นโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะสารบัญ: ห้วเรื่อง, เลขข้อ | ไฟล์เดียว: html, text | [ค้นหา] [สารบัญ] <ก่อนนี้] [ถัดไป> เนตติปกรณ์แปล : 3. ยุตติหารวิภังค์ [ 21 ] ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ทั้งปวง มีกามตัณหาเป็นปัจจัยและมีสังขารเป็นเหตุ ความเป็นอย่างนี้ย่อมควร. ส่วนความเกิดขึ้นแห่งนิพพานทั้งปวง มีวัตถุกามที่แวดล้อมด้วยกามตัณหาเป็นเหตุ ย่อมไม่สมควร ควรหาด้วยเหตุอื่น ๆ ด้วยยุตติดังที่กล่าวไว้แล้วอย่างนี้ สมดังที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอสุภะแก่บุคคลผู้เป็นราคจริต เทศนานั้นย่อมสมควร. ทรงแสดงเมตตาแก่บุคคลผู้เป็นโทสะจริต ทรงแสดงปฏิจจสมุปบาทแก่บุคคลผู้เป็นโมหะจริต. ถ้าพระผู้มีพระภาคพึงแสดงเมตตาเจโตวิมุติ แก่บุคคลผู้เป็นราคะจริตหรือพึงแสดงสุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา หรือ สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา หรือ ปหาน ที่มีวิปัสสนานำหน้า เทศนานั้นย่อมไม่สมควร (เพราะไม่เป็นสัปปายะ) การคล้อยตามแห่งการละราคะ การคล้อยตามแห่งการละโทสะ การคล้อยตามแห่งการละโมละ ทั้งสิ้นย่อมมีโดยนัยดังกล่าวมานี้. ควรพิจารณาคำทั้งปวงนั้น ด้วยวิจยหาระแล้วประกอบด้วยยุตติหาระ. ยุตติหาระย่อมมีประมาณเท่ากับอารมณ์ของปัญญา เทศนาว่า “พยายาทครอบงำจิตแล้วจะตั้งอยู่แก่ผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตา” ย่อมไม่สมควร. เทศนาว่า “พยาบาทย่อมถึงซึ่งการหายไป ซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้” ย่อมสมควร. เทศนาว่า “การเบียดเบียนครอบงำจิตแล้วจักตั้งอยู่แก่ผู้มีปกติอยู่ด้วยกรุณา” ย่อมไม่สมควร. เทศนาว่า “การเบียดเบียนย่อมถึงซึ่งการหายไป ซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้” ย่อมสมควร. เทศนาว่า “ความไม่ยินดีครอบงำจิตแล้วจักตั้งอยู่แก่ผู้มีปกติอยู่ด้วยมุทิตา” ย่อมไม่สมควร. เทศนาว่า “ความไม่ยินดีย่อมถึงซึ่งการหายไป ซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้” ย่อมสมควร. เทศนาว่า “ราคะครอบงำจิตแล้วจักตั้งอยู่แก่ผู้มีปกติอยู่ด้วยอุเบกขา” ย่อมไม่สมควร. เทศนาว่า “ราคะย่อมถึงซึ่งการหายไป ซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้” ย่อมสมควร. เทศนาว่า “วิญญาณอันมีการเป็นไปตามซึ่งสังขารนิมิต ย่อมเป็นไปด้วยอนิจจนิมิตเป็นต้นนั้น ๆ แก่ผู้มีปกติอยู่ด้วยสมาบัติที่ได้ด้วยการเจริญอนิจจานุปัสสนา” ย่อมไม่สมควร. เทศนาว่า “สังขารมีนิจจนิมิตเป็นต้น ย่อมถึงซึ่งการหายไป ย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้” ย่อมสมควร. เราย่อมปราศจากการกำหนดว่า “เป็นเรา”, เราไม่แลดูว่า “อุปาทานขันธ์นี้เป็นเรา” (เมื่อไม่แลดูอย่างนั้น) เทศนาว่า “ลูกศรคือความสงสัยกล่าวคือวิจิกิจฉาว่า “เราเป็นอะไร เราเป็นอย่างไร” ครอบงำจิตแล้วจักตั้งอยู่แก่เรา” ย่อมไม่สมควร. เทศนาอื่นเป็นไฉน ? เทศนาว่า “กามราคะและพยาบาทย่อมเป็นไปเพื่อทุติยฌานอันพิเศษ แก่ผู้เข้าปฐมฌาน” ย่อมไม่สมควร. เทศนาว่า “ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม” ย่อมสมควร. อีกอย่างหนึ่ง เทศนาว่า “สัญญามนสิการอันเป็นไปพร้อมด้วยวิตกย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม” ย่อมไม่สมควร. เทศนาว่า “ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ทุติยฌานอันพิเศษ” ย่อมสมควร. เทศนาว่า “สัญญามนสิการอันเป็นไปพร้อมด้วยวิตกและวิจารย่อมเป็นไป เพื่อตติยฌานอันพิเศษ แก่ผู้เข้าทุติยฌาน” ย่อมไม่สมควร. เทศนาว่า “ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม” ย่อมสมควร. อีกอย่างหนึ่งเทศนาว่า “สัญญามนสิการอันเป็นไปพร้อมด้วยอุเบกขาและสุข ย่อมเป็นไปได้เพื่อความเสื่อม” ย่อมสมควร. เทศนาว่า “ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ตติยฌานอันพิเศษ” ย่อมสมควร เทศนาว่า “สัญญามนสิกาการอันเป็นไปพร้อมด้วยปิติและสุข ย่อมเป็นไปเพื่อจตุตถฌานอันพิเศษ แก่ผู้เข้าตติฌาน” ย่อมไม่สมควร. เทศนาว่า “ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม” ย่อมสมควร. อีกอย่างหนึ่ง เทศนาว่า “สัญญามนิการอันเป็นไป พร้อมความหมดจดแห่งสติ อันอุเบกขาทำให้เกิดขึ้น ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม” ย่อมไม่สมควร. เทศนาว่า “ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่จตุตถฌานอันพิเศษ” ย่อมสมควร เทศนาว่า “สัญญามนสิการอันเป็นไปพร้อมด้วยอุเบกขา ย่อมเป็นไปเพื่ออากาสานัฐจายตนฌานอันพิเศษ แก่ผู้เข้าจตุตถฌาน” ย่อมไม่สมควร. เทศนาว่า “ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม” ย่อมสมควร อีกอย่างหนึ่ง เทศนาว่า “สัญญามนสิการอันเป็นไปพร้อมด้วยอากาสานัญจายตนฌาน” ย่อมสมควร เทศนาว่า “สัญญามนสิการอันเป็นไปพร้อมด้วยรูปฌาน ย่อมเป็นไปเพื่อวิญญานัญจายตนฌานอันพิเศษ แก่ผู้เข้าอากาสานัญจายตนฌาน” ย่อมไม่สมควร. เทศนาว่า “ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม ย่อมสมควร. อีกอย่างหนึ่ง เทศนาว่า “สัญญามนสิการอันเป็นไปพร้อมด้วยวิญญานัญจายตนฌานย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม” ย่อมไม่สมควร. เทศนาว่า “ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ทุติยอรูปฌานอันพิเศษ” ย่อมสมควร. เทศนาว่า “สัญญามนสิการอันเป็นไปพร้อมด้วย อากาสานัญจายตนฌานย่อมไปเพื่ออากิญจัญญายตนฌานอันพิเศษ แก่ผู้เข้าวิญญานัญจายตนฌาน ย่อมไม่สมควร เทศนาว่า “ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม” ย่อมสมควร. อีกอย่างหนึ่ง เทศนาว่า “สัญญามนสิการอันเป็นไปพร้อมด้วย อากิญจัญญายตนฌาน ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม” ย่อมไม่สมควร. เทศนา “ย่อมไปเพื่อประโยชน์แก่ตติยอรูปฌานอันพิเศษ” ย่อมสมควร เทศนาว่า “สัญญามนสิการอันเป็นพร้อมด้วยวิญญานัญจายตนฌาน ย่อมเป็นไปเพื่อจตุตถอรูปฌานเป็นพิเศษ แก่ผู้เข้าอากิญจัญญายตนฌาน” ย่อมไม่สมควร. เทศนาว่า “ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม” ย่อมสมควร. อีกอย่างหนึ่ง เทศนาว่า “สัญญามนสิการอันเป็นไปพร้อมด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม” ย่อมไม่สมควาร. เทศนาว่า “ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่จตุตถอรูปฌานอันพิเศษ” ย่อมสมควร. เทศนาว่า “จิตตุปบาทอันไม่ได้กำหนดสิ่งที่ทำสัญญากิจที่ปรากฏ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่สัญญาเวทยิตนิโรธอันพิเศษ แก่ผู้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน” ย่อมไม่สมควร. เทศนาว่า “ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม” ย่อมสมควร. อีกอย่างหนึ่ง เทศนาว่า “สัญญามนสิการอันเป็นไปพร้อมด้วยสัญญาเวทยิตนิโรธ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม” ย่อมไม่สมควร. เทศนาว่า “ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่สัญญาเวทยิตนิโรธ” ย่อมสมควร เทศนาว่า “จิตที่อบรมในสมาบัติที่กล่าวแล้วด้วยความเป็นวสี ย่อมไม่อดกลั้นซึ่งอภิญญาภินิหาร” ย่อมไม่สมควร. เทศนาว่า “จิตที่อบรมในสมาบัติที่กล่าวแล้วด้วยความเป็นวสี ย่อมอดกลั้นซึ่งอภิญญาภินิหาร” ย่อมสมควร ควรเลือกเฟ้นพระสูตร กล่าวคือพระไตรปิฏกอันมีองค์ 9 ด้วยวิจยหาระ โดยประการทั้งปวงตามธรรมตามวินัย ตามคำสั่งสอนของพระศาสดาอย่างนี้ แล้วพึงประกอบด้วยยุตติหาระ. เพราะฉะนั้นพระมหากัจจายนเถระจึงกล่าวว่า “สพฺเพสํ หารานํ, ยา ภูมิ โย จ โคจโร เตสํ (ศัพท์อันเป็นภูมิ และโคจรกล่าวคืออรรถของสูตรอันใดแห่งหาระทั้งปวง)” เป็นต้น ยุตติหาระ ท่านยกจากพระบาลีมาประกอบแล้ว 4. ปทัฏฐานหารวิภังค์ |