นโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะสารบัญ: ห้วเรื่อง, เลขข้อ | ไฟล์เดียว: html, text | [ค้นหา] [สารบัญ] <ก่อนนี้] [ถัดไป> เนตติปกรณ์แปล : 2. วิจยหารวิภังค์ [ 15 ] ประโยชน์เหล่านั้นมีปัญหา 3 ข้อ. เพราะเหตุไรจึงมีปัญหา 3 ข้อ ? เพราะประกอบคำถาม (ตั้งคำถาม) เกี่ยวกับเสกขบุคคล อเสกขบุคคล และการละกิเลสที่มีวิปัสสนานำหน้า ดังคำที่พระอชิตะกล่าวไว้เช่นนั้น ท่านถามถึงความเป็นอรหันตบุคคลด้วยคำว่า “เย จ สงฺขาตธมฺมา เส (บุคคลที่มีธรรมอันพิจารณาแล้วโดยความไม่เที่ยงเป็นต้น)”. ถามถึงเสกขบุคคลด้วยคำว่า “เย จ เสกฺขา ปุถู อิธ (และบุคคลที่ยังต้องศึกษาศีลสิกขาเป็นต้น)”. ถามถึงการละกิเลสที่มีวิปัสสนานำหน้าด้วยคำว่า “เตสํ เม นิปโก อิริยํ, ปุฏฺโฐ ปพฺรูหิ มาริส (พระองค์ผู้เป็นบัณฑิตอันข้าพระองค์ถามแล้ว ขอจงตรัสบอกข้อปฏิบัติของบุคคลเหล่านั้นแก่ข้าพระองค์)”. คำวิสัชนาในปัญหา 3 ข้อนั้น พึงทราบดังนี้ :- พระผู้มีพระภาคตรัสว่า (ดูก่อนอชิตะ) เสกขบุคคลไม่พึงติดในวัตถุกามทั้งหลาย, พึงเป็นผู้มีใจไม่มัวหมอง (ด้วยกิเลส), อเสกขบุคคลผู้ฉลาดในธรรมทั้งปวง มีสติสมบูรณ์ พึงเป็นผู้ถึงภาวะอันประเสริฐดำรงอยู่ 2 2 ขุ. สุ. 25/1046/532, ขุ. จูฬ. 30/8/38 กายกรรมทั้งปวง, วจีกรรมทั้งปวง, มโนกรรมทั้งปวงของพระผู้มีพระภาค มีญาณนำหน้า คล้อยตามญาณ ทรงมีญาณทัสสนะ (การเห็นด้วยญาณ) ที่ไม่ติดขัดในส่วนอดีต อนาคต และ ปัจจุบัน ก็ความขัดข้องแห่งญาณทัสสนะจะมีในอารมณ์ไรเล่า ? ความไม่รู้ไม่เห็นในอนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา เป็นความขัดข้องแห่งญาณทัสสนะ เปรียบเหมือนคนในโลกนี้ เห็นดวงดาวทั้งหลายได้ แต่ไม่สามารถนับดวงดาวเหล่านั้นได้. นี้เป็นความขัดข้องแห่งญาณทัสสนะ. ส่วนพระผู้มีพระภาคทรงมีญาณทัสสนะอันไม่ติดขัด. แท้จริงพระพุทธเจ้าผู้มีบุญญาธิการทั้งหลาย ทรงมีญาณทัสสนะอันไม่ขัดข้อง. ในบรรดาเสกบุคคล และอเสกขบุคคลเหล่านั้น เสกขบุคคลพึงรักษาจิตในธรรม 2 อย่าง คือ รักษาจิตไม่ให้ติดในอารมณ์ที่น่ายินดี และไม่ให้ขัดเคืองในอาฆาตวัตถุที่ชวนประทุษร้าย. ในบรรดาความยินดีและความขัดเคืองเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเมื่อจะทรงห้ามความอยากได้ ความลุ่มหลง ความปรารถนา ความรักใคร่ ความสนุกสนาน จึงตรัสอย่างนี้ว่า “กาเมสุนาภิคิชเฌยฺย (ไม่พึงติดในวัตถุกามทั้งหลาย)”. พระองค์ตรัสการทำลายปริยุฏฐานกิเลสด้วยคำว่า “มนสานาวิโล สิยา (พึงเป็นผู้มีใจไม่มัวหมอง)”. จริงอย่างนั้น เสกขบุคคลเมื่อติด (ในอารมณ์ที่น่ายินดี) ย่อมก่อกิเลสที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น และทำกิเลสที่เกิดแล้วให้เจริญขึ้น. ส่วนเสกขบุคคลใดมีความดำริที่สะอาดหมดจด ไม่ติด (ในอารมณ์ที่น่ายินดี) ย่อมขวนขวาย. (ขวนขวายอย่างไร ? ). เสกขบุคคลนั้นยังกุศลฉันทะให้เกิดขึ้น ขวนขวาย เพียรพยายาม ประคองจิต รักษาจิต เพื่อไม้ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดนั้นเกิดขึ้น. เสกขบุคคลนั้นยังกุศลฉันทะให้เกิด ขวนขวาย เพียรพยายาม ประคองจิต รักษาจิต เพื่อให้กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วตั้งมั่น ไม่เสื่อมสูญ เพิ่มพูน แผ่ขยาย เจริญงอกงาม บริบูรณ์ |