นโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะสารบัญ: ห้วเรื่อง, เลขข้อ | ไฟล์เดียว: html, text | [ค้นหา] [สารบัญ] <ก่อนนี้] [ถัดไป> เนตติปกรณ์แปล : 8. วิภัตติหารวิภังค์ [33] บรรดาหาระ 16 เหล่านั้น หาระคือ วิภัตติ เป็นไฉน นิทเทสว่า "ธมฺมญฺจ ปทฏฺฐานํ ภูมิญฺจ" เป็นต้นเป็นหาระ คือ วิภัตติ ฯ พระสูตรทั้ง 2 คือ วาสนาภาคิยสูตรและนิพเพธภาคิยสูตร ปฏิปทา 2 คือปุญญภาคิยปฏิปทาและผลภาคิยปฏิปทา ศีล 2 คือ สังวรศีลและปหานศีล ฯ ในพระสูตรทั้ง 2 นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงวาสนาภาคิยสูตร ด้วยปฏิปทาอันเป็นส่วนแห่งบุญแก่บุคคลใด บุคคลนั้น ตั้งอยู่ในสังวรศีลแล้ว ย่อมประพฤติพรหมจรรย์ด้วยพรหมจรรย์นั้น และทรงแสดงนิพเพธภาคิยสูตร ด้วยปฏิปทาที่เป็นส่วนแห่งผลแก่บุคคลใด บุคคลนั้นตั้งอยู่ในปหานศีลแล้ว ย่อมเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยพรหมจรรย์นั้น ฯ ในพระสูตรทั้ง 2 นั้น วาสนาภาคิยสูตร เป็นไฉน เทศนาว่า ทานกถา สีลกถา สัคคกถา กามาทีนวกถา เนกขัมมนิสังสกถาชื่อว่า วาสนาภาคิยสูตร ฯ ในพระสูตรเหล่านั้น นิพเพธภาคิยสูุตร เป็นไฉน เทศนาใด ประกาศสัจจะ เทศนานั้น ชื่อว่า นิพเพธภาคิยสูตร ฯ ในวาสนาภาคิยสูตร ไม่มีวุฏฐานคามินีวิปัสสนา (อันเป็นปทัฏฐานแห่งอริยมรรค)ไม่มีอริยมรรค ไม่มีอริยผล แต่ในนิพเพธภาคิยสูตร มีวุฏฐานคามินีวิปัสสนามีอริยมรรค มีอริยผล ฯ พระสูตรทั้ง 4 เหล่านี้ คือ วาสนาภาคิยะ นิพเพธภาคิยะ สังกิเลสภาคิยะและอเสกขภาคิยะ ภูมิแห่งญาณ (ในพระสูตรนั้น) มีประมาณเพียงไร บัณฑิตพึงวิจัยเทศนาแห่งพระสูตรทั้ง 4 เหล่านี้ โดยผล โดยศีล โดยพรหมจรรย์ด้วยวิจยหาระโดยประการทั้งปวง แล้วพึงประกอบด้วยยุตติหาระ มีประมาณเพียงนั้น (จากนั้นพึงทราบธรรมที่เป็นสาธารณะและอสาธารณะในพระสูตรต่อไป) ฯ [34] บรรดาพระสูตรเหล่านั้น ธรรมที่ทั่วไป (สาธารณะ) เป็นไฉน ธรรมที่ทั่วไปมี 2 อย่างคือ ทั่วไปโดยชื่อ (นามสาธารณะ) และทั่วไปโดยวัตถุที่อาศัย (วัตถุสาธารณะ) ก็หรือว่า ธรรมชาติแม้อื่นที่มีลักษณะอย่างนี้คือ เสมอกันโดยกิจและโดยปัจจัย เป็นต้นกิเลสอันบุคคลพึงละด้วยทัสสนะ ทั่วไปแก่มิจฉัตตนิยตบุคคล 6 จำพวกมีผู้ฆ่ามารดาเป็นต้น และอนิยตบุคคล 4 จำพวก มีทุคติอเหตุกบุคคลเป็นต้นกามราคะและพยาบาท ทั่วไปแก่ปุถุชนและพระโสดาบัน อุทธัมภาคิยสังโยชน์ทั่วไปแก่ปุถุชนและพระอนาคามี โลกิยสมาบัติทั้งปวง (รูปาวจรสมาบัติ อรูปาวจรสมาบัติ ทิพพวิหารสมาบัติ พรหมวิหารสมาบัติ เป็นต้น) ที่พระอริยสาวกเข้าถึงได้ทั่วไปกับผู้ที่ยังไม่ปราศจากราคะ จริงอยู่ โลกิยสมาบัติเป็นธรรมทั่วไป ย่อมไม่ล่วงอารมณ์ของตน (อันเกิดมาก่อน) ไปสู่อารมณ์อื่น ๆ (อันเกิดในภายหลัง) แม้บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรมอันเป็นอวีตราคะนี้ ย่อมเป็นไปล่วงซึ่งธรรมนั้น เหล่านี้ เป็นธรรมทั่วไป ในพระสูตรนั้น ธรรมที่ไม่ทั่วไป (อสาธารณะ) เป็นไฉน บุคคลพึงแสวงหาเสกขธรรมและอเสกขธรรม ด้วยอำนาจแห่งธรรมที่ควรละและไม่ควรละ โดยการเทียบเคียงกับเทศนาต่อไป กามราคะและพยาบาทเป็นสาธารณะแก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในปฐมมรรค แต่สภาพธรรมเป็นอสาธารณะ2อุทธัมภาคิยสังโยชน์เป็นสาธารณะแก่ผู้ตั้งอยู่ในปฐมมรรค และอนาคามิมรรคสภาพธรรมเป็นอสาธารณะ ชื่อของพระเสกขะทั้งปวงเป็นสาธารณะ สภาพธรรมเป็นอสาธารณะ ชื่อของผู้ดำเนินไปถึงอริยมรรคแล้วเป็นสาธารณะ สภาพธรรมเป็นอสาธารณะ เสกขศีลของพระเสกขะทั้งปวงเป็นสาธารณะ สภาพธรรมเป็นอสาธารณะ บัณฑิตพึงแสวงหาเทศนาโดยเทียบเคียงกับธรรมที่เลวปานกลางและอุกฤษฎ ์ ด้วยการพิจารณาความแตกต่างกัน ด้วยประการฉะนี้ ฯ การจำแนกปทัฏฐานทัสสนภูมิ (ปฐมมรรค) เป็นปทัฏฐาน แห่งการก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ฯ ภาวนาภูมิ (การเจริญมรรคเบื้องบน) เป็นปทัฏฐาน แห่งการบรรลุผลเบื้องบน ฯ ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาเป็นปทัฏฐานแห่งสมถะ ฯ สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาเป็นปทัฏฐานแห่งวิปัสสนา ฯ บุญญกิริยาวัตถุ คือ ทานมัย เป็นปทัฏฐานสาธารณะแห่งเสียงชักชวนจากคนอื่น ฯ บุญญกิริยาวัตถุ คือ ศีลมัย เป็นปทัฏฐานสาธารณะแห่งจินตามยปัญญาบุญญกิริยาวัตถุ คือ ภาวนามัย เป็นปทัฏฐานสาธารณะแห่งภาวนามยปัญญา ฯ บุญญกิริยาวัตถุ คือ ทานมัย เป็นปทัฏฐานสาธารณะแห่งเสียงชักชวนจากคนอื่นและสุตมยปัญญา ฯ บุญญกิริยาวัตถุ คือ ศีลมัย เป็นปทัฏฐานสาธารณะแห่งจินตามยปัญญาและโยนิโสมนสิการ ฯ บุญญกิริยาวัตถุ คือภาวนามัย เป็นปทัฏฐานสาธารณะแห่งภาวนามยปัญญาและสัมมาทิฏฐิ ฯ ปฏิรูปเทสวาสะ เป็นปทัฏฐานสาธารณะแห่งวิเวกและสมาธิ ฯ สัปปุริสูปนิสสยะ เป็นปทัฏฐานสาธารณะแห่งความเลื่อมใสอันมั่นคงในพระรัตนตรัยและสมถะ ฯ อัตตสัมมาปณิธิ เป็นปทัฏฐานสาธารณะแห่งหิริและวิปัสสนา ฯ การสละอกุศล (ด้วยอำนาจตทังคะเป็นต้น) เป็นปทัฏฐานสาธารณะแห่งการพิจารณากุศล (ปฏิสังขานุปัสสนาปัญญา) และสมาธินทรีย์ (คืออริยมัคคสมาธินทรีย์) ฯ ความที่ธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว (ธมฺมสฺวากฺขาตตา)เป็นปทัฏฐานสาธารณะแห่งการปลูกกุศลมูลและผลสมาบัติ ฯ ความที่พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว (สํฆสุปฏิปนฺนตา) เป็นปทัฏฐานสาธารณะแห่งพระสงฆ์ผู้ดำรงอยู่ดี ฯ สัตถุสัมปทา เป็นปทัฏฐานสาธารณะ (ทั่วไป) แห่งความเลื่อมใสของบุคคลผู้ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเจริญยิ่งของบุคคลผู้เลื่อมใสแล้ว ฯ ความเป็นผู้มีปาติโมกขสังวรศีลอันไม่กำจัดแล้ว เป็นปทัฏฐานสาธารณะแห่งการข่มบุคคลผู้เก้อยาก และการอยู่ผาสุกแห่งบุคคลผู้มีศีลเป็นที่รัก ฯ เพราะเหตุนั้น ท่านพระมหากัจจายนะ จึงกล่าวว่า "การจำแนกธรรม และการจำแนกปทัฏฐาน" ดังนี้ ฯ จบ วิภัตติหารวิภังค์ 9. ปริวัตตนหารวิภังค์ |