นโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
สารบัญ: ห้วเรื่อง, เลขข้อ | ไฟล์เดียว: html, text | [ค้นหา] [สารบัญ] <ก่อนนี้] [ถัดไป>

เนตติปกรณ์แปล : +สีหวิกีฬิตนัย

       [85] บรรดาพระสูตร 10 มีอาหาร 4 เป็นต้นเหล่านั้น กวฬิงการาหาร เป็นวิปลาส "ในสิ่งที่ไม่งาม ว่างาม" เป็นกามุปาทาน เป็นกามโยคะ เป็นอภิชฌากายคันถะ เป็นกามาสวะ เป็นกาโมฆะ เป็นลูกศรคือราคะ เป็นวิญญาณฐิติที่เข้าถึงรูป และเป็นการเข้าถึงความลำเอียงเพราะฉันทะ ดังนี้ ชื่อว่า ทิศที่ 1 ผัสสาหารเป็นวิปลาส "ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ว่าสุข" ดังนี้ เป็นภวุปาทาน เป็นภวโยคะ เป็นพยาปาทกายคันถะ เป็นภวาสวะ เป็นภโวฆะ เป็นลูกศรคือโทสะเป็นวิญญาณฐิติที่เข้าถึงเวทนา และเป็นการถึงความลำเอียงเพราะโทสะ ดังนี้ชื่อว่า ทิศที่ 2 วิญญาณาหารเป็นวิปลาส "ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง" ดังนี้ เป็นทิฏฐุปาทานเป็นทิฏฐิโยคะ เป็นปรามาสกายคันถะ เป็นทิฏฐาสวะ เป็นทิฏโฐฆะ เป็นลูกศรคือมานะ เป็นวิญญาณฐิติที่เข้าถึงสัญญา และเป็นการถึงความลำเอียงเพราะความกลัว ดังนี้ ชื่อว่า ทิศที่ 3 มโนสัญเจตนาหารเป็นวิปลาส "ในสิ่งที่ไม่ใช่ตน ว่าเป็นตน" ดังนี้ เป็นอัตตวาทุปาทาน เป็นอวิชชาโยคะ เป็นอิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ เป็นอวิชชาสวะ เป็นอวิชโชฆะ เป็นลูกศรคือโมหะ เป็นวิญญาณฐิติที่เข้าถึงสังขาร และเป็นการถึงความลำเอียงเพราะโมหะ ดังนี้ ชื่อว่า ทิศที่ 4 ในพระสูตร 10 มีอาหาร 4 เป็นต้นนั้น กวฬิงการาหารอันใด และวิปลาสว่า"อสุเภ สุภํ" ดังนี้ อันใดจัดเป็นกามุปาทาน เป็นกามโยคะ เป็นอภิชฌากายคันถะเป็นกามาสวะ เป็นกาโมฆะ เป็นลูกศรคือราคะ เป็นวิญญาณฐิติที่เข้าถึงรูปและเป็นการถึงอคติเพราะฉันทะ ดังนี้ อรรถะแห่งพระสูตร 10 เหล่านี้อย่างเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน ธรรมเหล่านี้ เป็นอุปกิเลส (เครื่องเศร้าหมอง) ของบุคคลผู้ราคจริต ฯ
       ในพระสูตร 10 เหล่านั้น ผัสสาหารอันใด วิปลาสว่า "ทุกฺเข สุขํ" ดังนี้อันใดจัดเป็นภวุปาทาน เป็นภวโยคะ เป็นพยาปาทกายคันถะ เป็นภวาสวะเป็นภโวฆะ เป็นลูกศรคือโทสะ เป็นวิญญาณฐิติที่เข้าถึงเวทนา และเป็นการถึงอคติเพราะโทสะ ดังนี้ พระสูตร 10 เหล่านี้ มีอรรถะอย่างเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน ธรรมเหล่านี้ เป็นอุปกิเลสของบุคคลผู้โทสจริต ฯ
       ในพระสูตร 10 เหล่านั้น วิญญาณาหารอันใด วิปลาสว่า "อนิจฺเจ นิจฺจํ"ดังนี้ อันใดจัดเป็นทิฏฐุปาทาน เป็นทิฏฐิโยคะ เป็นปรามาสกายคันถะ เป็นทิฏฐาสวะ เป็นทิฏโฐฆะ เป็นลูกศรคือมานะ เป็นวิญญาณฐิติที่เข้าถึงสัญญา และเป็นการถึงอคติเพราะกลัว ดังนี้ พระสูตรเหล่านี้มีอรรถะอย่างเดียวกัน มีพยัญชนะเท่านั้นต่างกัน ธรรมเหล่านี้ เป็นอุปกิเลสของทิฏฐิจริตมันทบุคคล ฯ
