นโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
สารบัญ: ห้วเรื่อง, เลขข้อ | ไฟล์เดียว: html, text | [ค้นหา] [สารบัญ] <ก่อนนี้] [ถัดไป>

เนตติปกรณ์แปล : ติปุกขลนัย

       
       [88] ในบุคคล 4 เหล่านั้น บุคคลเหล่าใด ย่อมออกไปด้วยการปฏิบัติลำบากรู้ช้า และการปฏิบัติลำบาก รู้เร็ว บุคคลทั้ง 2 เหล่านี้ มีอยู่ บุคคลเหล่าใดย่อมออกไปด้วยการปฏิบัติสบาย รู้ช้า และปฏิบัติสบาย รู้เร็ว บุคคลทั้ง 2 เหล่านี้มีอยู่ ฯ บุคคลทั้ง 4 เหล่านั้น มีสังกิเลสนี้คือ อาหาร 4 วิปลาส 4 อุปาทาน 4โยคะ 4 คันถะ 4 อาสวะ 4 โอฆะ 4 ลูกศร 4 วิญญาณฐิติ 4 และการถึงอคติ 4 ฯ
       บุคคล 4 เหล่านั้น มีโวทานนี้ คือ ปฏิปทา 4 สติปัฏฐาน 4 ฌาน 4วิหารธรรม 4 สัมมัปปธาน 4 อัจฉริยอัพภูตธรรม 4 อธิฏฐาน 4 สมาธิภาวนา 4 สุขภาคิยธรรม 4 และอัปปมัญญา 4 ฯ
       ในบุคคล 4 เหล่านั้น บุคคลเหล่าใด ย่อมออกไป ด้วยการปฏิบัติลำบากรู้ช้า และปฏิบัติลำบาก รู้เร็ว บุคคลทั้ง 2 เหล่านี้ ฯ และบุคคลเหล่าใด ย่อมออกไปด้วยการปฏิบัติสบาย รู้ช้า และปฏิบัติสบาย รู้เร็ว บุคคลทั้ง 2 เหล่านี้ ฯ
       ในบุคคล 4 เหล่านั้น บุคคลใด ย่อมออกไปด้วยการปฏิบัติสบาย รู้เร็ว บุคคลนี้เป็นอุคฆฏิตัญญู ฯ บุคคลใดย่อมออกไปด้วยการปฏิบัติอันเป็นสาธารณะ คือปฏิบัติลำบาก รู้เร็ว และปฏิบัติสบาย รู้ช้า บุคคลนี้เป็นวิปัญจิตัญญู ฯ บุคคลย่อมออกไป ด้วยการปฏิบัติลำบาก รู้ช้า บุคคลนี้เป็นเนยยะ ฯ
       ในบุคคล 3 เหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงแนะนำ สมถะแก่บุคคลผู้อุคฆฏิตัญญู ย่อมทรงแสดงวิปัสสนาแก่เนยยบุคคล ย่อมทรงชี้แจงสมถะและวิปัสสนาแก่วิปัญจิตัญญูบุคคล ฯ ในบุคคลทั้ง 3 นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงแสดงธรรมน้อยแก่อุคฆฏิตัญญูบุคคล ย่อมแสดงธรรมมากแก่เนยยบุคคล ย่อมแสดงธรรมไม่น้อยไม่มากแก่วิปัญจิตัญญูบุคคล ฯ ในบุคคลทั้ง 3 นั้น ย่อมทรงแนะนำการสลัดออกแก่อุคฆฏิตัญญูบุคคล ย่อมทรงชี้แจงถึงโทษ และการสลัดออกแก่วิปัญจิตัญญูบุคคล ย่อมแสดงอัสสาทะ (ความยินดี)อาทีนวะ (โทษ) และการสลัดออกแก่เนยยบุคคล ฯ ในบุคคลทั้ง 3 นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงประกาศ อธิปัญญาสิกขาแก่อุคฆฏิตัญญูบุคคลย่อมทรงประกาศอธิจิตตสิกขาแก่วิปัญจิตัญญูบุคคล ย่อมทรงประกาศอธิศีลสิกขาแก่เนยยบุคคล ฯ
       ในบุคคล 4 เหล่านั้น บุคคลเหล่าใด ย่อมออกไปด้วยทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาและทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา บุคคล 2 เหล่านี้ และบุคคลเหล่าใดย่อมออกไปด้วยสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา และสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา บุคคล 2 เหล่านี้ รวมเป็นบุคคล 4 พวกนี้แล ย่อมเป็นบุคคล 3 คือ อุคฆฏิตัญญูวิปัญจิตัญญและเนยยบุคคล ฉะนี้ ฯ
       เครื่องเศร้าหมองของบุคคล 3 พวกบุคคล 3 พวกเหล่านั้น มีสังกิเลสนี้ คืออกุศลมูล 3 คือ โลภอกุศลมูล โทสอกุศลมูล โมหอกุศลมูลทุจริต 3 คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตอกุศลวิตก 3 คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตกอกุศลสัญญา 3 คือ กามสัญญา พยาบาทสัญญา วิหิงสาสัญญาวิปริตสัญญา 3 คือ นิจจสัญญา สุขสัญญา อัตตสัญญาเวทนา 3 คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนาทุกขตา 3 คือ ทุกขทุกขตา สังขารทุกขตา วิปริณามทุกขตาอัคคิ 3 คือ ไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะลูกศร 3 คือ ลูกศรคือราคะ ลูกศรคือโทสะ ลูกศรคือโมหะชัฏ (ชฏา) 3 คือ ชัฏคือราคะ ชัฏคือโทสะ ชัฏคือโมหะอกุสลูปปริกขา 3 คือ อกุศลกายกรรม อกุศลวจีกรรม อกุศลมโนกรรมวิบัติ 3 คือ ศีลวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ อาจารวิบัติ ฯ
       ความผ่องแผ้วของบุคคล 3 พวกบุคคล 3 พวกเหล่านั้น มีโวทาน (ความผ่องแผ้ว) นี้ คือ กุศลมูล 3 คืออโลภะ อโทสะ อโมหะสุจริต 3 คือ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริตกุศลวิตก 3 คือ เนกขัมมวิตก อัพยาปาทวิตก อวิหิงสาวิตกสมาธิ 3 คือ สวิตักกสวิจารสมาธิ อวิตักกวิจารมัตตสมาธิ อวิตักกอวิจารสมาธิ
       กุศลสัญญา 3 คือ เนกขัมมสัญญา อัพยาปาทสัญญา อวิหิงสาสัญญาสัญญาไม่วิปริต 3 คือ อนิจจสัญญา ทุกขสัญญา อนัตตสัญญาการตรวจสอบกุศล (กุสลูปปริกฺขา) 3 คือ กายกรรมอันเป็นกุศล วจีกรรมอันเป็นกุศล มโนกรรมอันเป็นกุศลความสะอาด 3 คือ ความสะอาดกาย ความสะอาดวาจา ความสะอาดใจสมบัติ 3 คือ ศีลสมบัติ สมาธิสมบัติ ปัญญาสมบัติสิกขา 3 คือ อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขาขันธ์ 3 คือ ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์วิโมกขมุข 3 คือ สุญญตะ อนิมิตตะ อัปปณิหิตะ ฯ
       บุคคลเป็น 4 พวก ด้วยอำนาจแห่งปฏิปทา 4 เป็น 3 พวกด้วยอำนาจแห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ และเป็น 2 พวก คือ บุคคลผู้ตัณหาจริต และบุคคลผู้ทิฏฐิจริต ฉะนี้แล ฯ
       เครื่องเศร้าหมองของบุคคล 2 พวกบุคคล 2 พวกเหล่านั้น มีสังกิเลส นี้ คือ ตัณหา อวิชชา อหิริกะ อโนตตัปปะไม่มีสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มนสิการโดยไม่แยบคาย ความเกียจคร้าน ความเป็นคนว่ายาก (ดื้อรั้น) อหังการ (การถือตัว) มมังการ (ความเห็นแก่ตัว)ไม่มีศรัทธา ประมาท ไม่ฟังพระสัทธรรม ไม่สังวร มีอภิชฌา มีพยาบาทมีนิวรณ์ มีสังโยชน์ มีความโกรธ มีความผูกโกรธ มีความลบหลู่มีการตีเสมอ มีริษยา ความตระหนี่ มีมายา มีความโอ้อวด มีความเห็นว่าเที่ยงและมีความเห็นว่าขาดสูญ ฯ
       ความผ่องแผ้วของบุคคล 2 พวกบุคคล 2 พวกเหล่านั้น มีโวทาน คือ ความผ่องแผ้วนี้ คือ มีสมถะวิปัสสนา มีิหิริ โอตตัปปะ สติ สัมปชัญญะ มนสิการโดยแยบคาย ปรารภความเพียร มีความเป็นผู้ว่าง่าย ธัมมญาณ (ญาณในปรมัตถ์) อันวยญาณ(อนุโลมญาณ) ขยญาณ อนุปาทญาณ (ญาณในความไม่เกิด) มีศรัทธา มีความไม่ประมาท มีการฟังพระสัทธรรม มีสังวร ไม่มีอภิชฌา ไม่มีพยาบาทเป็นเจโตวิมุตติเพราะสำรอกราคะ เป็นปัญญาวิมุตติเพราะสำรอกอวิชชา มีการตรัสรู้ มีความปรารถนาน้อย มีความสันโดษ มีความไม่โกรธ มีความไม่ผูกโกรธ มีความไม่ลบหลู่ มีความไม่ตีเสมอ ละความริษยา ละความตระหนี่ มีวิชชา มีวิมุตติ มีวิโมกข์อันเป็นสังขตะอารมณ์ มีวิโมกข์อันเป็นอสังขตะอารมณ์มีนิพพานธาตุที่มีวิบากอันเหลืออยู่ และมีอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ฯ
       นัยนี้ บัณฑิตเรียกว่า ภูมิแห่งติปุกขลมัย และอังกุสนัย ฉะนี้ เพราะเหตุนั้นท่านพระมหากัจจายนะ จึงกล่าวว่า "บุคคลใด ย่อมนำไปซึ่งอกุศลทั้งหลายโดยมูลทั้งหลาย ด้วยกุศลมูล" และ "ด้วยการดูแล้วพิจารณาดูทิศ" ดังนี้ เป็นต้น ฯ
       จบ นยสมุฏฐาน
       +สาสนปัฏฐาน
[ค้นหา] [สารบัญ] <ก่อนนี้] [ถัดไป>
(ไม่สงวนลิขสิทธิ์)