นโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะสารบัญ: ห้วเรื่อง, เลขข้อ | ไฟล์เดียว: html, text | [ค้นหา] [สารบัญ] <ก่อนนี้] [ถัดไป> เนตติปกรณ์แปล : 1. เทสนาหารสัมปาตะ [52] ท่านพระมหากัจจยนะกล่าวคาถาว่า"หาระ 16 ควรกระทำก่อน แล้วใคร่ครวญธรรมที่เป็นทิศด้วย ทิสโล-จนนัย และย่อไว้ด้วยอังกุสนัย พึงแสดงสุตตะด้วยนัยทั้ง 3 อย่างนี้" ดังนี้ถามว่า นิทเทสแห่งคาถานั้น พึงเห็น ณ ที่ไหนตอบว่า พึงเห็นในการประชุมแห่งหาระ ฯ ในหารสัมปาตะ 16 นั้น เทสนาหารสัมปาตะ เป็นไฉน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานว่า"ภิกษุมีจิตไม่รักษาแล้ว เป็นมิจฉาทิฏฐิ และถูกถีนมิทธะครอบงำแล้วย่อมไปสู่อำนาจแห่งมาร" ดังนี้ ฯ ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอะไร ด้วยคำว่า "มีจิตไม่รักษา แล้ว" นี้ ตอบว่า ความประมาท ความประมาทนั้นเป็นทางแห่งความตาย ฯคำว่า "มิจฺฉาทิฏฺฐิหเตน จ" (เป็นมิจฉาทิฏฐิ) อธิบายว่า เมื่อใด บุคคลเห็นขันธปัญจกะ ที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง เมื่อนั้น บุคคลนั้นก็วิปลาส พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมตรัสถึงบุคคลวิปลาสนั้นว่า ชื่อว่า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯ ก็วิปลาสนั้นมีลักษณะอย่างไร วิปลาสมีความถือเอาสิ่งตรงกันข้ามเป็นลักษณะ ฯ บุคคลผู้ถือเอาสิ่งตรงกันข้ามนั้น ย่อมให้คลาดเคลื่อนอย่างไร ย่อมให้คลาดเคลื่อนในธรรม 3 อย่าง คือ ยังสัญญาให้คลาดเคลื่อน ยังจิตให้คลาดเคลื่อน และยังทิฏฐิให้คลาดเคลื่อน ฯ บุคคลนั้น ย่อมให้คลาดเคลื่อนในที่ไหน ย่อมให้คลาดเคลื่อนในวัตถุแห่งอัตภาพ 4 (คือ ในรูปกาย เวทนา จิต ธรรม) บุคคลนั้น ย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นตนบ้าง ย่อมตามเห็นตนว่ามีรูปบ้าง ย่อมตามเห็นรูปในตนบ้าง ย่อมตามเห็นตนในรูปบ้าง ฯ ย่อมตามเห็นเวทนา ฯลฯ ย่อมตามเห็นสัญญา ฯลฯ ย่อมตามเห็นสังขารทั้งหลาย ฯลฯ ย่อมตามเห็นวิญญาณโดยความเป็นตนบ้าง ย่อมตามเห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง ย่อมตามเห็นวิญญาณในตนบ้าง ย่อมตามเห็นตนในวิญญาณบ้าง อย่างนี้ ฯ วัตถุแห่งอัตภาพ 4ในวัตถุแห่งอัตภาพ 4 มีรูปเป็นต้นนั้น รูป เป็นวัตถุวิปัลลาสที่ 1 ย่อมเป็นไปโดยนัยว่า "อสุเภ สุภํ" ดังนี้ ฯ เวทนา เป็นวัตถุวิปัลลาสที่ 2 ย่อมเป็นไปโดยนัยว่า "ทุกฺเข สุขํ" ดังนี้ ฯ สัญญาและสังขารทั้งหลาย เป็นวัตถุแห่งวิปัลลาสที่ 3 ย่อมเป็นไปโดยนัยว่า "อนตฺตนิ อตฺตา" ดังนี้ ฯ วิญญาณ เป็นวัตถุแห่งวิปัลลาสที่ 4 ย่อมเป็นไปโดยนัยว่า "อนิจฺเจ นิจฺจํ" ดังนี้ ฯ ธรรมทั้ง 2 