นโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะสารบัญ: ห้วเรื่อง, เลขข้อ | ไฟล์เดียว: html, text | [ค้นหา] [สารบัญ] <ก่อนนี้] [ถัดไป> เนตติปกรณ์แปล : 2. วิจยหารวิภังค์ [ 17 ] ในคำว่า “กุสโล สพฺพธมฺมานํ (อเสกขบุคคลเป็นผู้ฉลาดในธรรมทั้งปวง)” นี้ชื่อว่า โลก มี 3 อย่าง คือ กิเลสโลก, ภวโลก และ อินทรีย์โลก. ในบรรดาโลก 3 อย่างนั้น ภวโลกเกิดขึ้นมาด้วยกิเลสโลก. บุคคลผู้ตั้งอยู่ในมหัคคตธรรมนั้นย่อมยังอินทรีย์ มีสัทธา เป็นต้นให้เกิดขึ้น. เมื่อผู้นั้นเจริญอินทรีย์ มี สัทธา เป็นต้นแล้ว ย่อมมีการกำหนดรู้ธรรมที่ควรรู้. ปริญญา (การกำหนดรู้) นั้น ควรพิจารณาโดย 2 ประการ คือ ทัสสนปริญญา (ญาตปริญญา) และ ภาวนาปริญญา (ตีรณปริญญา). ขยายความว่าในเวลาที่เสกขบุคคลกำหนดธรรมที่ควรรู้นั้น ธรรมที่ควรรู้ก็เป็นอันกำหนดรู้แล้วด้วยสัญญามนสิการ อันเป็นไปพร้อมด้วยความเบื่อหน่าย. เสกขบุคคลนั้นย่อมได้รับวิปัสสนาธรรม 2 อย่าง ที่ถึงความฉลาด ซึ่งเป็นทัสสนโกสัลละ กล่าวคือ ปฐมมรรคญาณ และเป็นภาวนาโกสัลละ กล่าวคือ มรรคญาณเบื้องบน. พึงทราบว่าญาณนั้นมี 5 ประการ คือ อภิญญา ปริญญา ปหาน ภาวนา และ สัจฉิกิริยา. ในบรรดาญาณเหล่านั้น อภิญญาเป็นไฉน ? ญาณในการกำหนดรู้ลักษณะของธรรมทั้งหลาย คือ ธรรมปฏิสัมภิทา และ อรรถปฏิสัมภิทา ชื่อว่า อภิญญา. ในบรรดาญาณเหล่านั้น ปริญญาเป็นไฉน ? การกำหนดรู้ว่า “นี้เป็นกุศล, นี้เป็นอกุศล, นี้เป็นโทษ, นี้ไม่มีโทษ, นี้เป็นธรรมดำที่เศร้าหมอง, นี้เป็นธรรมขาวสะอาดหมดจด, สิ่งนี้ควรเสพ, สิ่งนี้ไม่ควรเสพ, ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือเอาโดยลักษณะอย่างนี้ (มี อนิจจะ เป็นต้น) แล้วทำให้เกิดผล (มี อุทยัพพยะ เป็นต้น) นี้การรู้สัจจะทั้งหลายนี้ แห่งอุทยัพพยะเป็นต้นเหล่านั้น ซึ่งบุคคลถือเอาอย่างนี้เป็นผล” แห่งบุคคลผู้รู้อย่างนี้แล้วดำรงอยู่ นี้ชื่อว่า ปริญญา. ธรรม 3 อย่าง คือ ธรรมอันควรละ ธรรมอันควรเจริญ และ ธรรมอันควรทำให้แจ้งประจักษ์ ย่อมเหลือแก่บุคคลที่กำหนดรู้อย่างนี้แล้วดำรงอยู่. ในบรรดาธรรม 3 ประการเหล่านั้น ธรรมที่ควรละเป็นไฉน ? คือ อกุศล. ในบรรดาธรรม 3 ประการเหล่านั้น ธรรมที่ควรเจริญเป็นไฉน ? คือ กุศล. ในบรรดาธรรม 3 ประการเหล่านั้น ธรรมอันควรทำให้แจ้งประจักษ์เป็นไฉน ? คือ นิพพานอันเป็นอสังขตธรรม. บุคคลที่รู้อย่างนี้ ท่านเรียกว่า ผู้ฉลาดในอรรถ ผู้ฉลาดในบาลี ผู้ฉลาดในความเป็นคนดี ผู้ฉลาดในความเป็นอรหัตตผล ผู้ฉลาดในความเจริญ ผู้ฉลาดในความเสื่อม ผู้ฉลาดในฐานุปปัตติเหตุ (เหตุที่เกิดขึ้นโดยฐานะอันสมควร) ผู้สมบูรณ์ด้วยความเป็นผู้ฉลาดอันประเสริฐ เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “กุสโล สพฺพธมฺมานํ (อเสกขบุคคลเป็นผู้ฉลาดในธรรมทั้งปวง)” เป็นต้น ส่วนคำว่า “สโต ภิกฺขุ ปริพฺพเช (มีสติสมบูรณ์ พึงเป็นผู้ถึงภาวะอันประเสริฐดำรงอยู่)” ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่ ในเวลาก้าวไปข้างหน้า ถอยกลับข้างหลัง แลดู เหลียวดู คู้ เหยียด ครองสังฆาฏิบาตรและจีวร ฉัน ดื่ม ขบเคี้ยว ลิ้มรส ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ เดิน ยืน นอน ตื่น พูด อยู่นิ่ง ๆ. พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตข้อปฏิบัติ 2 อย่างนี้ คือ ข้อปฏิบัติอันหนึ่ง สำหรับบุคคลผู้หมดจดแล้ว ข้อปฏิบัติสำหรับบุคคลที่กำหลังหมดจดอยู่. บุคคลเหล่าไหนชื่อว่าหมดจดแล้ว คือ พระอรหันต์ทั้งหลาย. บุคคลเหล่าไหนชื่อว่ากำลังหมดจด คือ พระเสกขะทั้งหลาย. แท้จริงอินทรีย์ทั้งหลายของพระอรหันต์กระทำกิจเสร็จแล้ว. ธรรมที่ควรรู้มี 4 ประการ โดยอภิสมัย คือ การกำหนดรู้ทุกขสัจจะ อภิสมัย คือ การละสมุทัยสัจจะ อภิสมัย คือ การเจริญมรรคสัจจะ และ อภิสมัย คือ การทำให้แจ้งประจักษ์นิโรธสัจจะ บุคคลที่รู้สัจจะที่ควรรู้ 4 อย่างเช่นนี้ ท่านเรียกว่าเป็นผู้มีสติก้าวไปข้างหน้า เป็นผู้มีสติถอยกลับหลัง เพราะสิ้นราคะ สิ้นโทสะ สิ้นโมหะ เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “สโต ภิกฺขุ ปริพฺพเช (มีสติสมบูรณ์ พึงเป็นผู้ถึงภาวะอันประเสริฐดำรงอยู่)”. เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า (ดูก่อนอชิตะ) เสกขบุคคลไม่ควรติดในวัตถุกามทั้งหลาย, ควรเป็นผู้มีใจไม่มัวหมอง, อเสกขบุคคลฉลาดในธรรมทั้งปวง มีสติสมบูรณ์ พึงเป็นผู้ถึงภาวะอันประเสริฐดำรงอยู่ 1 พึงปุจฉาอย่างนี้ พึงวิสัชนาอย่างนี้ พึงนำมาซึ่งสุตตันตเทศนาอื่นอันสมควร แก่สังวัณเณตัพพสูตร โดยอรรถและศัพท์. จริงอย่างนั้นศัพท์ที่ปราศจากอรรถ เป็นถ้อยคำที่ไม่มีประโยชน์ แม้อรรถของบทวากยะที่ตั้งไว้ไม่ดีก็รู้ได้ยาก2 1. ขุ. สุ. 25/1046/532, ขุ. จูฬ. 30/8/38 2. องฺ. ทุก 20/20/58 เพราะฉะนั้นควรสังคายนาสูตรที่สมบูรณ์ด้วยอรรถและสภาวนิรุตติ และควรเลือกเฟ้นสูตร. สูตรนี้คือสูตรอะไร ? ควรเลือกเฟ้นสูตรอย่างนี้ คือ สูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้เอง สูตรที่สาวกทั้งหลายกล่าวไว้ สูตรที่มีอรรถอันรู้ได้โดยตรง สูตรที่มีอรรถอันนำคำอื่นมาอธิบายแล้วจึงรู้ได้ สูตรที่เป็นส่วนสังกิเลส, สูตรที่เป็นส่วนวาสนา, สูตรที่เป็นส่วนนิพเพธะ, สูตรที่เป็นส่วนอเสกขะ. พึงตรวจดูสัจจะทั้งหลายของสูตรนี้ในที่ไหน ? พึงตรวจดูในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด. พึงเลือกเฟ้นสูตรอย่างนี้ เพราะฉะนั้น พระมหากัจจายนเถระจึงกล่าวว่า “ยํ ปุจฺฉิตญฺจ วิสฺสชฺชิตญฺจ, สุตฺตสฺส ยา จ อนุคีติ (การพิจารณาคำถามก็ดี การพิจารณาคำตอบก็ดี การพิจารณาการกล่าวโดยสมควรกับคำถามของสูตรก็ดี)” วิจยหาระ ท่านยกจากพระบาลีมาประกอบแล้ว 3. ยุตติหารวิภังค์ |