       ในอาหาร 4 เหล่านั้น กวฬิงการาหารอันใด ผัสสาหารอันใด อาหารทั้ง 2นี้ย่อมถึงซึ่งการรู้รอบ (ปริญญา) ด้วยวิโมกขมุข ชื่อว่า อัปปณิหิตะ วิญญาณาหารย่อมถึงซึ่งการรอบรู้ด้วยวิโมกขมุข ชื่อว่า สุญญตะ มโนสัญเจตนาหารย่อมถึงซึ่งการรู้รอบด้วยวิโมกขมุข ชื่อว่า อนิมิตตะ ฯ
       ในวิปลาส 4 เหล่านั้น วิปลาสว่า "อสุเภ สุภํ" ดังนี้อันใด และวิปลาสว่า"ทุกฺเข สุขํ" ดังนี้อันใด วิปลาสทั้ง 2 นี้ย่อมถึงการละ อันตั้งอยู่ไม่ได้ ด้วยอัปปณิหิตวิโมกขมุข ฯ วิปลาสว่า "อนิจฺเจ นิจฺจํ" ดังนี้ วิปลาสนี้ย่อมถึงการละตั้งอยู่ไม่ได้ ด้วยสุญญตวิโมกขมุข ฯ วิปลาสว่า "อนตฺตนิ อตฺตา" ดังนี้วิปลาสนี้ย่อมถึงการละตั้งอยู่ไม่ได้ ด้วยอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ
       ในอุปาทาน 4 เหล่านั้น กามุปาทานและภวุปาทานย่อมถึงการละด้วยอัปปณิหิตวิโมกขมุข ทิฏฐุปาทานย่อมถึงการละด้วยสุญญตวิโมกขมุข อัตตวาทุปาทานย่อมถึงการละด้วยอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ
       ในโยคะ 4 เหล่านั้น กามโยคะและภวโยคะย่อมถึงการละด้วยอัปปณิหิตวิโมกขมุข ทิฏฐิโยคะย่อมถึงการละด้วยสุญญตวิโมกขมุข อวิชชาโยคะย่อมถึงการละด้วยอนิมิตตวิโมกขมุขในคันถะ 4 เหล่านั้น อภิชฌากายคันถะและพยาปาทกายคันถะย่อมถึงการละด้วยอัปปณิหิตวิโมกขมุข ปรามาสกายคันถะย่อมถึงการละด้วยสุญญตวิโมกขมุข อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะย่อมถึงการละด้วยอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ
       ในอาสวะ 4 เหล่านั้น กามาสวะและภวาสวะย่อมถึงการละ ด้วยอัปปณิหิตวิโมกขมุข ทิฏฐาสวะย่อมถึงการละด้วยสุญญตวิโมกขมุข อวิชชาสวะย่อมถึงการละด้วยอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ
       ในโอฆะ 4 เหล่านั้น กาโมฆะและภโวฆะย่อมถึงการละด้วยอัปปณิหิตวิโมกขมุข ทิฏโฐฆะย่อมถึงการละด้วยสุญญตวิโมกขมุข อวิชโชฆะย่อมถึงการละด้วยอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ
       ในลูกศร 4 เหล่านั้น ลูกศรคือราคะ และลูกศรคือโทสะย่อมถึงการละด้วยอัปปณิหิตวิโมกขมุข ลูกศรคือมานะย่อมถึงการละด้วยสุญญตวิโมกขมุข ลูกศรคือโมหะย่อมถึงการละด้วยอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ
       ในวิญญาณฐิติ 4 เหล่านั้น วิญญาณฐิติที่เข้าถึงรูป และวิญญาณฐิติที่เข้าถึงเวทนาย่อมถึงการละด้วยอัปปณิหิตวิโมกขมุข วิญญาณฐิติที่เข้าถึงสัญญาย่อมถึงการละด้วยสุญญตวิโมกขมุข วิญญาณฐิติที่เข้าถึงสังขารย่อมถึงการละด้วยอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ
       ในอคติ 4 เหล่านั้น ฉันทาคติและโทสาคติย่อมถึงการละด้วยอัปปณิหิตวิโมกขมุข ภยาคติย่อมถึงการละด้วยสุญญตวิโมกขมุข โมหาคติย่อมถึงการละด้วยอนิมิตตวิโมกขมุข ฯ ธรรมทั้งปวง มีอาหารเป็นต้นมีปกติแล่นไปตามวัฏฏะกล่าวคือโลกอย่างนี้ ธรรมที่เป็นทิศฝ่ายสังกิเลส ย่อมออกไปจากโลกด้วยวิโมกขมุข 3 มี อนิจจานุปัสสนา เป็นต้น ด้วยประการฉะนี้ ฯ
[ค้นหา] [สารบัญ] <ก่อนนี้] [ถัดไป>