นโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะสารบัญ: ห้วเรื่อง, เลขข้อ | ไฟล์เดียว: html, text | [ค้นหา] [สารบัญ] <ก่อนนี้] [ถัดไป> เนตติปกรณ์แปล : 14. อธิฏฐานหารวิภังค์ [46] บรรดาหาระ 16 นั้น หาระ คือ อธิฏฐานะเป็นไฉน คาถาว่า "เอกตฺตตาย ธมฺมา เยปิ จ เวมตฺตตาย นิทฺทิฏฺฐา" เป็นต้น เป็น อธิฏฐานหารวิภังค์ ธรรมเหล่าใด มีทุกขสัจจะเป็นต้น อันพระองค์ทรงแสดงแล้ว (โดยความเป็นอันเดียวกันและต่างกัน) ในธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น บัณฑิตพึงทรงไว้อย่างนั้น คือ ไม่พึงใคร่ครวญโดยประการอื่น ฯ คำว่า "ทุกฺขํ" ได้แก่ เอกัตตตา (ภาวะอย่างเดียวกัน) ฯ ในอรรถะทั้งหลายมีทุกข์เป็นต้นนั้น ทุกข์เป็นไฉน การเกิดเป็นทุกข์ (ชาติ ทุกฺขา) ความแก่เป็นทุกข์(ชรา ทุกฺขา) ความป่วยไข้เป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ การพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักเป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นเป็นทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์ รูปเป็นทุกข์ เวทนาเป็นทุกข์สัญญาเป็นทุกข์ สังขารเป็นทุกข์ วิญญาณเป็นทุกข์ ความแปลกกันแห่งทุกข์นั้น ๆ นี้ ชื่อว่า เวมัตตตา (ความต่างกัน) แห่งทุกข์ ฯ คำว่า "ทุกฺขสมุทโย" ได้แก่ เอกัตตตา คือ ความเสมอกันแห่งสมุทัย ฯ ในอรรถะแห่งทุกขสมุทัยนั้น ทุกขสมุทัยเป็นไฉน ตัณหานี้ใด อันเป็นเหตุเกิดในภพใหม่ ประกอบด้วยความยินดีและกำหนัด มีความเพลิดเพลินอยู่ในอารมณ์นั้น ๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ความต่างกันนี้ ชื่อว่า เวมัตตตา(แห่งสมุทัย) ฯ คำว่า "ทุกฺขนิโรโธ" ได้แก่ เอกัตตตา คือ ภาวะอย่างเดียวกันแห่งการดับ ฯในอรรถะนั้น ทุกขนิโรธเป็นไฉน ความสำรอก ความดับโดยไม่เหลือ ความสละความสละคืน ความพ้น ความไม่ติดอยู่ (ความไม่มีอาลัย) แห่งตัณหานั้นนั่นแหละภาวะนี้ ชื่อว่า เวมัตตตา ฯ คำว่า "ทุกฺขนิโรธคามินี ปฏิปทา" ได้แก่ เอกัตตตา คือ ภาวะอย่างเดียวกัน แห่งปฏิปทาที่ถึงความดับทุกข์ ฯ ในอรรถะนั้น ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทาเป็นไฉน อริยมรรคมีองค์ 8 นี้เท่านั้น สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ นี้ ชื่อว่า เวมัตตตา ฯ คำว่า "มคฺโค" ได้แก่ เอกัตตตา คือ ภาวะอย่างเดียวกันแห่งมรรค ชื่อเอกัตตตา ฯ ในอรรถะแห่งมรรคนั้น มรรคเป็นไฉน มรรค (หนทาง) อันยังสัตว์ให้ถึงนรก มรรคอันยังสัตว์ให้ถึงกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน มรรคอันยังสัตว์ให้ถึงเปตวิสัย มรรคอันยังสัตว์ให้ถึงกำเนิดอสูร มรรคอันยังสัตว์ให้ถึงสวรรค์ มรรคอันยังสัตว์ให้ถึงความเป็นมนุษย์ มรรคอันยังสัตว์ให้ถึงนิพพาน มรรคนี้ ชื่อว่าเวมัตตตา ฯ คำว่า "นิโรโธ" ได้แก่ เอกัตตตา คือ ความเสมอกันแห่งความดับ ชื่อว่าเอกัตตตา ฯ ในอรรถะแห่งนิโรธะนั้น นิโรธะเป็นไฉน ความดับ (นิโรธะ) โดยพิจารณา (เจริญธรรมตรงกันข้าม) ความดับโดยไม่พิจารณา (ธณิกนิโรธะ) ความดับความยินดี ความดับปฏิฆะ ความดับมานะ ความดับมักขะ (ความลบหลู่)ความดับปฬาสะ (ความขึ้งเคียด) ความดับอิสสา ความดับมัจฉริยะ ความดับกิเลสทั้งปวง ความดับต่างกันนี้ ชื่อว่า เวมัตตตา ฯ คำว่า "รูปํ" ได้แก่ เอกัตตตา คือ ความที่รูปเสมอกันโดยไม่เพ่งรูปที่ต่างกันชื่อว่า เอกัตตตา ฯ ในอรรถะแห่งรูปนั้น รูปเป็นไฉน รูปที่เป็นมหาภูตะมี 4 การเรียกรูปอาศัยมหาภูตะ 4 (มี 24) ความต่างกัน นี้ชื่อว่า เวมัตตตา แห่งรูป ฯ บรรดารูปเหล่านั้น มหาภูตะ 4 เป็นไฉน ปถวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ นี้เรียกว่า มหาภูตะ 4 ฯ [47] บัณฑิต ย่อมกำหนดธาตุทั้งหลาย โดยอาการ 2 อย่าง คือ โดยสังเขปและโดยพิสดาร ฯ บัณฑิต ย่อมกำหนดธาตุทั้งหลายโดยพิสดารอย่างไร ย่อมกำหนดปถวีธาตุโดยพิสดารด้วยอาการทั้งหลาย 20 อย่าง ย่อมกำหนดอาโปธาตุโดยพิสดารด้วยอาการทั้งหลาย 12 อย่าง ย่อมกำหนดเตโชธาตุโดยพิสดารด้วยอาการทั้งหลาย 4 อย่าง ย่อมกำหนดวาโยธาตุโดยพิสดารด้วยอาการทั้งหลาย 6 อย่าง ฯ ย่อมกำหนดปถวีธาตุโดยพิสดารด้วยอาการ 20 เป็นไฉน ย่อมกำหนดรู้ปถวีธาตุโดยอาการ 20 เหล่านี้ คือ ในกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็นกระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อยอาหารใหม่ อาหารเก่า มันสมองในศีรษะ ดังนี้ ฯ ย่อมกำหนดอาโปธาตุโดยพิสดารด้วยอาการ 12 เป็นไฉน ย่อมกำหนดรู้อาโปธาตุด้วยอาการ 12 เหล่านี้ คือ ในกายนี้มี น้ำดี เสมหะ น้ำเหลือง โลหิตเหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ น้ำมูตร ดังนี้ ฯ ย่อมกำหนดเตโชธาตุโดยพิสดารด้วยอาการ 4 เป็นไฉน ย่อมกำหนดรู้เตโชธาตุ ด้วยอาการ 4 เหล่านี้ คือ กายนี้ ย่อมเร่าร้อน ด้วยเตโชธาตุอันใดที่กำเริบแล้ว กายนี้ ย่อมคร่ำคร่าด้วยเตโชธาตุอันใด ที่ให้ถึงความบกพร่องแห่งอินทรีย์ กายนี้ ย่อมแผดเผา ด้วยเตโชธาตุอันใด ที่ทำให้คร่ำครวญว่า เราร้อน ฯ ของที่กินแล้ว ที่ดื่มแล้ว ที่เคี้ยวแล้ว ที่ลิ้มแล้ว ย่อมถึงการแปรเปลี่ยนไป(ย่อย) ด้วยเตโชธาตุอันใด เตโชธาตุทั้ง 4 นั้น มีอยู่ในกายนี้ ดังนี้ ฯ ย่อมกำหนดวาโยธาตุโดยพิสดารด้วยอาการ 6 เป็นไฉน ย่อมกำหนดรู้วาโยธาตุ ด้วยอาการ 6 เหล่านี้ว่า ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้องลมในสำไส้ใหญ่น้อย ลมแล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ (ทำให้เหยียดคู้เป็นต้น)ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ดังนี้ ฯ พระโยคาวจร พิจารณารูปพระโยคาวจร ผู้เข้าไปหมายรู้อยู่ ชั่งอยู่ ใคร่ครวญอยู่ หยั่งลงอยู่พิจารณาอยู่ ซึ่งธาตุทั้งหลายโดยสภาวะโดยพิสดาร ด้วยอาการ 42 เหล่านี้อย่างนี้ ย่อมไม่เห็นกาย หรือส่วนแห่งกายอะไร ๆ ที่ควรถือเอา เมื่อบุคคลใคร่ครวญอยู่ซึ่งบ่อน้ำครำ ไม่พึงเห็นอะไร ๆ ที่ควรถือเอา ฉันใด เมื่อบุคคลใคร่ครวญอยู่ซึ่งกองอยากเยื่อ ไม่พึงเห็นอะไร ๆ ที่พึงถือเอา ฉันใด เมื่อบุคคลใคร่ครวญอยู่ ซึ่งกระท่อมที่ถ่ายอุจจาระ ไม่พึงเห็นอะไร ๆ ที่พึงถือเอา ฉันใดเมื่อบุคคลใคร่ครวญอยู่ซึ่งป่าช้า (ศพ) ไม่พึงเห็นอะไร ๆ ที่ควรถือเอา ฉันใดพระโยคาวจร ผู้เข้าไปหมายรู้อยู่ ชั่งอยู่ ใคร่ครวญอยู่ หยั่งลงอยู่ พิจารณาอยู่ซึ่งธาตุทั้งหลายโดยสภาวะโดยพิสดาร ด้วยอาการ 42 เหล่านี้ ย่อมไม่เห็นกาย หรือ ส่วนแห่งกายอะไร ๆ ที่ควรถือเอา ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า"ก็ปถวีธาตุทั้งภายใน ทั้งภายนอกเหล่านี้แล ปถวีธาตุนั้นสักว่าเป็นปถวีธาตุเท่านั้น พึงเห็นรูปทั้งปวงนั้นตามเป็นจริง ด้วยสัมมัปปัญญาอย่างนี้ว่า รูปนั้น ไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเราครั้นเห็นรูปทั้งปวงนั้น ตามความเป็นจริง ด้วยสัมมัปปัญญาอย่างนี้แล้วย่อมเบื่อหน่ายในปถวีธาตุ จิตย่อมคลายกำหนัดในปถวีธาตุ ฯ ก็อาโปธาตุทั้งภายใน ทั้งภายนอก ฯลฯ ก็เตโชธาตุ ทั้งภายใน ทั้งภายนอก ฯลฯ ก็วาโยธาตุ ทั้งภายใน ทั้งภายนอก วาโยธาตุนั้น สักว่าเป็นวาโยธาตุเท่านั้นพึงเห็นรูปทั้งปวงนั้น ตามเป็นจริง ด้วยสัมมัปปัญญาอย่างนี้ว่า รูปนั้นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นรูปนั้น ตามความเป็นจริงด้วยสัมมัปปัญญา อย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายวาโยธาตุจิตย่อมคลายกำหนัดในวาโยธาตุ" ความต่างกันแห่งรูปนั้น ชื่อว่า เวมัตตตาแห่งรูป ฯ [48] คำว่า "อวิชฺชา" ชื่อว่า เอกัตตตา (ความมีภาวะอย่างเดียว) ฯ บรรดาอกุศลธรรมเหล่านั้น อวิชชาเป็นไฉน ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในขันธ์ อายตนะ ธาตุอันเป็นส่วนเบื้องต้น (อดีตอัทธา) ความไม่รู้ในขันธ์ อายตนะ ธาตุอันส่วนเบื้องปลาย (อนาคตอัทธา) ความไม่รู้ทั้งส่วนเบื้องต้น ทั้งส่วนเบื้องปลาย ความไม่รู้ในธรรมอันอาศัยกันเกิดขึ้น คือ เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ความไม่รู้ ความไม่เห็นความไม่ตรัสรู้ ความไม่ตรัสรู้ตาม ความไม่รู้ตามเป็นจริง ความไม่แทงตลอดความไม่พิจารณา การไม่เข้าไปกำหนด การไม่เข้าไปกำหนดเฉพาะภาวะ การไม่เข้าไปเพ่งพินิจ การไม่กระทำให้ประจักษ์ ความทรามปัญญา ความโง่เขลาความไม่รู้ชัด ความหลง ความลุ่มหลง ความหลงใหล อวิชชา โอฆะคืออวิชชาโยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้ ชื่อว่า เวมัตตตา แห่งอวิชชา ฯ คำว่า "วิชฺชา" ชื่อว่า เอกัตตตา (ความมีภาวะอย่างเดียว) ฯ บรรดากุศลธรรมเหล่านั้น วิชชาเป็นไฉน ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความรู้ในส่วนอดีต ความรู้ในส่วนอนาคต ความรู้ทั้งในส่วนอดีตทั้งในส่วนอนาคต ความรู้ในธรรมทั้งหลายอันเป็นอิทัปปัจจยตาและปฏิจจสมุปบาท ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ธัมมวิจยะ การกำหนดโดยชอบ การเข้าไปกำหนด การเข้าไปกำหนดเฉพาะภาวะ ภาวะที่รู้ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญปัญญาดังแผ่นดิน (ภูริ) ปัญญากำจัดกิเลส (เมธา) ปัญญาเป็นเครื่องนำไป วิปัสสนาความรู้ชัด ปัญญาเป็นเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท แสงสว่างคือปัญญา ความรุ่งเรืองคือปัญญาปัญญาดังดวงแก้ว อโมหะ ธัมมวิจยะ สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ องค์(การณะ) แห่งอริยมรรค (มคฺคงฺคํ) การหยั่งลงในอริยมรรค (มคฺคปริยาปนฺนํ)นี้ชื่อว่า เวมัตตตา แห่งวิชชา ฯ คำว่า "สมาปตฺติ" ชื่อว่า เอกัตตตา ฯ ในอรรถะแห่งสมาบัตินั้น สมาบัติเป็นไฉน สัญญาสมาบัติ (การเข้าฌาณประกอบด้วยสัญญา) อสัญญาสมาบัติ (คือสมาบัติที่เกิดขึ้นเพื่อสงบระงับสัญญา หรือสัญญาวิราคะ) เนวสัญญานาสัญญาสมาบัติ วิภูตสัญญาสมาบัติ (คือวิญญาณัญจายตนสมาบัติ) นิโรธสมาบัติสมาบัติที่ต่างกันนี้ ชื่อว่า เวมัตตตา ฯ คำว่า "ฌายี" คือ ฌาณลาภี ชื่อว่า เอกัตตตา ฯ ในอรรถะแห่งฌายีนั้น ฌายีเป็นไฉน พระเสกขะผู้มีปกติเพ่ง (ฌายี) มีอยู่ พระอเสกขะ ผู้มีปกติเพ่งมีอยู่ เนวเสกขนาเสกขบุคคล ผู้มีปกติเพ่งมีอยู่ อาชานิยบุคคล (พระอรหันต์) ผู้มีปกติเพ่งมีอยู่ บุคคลเปรียบด้วยม้ามีฝีเท้าเลว มีปกติเพ่งมีอยู่ บุคคลผู้ยิ่งด้วยทิฏฐิมีปกติเพ่ง บุคคลผู้่ยิ่งด้วยตัณหา มีปกติเพ่ง บุคคลผู้ยิ่งด้วยปัญญา มีปกติเพ่ง(ด้วยลักขณูปนิชฌาณ) มีอยู่ ฌายีที่ต่างกันนี้ ชื่อว่า เวมัตตตา ฯ คำว่า "สมาธิ" คือ เอกัคคตา ชื่อว่า เอกัตตตา ฯ ในอรรถะแห่งสมาธินั้น สมาธิเป็นไฉน สรณสมาธิ (คือ เอกัคคตาในอกุศลจิต) อรณสมาธิ (คือ สมาธิที่เป็นกุศลและอัพยากตะ) สเวรสมาธิ (คือ เอกัคคตาในปฏิฆจิต) อเวรสมาธิ (คือ เมตตาเจโตวิมุตติ) สัพยาปัชชสมาธิ (คือ เอกัคคาในปฏิฆจิต) อัพยาปัชชสมาธิ (คือเมตตาเจโตวิมุตติ) สัปปีติกสมาธิ นิปปีติกสมาธิ สามิสสมาธิ (คือ โลกียสมาธิ)นิรามิสสมาธิ (คือ โลกุตตรสมาธิ) สสังขารสมาธิ (สมาธิข่มกิเลสได้ยาก คือทุกขาปฏิปโท ทันธาภิญโญสมาธิ และสุขาปฏิปโท ทันธาภิญโญสมาธิ) อสังขารสมาธิ (คือ นอกจากสสังขารสมาธินั้น) เอกังสภาวิตสมาธิ (สมาธิของสุกขวิปัสสกะ)อุภยังสภาวิตสมาธิ (คือ สมาธิของสมถยานิก) อุภยโย ภาวิตภาวโนสมาธิ (คือสมาธิของกายสักขีผู้หลุดพ้นโดยส่วนทั้งสอง) สวิตักกสวิจารสมาธิ อวิตักกวิจารมัตตสมาธิ อวิตักกอวิจารสมาธิ หานภาคิยสมาธิ (คือ สมาธิอันเป็นไปในส่วนที่เสื่อม) ฐิติภาคิยสมาธิ (คือ สมาธิอันเป็นส่วนแห่งการตั้งอยู่) วิเสสภาคิยสมาธิ (คือสมาธิอันเป็นส่วนวิเศษ) นิพเพธภาคิยสมาธิ (คือ สมาธิอันเป็นส่วนแห่งการแทงตลอด) โลกียสมาธิ โลกุตตรสมาธิ มิจฉาสมาธิ สัมมาสมาธิ นี้ ชื่อว่าเวมัตตตา แห่งสมาธิ ฯ คำว่า "ปฏิปทา" คือ ข้อปฏิบัติ ชื่อว่า เอกัตตตา ฯ ในอรรถะแห่งปฏิปทานั้น ปฏิปทาเป็นไฉน อาคาฬหปฏิปทา (คือ ปฏิปทาในการประกอบเนือง ๆ ในกามสุข) นิชฌามปฏิปทา (คือ ปฏิปทาในอัตตกิลมถานุโยค) มัชฌิมปฏิปทา อขมาปฏิปทา (ไม่อดทนในการทำความเพียร) ขมาปฏิปทา สมาปฏิปทา (คือ ให้มิจฉาวิตกสงบ)ปฏิปทาที่ฝึกมนินทรีย์ ทุกขาปฏิปทาที่รู้ได้ช้า ทุกขาปฏิปทาที่รู้ได้เร็ว สุขาปฏิปทาที่รู้ได้ช้า สุขาปฏิปทาที่รู้ได้เร็ว ปฏิปทานี้ ชื่อว่า เวมัตตตา ฯ คำว่า "กาโย" คือ กาย ชื่อว่า เอกัตตตา ฯ ในอรรถะแห่งกายนั้น กายเป็นไฉน นามกาย และ รูปกาย ในนามกายและรูปกายทั้ง 2 นั้น รูปกายเป็นไฉน เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ มังสัง นหารู อัฏฐี อัฏฐิมิญชัง วักกัง หทยังยกนัง กิโลมกัง ปิหกัง บัปผาสัง อันตัง อันตคุณัง อุทริยัง กรีสัง ปิตตัง เสมหังปุพโพ โลหิตัง เสโท เมโท อัสสุ วสา เขโฬ สิงฆานิกา ลสิกา มุตตัง มัตถลุงคังนี้ ชื่อว่า รูปกาย ฯ นามกาย คือ นาม เวทนา สัญญา เจตนา จิต ผัสสะ มนสิการกายทั้ง 2 นี้ ชื่อว่า เวมัตตตาแห่งกาย ฯ โดยนัยตามที่กล่าวแล้วนี้ ธรรมใด (มีชาติเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง) มีภาวะเสมอแก่ธรรมใด (คือ มีภาวะเสมอแก่ชราเป็นต้น) ธรรมนั้น ชื่อว่า เอกี(มีภาวะอย่างเดียวโดยเป็นทุกข์เป็นต้น) เพราะความที่ธรรมนั้นมีความเป็นไปได้อย่างเดียว (ภาวะนี้เรียกว่า เอกัตตตา) ฯ ก็หรือว่า ธรรมใด แปลกไปด้วยภาวะใด ๆ ธรรมนั้น ย่อมถึงความต่างกันด้วยภาวะนั้น ๆ (นี้ เรียกว่า เวมัตตตา) ฯ ด้วยอาการอย่างนี้ อันบุคคลผู้ถาม พึงพิจารณาในพระสูตร หรือในไวยากรณ์หรือในคาถาก่อน บุคคลย่อมถามอะไรโดยเอกัตตตา หรือ โดยเวมัตตตา ฯ ถ้าถามโดยเป็นเอกัตตตา ก็พึงตอบโดยเอกัตตตา ถ้าถามโดยเวมัตตตา ก็พึงตอบโดยเวมัตตตา ฯ ถ้าถามโดยสัตตาธิฏฐาน ก็พึงตอบโดยสัตตาธิฏฐานถ้าถามโดยธัมมาธิฏฐาน ก็พึงตอบโดยธัมมาธิฏฐาน หรือถามโดยประการใด ๆก็พึงตอบโดยประการนั้น ๆ เพราะเหตุนั้น ท่านพระมหากัจจายะจึงกล่าวว่า"ธรรมทั้งหลาย โดยที่ทรงแสดงแล้ว โดยความเป็นอย่างเดียวกัน"เป็นต้น ฯ จบ อธิฏฐานหารวิภังค์ 15. ปริกขารหารวิภังค์ |