ว ก็ย่อมมีใจเอิบอิ่ม (ปีติมโน) แน่แท้ ฯ ถ้าเมื่อสัตว์นั้นปรารถนาอยู่ เกิดความอยากได้แล้ว กามเหล่านั้นย่อมเสื่อมไปไซร้ สัตว์นั้นย่อมย่อยยับเหมือนลูกศรแทง ฉะนั้น ฯ ผู้ใดงดเว้นกามทั้งหลายเหมือนอย่างบุคคลเว้นศีรษะงูด้วยเท้าของตน ผู้นั้นเป็นผู้มีสติ ย่อมก้าวล่วงตัณหาในโลกนี้ได้" ดังนี้ ฯ
       ในคาถาเหล่านั้น ความเป็นผู้มีใจเอิบอิ่มนี้ ได้แก่ ความยินดี ฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า"ในกาลใด สัตว์นั้นย่อมย่อยยับเหมือนลูกศรแทง" นี้เป็นปฏิฆะ ฯ
       ก็ความยินดีและปฏิฆะ เป็นฝ่ายแห่งตัณหา ก็แล อายตนะทั้งหลายมี 10 รูป เป็นปทัฏฐาน (เป็นเหตุใกล้) แห่งตัณหา นี้ชื่อว่า โอตรณาด้วยอายตนะทั้งหลาย ฯ
       อายตนะที่มีรูป 10 รูปเหล่านั้นนั่นแหละ เป็นรูปกาย ประกอบด้วยนามทั้ง 2 นั้น เรียกว่า นามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา พุทธวจนะนี้ทั้งปวงย่อมเป็นไปด้วยอาการอย่างนี้นี้ชื่อว่า โอตรณาด้วยปฏิจจสมุปบาททั้งปวง ฯ
       นามรูปนั้นนั่นแหละ เป็นธาตุ 18 นี้ชื่อว่า โอตรณาด้วยธาตุทั้งหลาย ฯ
       ในนามรูปนั้น รูปกายอันใด นี้เป็นอินทรีย์ที่เป็นรูป 5 นามกายอันใดนี้อินทรีย์ที่เป็นอรูป 5 อินทรีย์เหล่านี้ เป็น 10 อย่าง นี้ชื่อว่า โอตรณาด้วยอินทรีย์ทั้งหลาย ฯ
       ในคาถานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า"ในกาลใด ผู้ใด งดเว้นกามเหมือนอย่างบุคคลเว้นศีรษะงูด้วยเท้าของตน ผู้นั้น เป็นผู้มีสติ ย่อมก้าวล่วงตัณหาในโลกนี้ได้" ดังนี้คาถานี้ เป็นสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ เทศนาที่หยั่งลงนี้ ชื่อว่า โอตรณาด้วยธาตุทั้งหลาย ฯ
       สอุปาทิเสสนิพพานธาตุนั้นนั่นแหละ เป็นวิชชา เพราะความเกิดขึ้นแห่งวิชชา อวิชชาจึงดับ เพราะความดับแห่งอวิชชา สังขารจึงดับ คำทั้งปวง ย่อมเป็นไป ด้วยอาการอย่างนี้ นี้ชื่อว่า โอตรณาด้วยปฏิจจสมุปบาททั้งหลาย ฯ วิชชานั้นนั่นแหละเป็นปัญญาขันธ์ นี้ชื่อว่า โอตรณาด้วยขันธ์ทั้งหลาย ฯ
       วิชชานั้นนั่นแหละ เป็นอินทรีย์ 2 คือ วิริยินทรีย์และปัญญินทรีย์ นี้ชื่อว่าโอตรณาด้วยอินทรีย์ทั้งหลาย ฯ วิชชานั้นนั่นแหละ นับเนื่องในสังขาร สังขารเหล่าใด ไม่มีอาสวะและไม่มีองค์แห่งภพ สังขารเหล่านั้นสงเคราะห์ด้วยธัมมธาตุนี้ชื่อว่า โอตรณาด้วยธาตุทั้งหลาย ฯ
       ธัมมธาตุนั้น นับเนื่องในธัมมายตนะ อายตนะใดไม่มีอาสวะและไม่มีองค์แห่งภพ นี้ชื่อว่า โอตรณาด้วยอายตนะทั้งหลาย ฯ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "กามํ กามยมานสฺส" เป็นต้น ฯ
       ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ อินทรีย์ ขันธ์ ธาตุ และอายตนะ อาศัยการประชุมลงและการหยั่งลง พึงให้อินทรีย์ ขันธ์ ธาตุ และอายตนะอาศัยหยั่งลงอย่างนี้ ด้วยเหตุนั้นท่านพระมหากัจจายนะ จึงกล่าวว่า "โย จ ปฏิจฺจสมุปฺปาโท"เป็นต้น ฯ
       จบ โอตรณหารวิภังค์
       13. โสธนหารวิภังค์
[ค้นหา] [สารบัญ] <ก่อนนี้] [ถัดไป>
(ไม่สงวนลิขสิทธิ์)