นโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะสารบัญ: ห้วเรื่อง, เลขข้อ | ไฟล์เดียว: html, text | [ค้นหา] [สารบัญ] <ก่อนนี้] [ถัดไป> เนตติปกรณ์แปล : 16. สมาโรปนหารวิภังค์ [50] บรรดาหาระ 16 นั้น หาระ คือ สมาโรปนะ เป็นไฉน คาถาว่า "เย ธมฺมา ยํมูลา เย เจกตฺถา ปกาสิกตา มุนินา" เป็นต้น ชื่อว่าสมาโรปนหาระ ฯ ปทัฏฐานทั้งหลาย (ธรรมที่เป็นเหตุ) มีประมาณเท่าไร ย่อมหยั่งลง (ประชุม)ในปทัฏฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ปทัฏฐานเหล่าใด ที่ไม่ได้กล่าวไว้ในพระสูตรพึงแสวงหาปทัฏฐานเหล่านั้นแล้วยกขึ้นด้วยหาระ คือ สมาโรปนะนี้ เหมือนปทัฏฐานจำนวนมาก ย่อมหยั่งลงในหาระคืออาวัฏฏะ ฉะนั้น ฯ ในหาระ คือสมาโรปนะที่พึงยกขึ้นเหล่านั้น สมาโรปนะ (คือการยกขึ้น) มี 4 อย่าง คือปทัฏฐาน 1 เววจนะ 1 ภาวนา 1 ปหานะ 1 ฯ ในสมาโรปนะ 4 เหล่านั้น สมาโรปนะ ด้วยปทัฏฐาน เป็นไฉน "สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํพุทฺธานสาสนํ" การไม่ทำบาปทั้งปวง การยังกุศลให้ถึงพร้อม การยังจิตให้ผ่องแผ้ว นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ฯ ด้วยพระพุทธพจน์ตามที่กล่าวนี้ อะไรเป็นปทัฏฐานแห่งคำสอนนั้น สุจริต 3 คือ กายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต สุจริต 3 นี้ เป็นปทัฏฐานแห่งคำสอนในปทัฏฐาน คือ หมวด 3 แห่งสุจริตนั้น สุจริตอันเป็นไปทางกาย และทางวาจาอันใด นี้เป็นศีลขันธ์ ในมโนสุจริต คือ อนภิชฌา (ความไม่เพ่งเล็ง) และอัพยาบาท อันใด นี้เป็นสมาธิขันธ์ และสัมมาทิฏฐิ อันใด นี้เป็นปัญญาขันธ์หมวด 3 แห่งขันธ์นี้เป็นปทัฏฐาน ในหมวด 3 แห่งขันธ์นั้น ศีลขันธ์และสมาธิขันธ์ เป็นสมถะ ปัญญาขันธ์ เป็นวิปัสสนา หมวด 2 แห่งสมถะและวิปัสสนานี้เป็นปทัฏฐาน ในหมวด 2 ชื่อว่า เจโตวิมุตติ เพราะสำรอกราคะ เป็นผลของสมถะ ชื่อว่า ปัญญาวิมุตติ เพราะสำรอกอวิชชา เป็นผลของวิปัสสนาหมวด 2 นี้ เป็นปทัฏฐานแห่งคำสอน ฯ วนะ (ป่า) เป็นปทัฏฐานแห่งสิ่งที่เกิดในป่า (วนถะ) ฯ ก็อะไร ชื่อว่า ป่า อะไร ชื่อว่า สิ่งที่เกิดในป่า ฯ กามคุณ 5 ชื่อว่า ป่าตัณหา ชื่อว่า สิ่งที่เกิดในป่า นี้ชื่อว่า ปทัฏฐาน ฯ การถือซึ่งนิมิตว่า "หญิง" หรือว่า "ชาย" ชื่อว่า ป่า ฯ การถืออนุพยัญชนะ แห่งอวัยวะน้อยใหญ่เหล่านั้น ว่า"ตาสวย หูสวย จมูกสวย ลิ้นสวย กายสวย" ดังนี้ ชื่อว่า สิ่งที่เกิดในป่า (วนถะ)นี้ ชื่อว่า ปทัฏฐาน ฯ อายตนะทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก 6 อันยังมิได้รู้โดยรอบแล้ว ชื่อว่าป่า สังโยชน์อาศัยอายตนะทั้ง 2 นั้นเกิดขึ้นอันใด นี้ชื่อว่า สิ่งที่เกิดในป่า นี้ชื่อว่าปทัฏฐาน ฯ อนุสัย ชื่อว่า ป่า ปริยุฏฐาน ชื่อว่า สิ่งที่เกิดในป่า นี้ชื่อว่า ปทัฏฐานฯ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "จงตัดป่าและสิ่งที่เกิดในป่า"การยกขึ้นแสดงนี้ ชื่อว่า สมาโรปนะ โดยปทัฏฐาน ฯ [51] ในสมาโรปนหาระนั้น สมาโรปนะ โดยเววจนะเป็นไฉน ชื่อว่า เจโตวิมุตติ เพราะสำรอกราคะ เป็นเสกขผล ชื่อว่า ปัญญาวิมุตติเพราะสำรอกอวิชชา เป็นอเสกขผล นี้ชื่อว่า เววจนะ ฯ ชื่อว่า เจโตวิมุตติเพราะสำรอกราคะ เป็นอนาคามิผล ชื่อว่า ปัญญาวิมุตติ เพราะสำรอกอวิชชาเป็นอรหัตตผลอันเลิศ นี้ชื่อว่า เววจนะ ฯ ชื่อว่า เจโตวิมุตติ เพราะสำรอกราคะเป็นการก้าวล่วงกามธาตุ ชื่อว่า ปัญญาวิมุตติ เพราะสำรอกอวิชชา เป็นการก้าวล่วงธาตุ 3 นี้ชื่อว่า เววจนะ ฯ ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ อธิปัญญาสิกขา ปัญญาขันธ์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ญาณ สัมมาทิฏฐิ การพิจารณา การใคร่ครวญ ภูริวิปัสสนา ญาณในธรรมทั้งปวง นี้ชื่อว่า เววจนะการยกขึ้นนี้ ชื่อว่า สมาโรปนะ โดยเววจนะ ฯ ในสมาโรปนะ 4 นั้น สมาโรปนะ โดยภาวนาเป็นไฉน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสภาวนาใด โดยประการใดว่า"ดูกรภิกษุ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอเป็นผู้มีปกติตามเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงนำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออก" ดังนี้ ฯ คำว่า "อาตาปี" ได้แก่ วิริยินทรีย์ ฯ คำว่า "สมฺปชาโน"ได้แก่ ปัญญินทรีย์ ฯ คำว่า "สติมา" ได้แก่ สตินทรีย์ ฯ ข้อว่า "พึงนำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออก" ได้แก่ สมาธินทรีย์ ฯ สติปัฏฐาน 4 ของภิกษุ ผู้ตามเห็นกายในกายอยู่อย่างนี้ ย่อมถึงความบริบูรณ์ด้วยภาวนา ฯ เพราะเหตุไร เพราะความที่อินทรีย์ 4 มีลักษณะอย่างเดียวกัน ฯ เมื่อสติปัฏฐาน 4 อันภิกษุเจริญอยู่ สัมมัปปธาน 4 ย่อมถึงการบริบูรณ์ด้วยภาวนา ฯ เมื่อสัมมัปธาน 4 อันภิกษุเจริญอยู่ อิทธิบาท 4 ย่อมถึงการบริบูรณ์ด้วยภาวนา ฯ เมื่ออิทธิบาท 4 อันภิกษุเจริญอยู่ อินทรีย์ 5ย่อมถึงการบริบูรณ์ด้วยภาวนา ฯ ธรรมทั้งปวง ย่อมถึงความบริบูรณ์ด้วยภาวนาโดยประการนั้น ๆ อย่างนี้ ฯ เพราะเหตุไร เพราะธรรมทั้งปวงเป็นองค์แห่งการตรัสรู้ เป็นฝ่ายตรัสรู้ มีลักษณะอย่างเดียวกัน โดยมีการนำออกเป็นลักษณะ ธรรมทั้งปวงเหล่านั้น ย่อมถึงความบริบูรณ์เพราะความมีลักษณะอย่างเดียวกัน ภาวนานี้ ชื่อว่า สมาโรปนะ โดยภาวนา ฯ ในสมาโรปนะ 4 นั้น สมาโรปนะ โดยปหานะเป็นไฉน ภิกษุผู้มีปกติตามเห็นกายในกายอยู่ ย่อมละวิปลาส "ในความไม่งามว่างาม" ดังนี้ คำข้าวเป็นอาหารของกายนั้นย่อมถึงการรู้รอบ เป็นผู้ไม่ยึดมั่นด้วยกามุปาทาน เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกามโยคะ ย่อมไม่ประกอบด้วยอภิชฌากายคันถะ เป็นผู้ไม่มีอาสวะด้วยกามาสวะ เป็นผู้ข้ามขึ้นแล้วซึ่งกาโมฆะ เป็นผู้ไม่มีลูกศรด้วยลูกศรคือราคะ วิญญาณฐิติที่เข้าถึงรูปของกายนั้น ย่อมถึงการรู้รอบ ราคะในรูปธาตุของกายนั้นย่อมเป็นอันภิกษุนั้นละได้แล้ว และย่อมไม่ถึงฉันทาคติ ฯ ภิกษุผู้มีปกติตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ย่อมละวิปลาส"ในทุกข์ว่าเป็นสุข" ดังนี้ และผัสสะเป็นอาหารของเวทนานั้น ย่อมถึงการรู้รอบย่อมเป็นผู้ไม่มีความยึดมั่นด้วยอุปาทานคือภพ ย่อมไม่ประกอบด้วยภวโยคะย่อมไม่ประกอบด้วยพยาปาทกายคันถะ ย่อมเป็นผู้ไม่มีอาสวะด้วยอาสวะคือภวาสวะ ย่อมเป็นผู้ข้ามขึ้นแล้วซึ่งภโวฆะ ย่อมเป็นผู้ไม่มีลูกศรด้วยลูกศรคือโทสะวิญญาณฐิติที่เข้าถึงเวทนาของเวทนานั้นย่อมถึงการรู้รอบ ราคะในเวทนาธาตุของเวทนานั้นย่อมเป็นอันภิกษุนั้นละได้แล้ว และย่อมไม่ถึงโทสาคติ ฯ ภิกษุผู้มีปกติเห็นจิตในจิตอยู่ ย่อมละวิปลาส "ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง"ดังนี้ และวิญญาณเป็นอาหารของจิตนั้น ย่อมถึงการรู้รอบ ย่อมไม่เป็นผู้ยึดมั่นด้วยทิฏฐุปาทาน ย่อมไม่ประกอบด้วยทิฏฐิโยคะ ย่อมไม่ประกอบด้วยสีลัพพตปรามาสกายคันถะ ย่อมเป็นผู้ไม่มีอาสวะด้วยทิฏฐาสวะ ย่อมเป็นผู้ข้ามขึ้นแล้วซึ่งทิฏโฐฆะ ย่อมเป็นผู้ไม่มีลูกศรด้วยลูกศรคือมานะ วิญญาณฐิติที่เข้าถึงสัญญาของจิตนั้น ย่อมถึงการรู้รอบ ราคะในสัญญาธาตุย่อมเป็นอันภิกษุนั้นละได้แล้วและย่อมไม่ถึงภยาคติ ฯ ภิกษุผู้มีปกติตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมละวิปลาส "ในสิ่งที่เป็นอนัตตาว่าเป็นอัตตา" ดังนี้ และมโนสัญเจตนาเป็นอาหารของสิ่งที่เป็นอนัตตานั้น ย่อมถึงการรู้รอบ ย่อมเป็นผู้ไม่ยึดมั่นด้วยอัตตวาทุปาทาน ย่อมเป็นผู้ไม่ประกอบแล้วด้วยอวิชชาโยคะ ย่อมไม่ประกอบด้วยอิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ ย่อมเป็นผู้ไม่มีอาสวะด้วยอวิชชาสวะ ย่อมเป็นผู้ข้ามขึ้นแล้วซึ่งอวิชโชฆะ ย่อมเป็นผู้ไม่มีลูกศรด้วยลูกศรคือโมหะ วิญญาณฐิติที่เข้าถึงสังขารของสิ่งที่เป็นอนัตตานั้น ย่อมถึงการรู้รอบ ราคะในสังขารธาตุของอนัตตานั้นย่อมเป็นอันภิกษุนั้นละได้แล้ว และย่อมไม่ถึงโมหาคติ การยกเทศนาขึ้นนี้ ชื่อว่าสมาโรปนะ ด้วยปหานะ แล ฯ ด้วยเหตุนั้น ท่านพระมหากัจจายนะ จึงกล่าวว่า"ธรรมเหล่าใด เป็นมูลแก่ธรรมเหล่าใด และธรรมเหล่าใด มีอรรถะอย่างเดียวกัน อันพระมหามุนีทรงประกาศแล้ว ธรรมเหล่านั้น อันบัณฑิตพึงยกขึ้นแสดง หาระที่มีลักษณะนี้ ชื่อว่า สมาโรปนะ" ดังนี้ ฯ จบ สมาโรปนหารวิภังค์ และจบหารวิภังค์ 16 เพียงเท่านี้ ฯ หารสัมปาตวาระ 16 1. เทสนาหารสัมปาตะ |