เป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต คือ ตัณหาและอวิชชา จิตอันตัณหาหุ้มห่อแล้ว ย่อมให้วิปัลลาสด้วยวิปัลลาส 2 คือ ในสิ่งที่ไม่งามว่างามในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ฯ จิตอันทิฏฺฐิ (ทิฏฺฐิสหิตอวิชฺชา) หุ้มห่อแล้ว ย่อมให้วิปัลลาสด้วยวิปัลลาส 2 คือ ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ในสิ่งที่ไม่ใช่ตนว่าตนในตัณหาและอวิชชาประกอบด้วยทิฏฐินั้น บุคคลใด มีอวิชชา ประกอบด้วยทิฏฐิวิปัลลาส บุคคลนั้น ย่อมตามเห็นรูปที่เป็นอดีตโดยความเป็นตน ย่อมตามเห็นเวทนาอันเป็นอดีต ฯลฯ ย่อมตามเห็นสัญญาอันเป็นอดีต ฯลฯ สังขารทั้งหลายอันเป็นอดีต ฯลฯ ย่อมตามเห็นวิญญาณอันเป็นอดีตโดยความเป็นตนฯ ในธรรมทั้ง 2 นั้น บุคคลใดมีตัณหาวิปัลลาส บุคคลนั้นย่อมยินดียิ่งซึ่งรูปอันยังไม่มาถึง (อนาคต) ฯลฯ เวทนาอันยังไม่มาถึง ฯลฯ สัญญาอันยังไม่มาถึง ฯลฯ สังขารทั้งหลายอันยังไม่มาถึง ย่อมยินดียิ่งซึ่งวิญญาณอันยังไม่มาถึง ฯ ธรรมทั้ง 2 คือ ตัณหาและอวิชชา เป็นอุปกิเลสของจิต เพราะเป็นมูลเหตุแห่งวิปัลลาสที่มีโทษอย่างยิ่ง ฯ จิตเมื่อหมดจด (บริสุทธิ์) ย่อมหมดจดจากเครื่องเศร้าหมองทั้ง 2 นั้น ฯ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏแก่สัตว์เหล่านั้น ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น แก่ผู้มีตัณหาเป็นเครื่องผูกพัน คือว่า ย่อมไม่ปรากฏแก่สัตว์ผู้แล่นไปอยู่ ผู้ท่องเที่ยว ไปอยู่สู่นรกคราวเดียว สู่กำเนิดสัตว์เดรัจฉานคราวเดียว สู่เปตวิสัยคราวเดียว สู่อสุรกายคราวเดียว สู่เทพทั้งหลายคราวเดียว และสู่มนุษย์ทั้งหลายคราวเดียวฯ คำว่า "ถูกถีนมิทธะครอบงำ" ได้แก่ ความป่วยไข้ คือ ความไม่ควรแก่การงานของจิต ชื่อว่า ถีนะ ความหดหู่ของกาย (นามขันธ์ 3 ที่เหลือ) ชื่อว่ามิทธะ ฯ คำว่า "ไปสู่อำนาจของมาร" ได้แก่ ไปสู่อำนาจของกิเลสมารและสัตตมาร (คือเทวปุตตมาร) จริงอยู่ บุคคลนั้นผู้อันมารกำบังแล้ว ย่อมเป็นผู้มุ่งหน้าไปสู่สังสาร ฯ ประชุมเทสนาลงในสัจจะ 4สัจจะเหล่านี้ 2 สัจจะแรก พระองค์ทรงแสดง ทุกข์และสมุทัย พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อความรอบรู้และเพื่อการละ คือ เพื่อการกำหนดรู้ทุกข์ เพื่อการละสมุทัยแห่งสัจจะทั้ง 2 นั้น ฯ สัจจะใด ย่อมรู้ทั่วด้วยอริยมรรคใด และย่อมละด้วยอริยมรรคใด นี้ชื่อว่า มรรค ฯ การละตัณหาและอวิชชา นี้ ชื่อว่า นิโรธ ฯ เทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าประชุมลงในสัจจะ 4นี้ ฉะนีิ้ ฯ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า "อรกฺขิเตน จิตฺเตน" เป็นต้น เพราะเหตุนั้นท่านพระมหากัจจายนะจึงประชุมเทสนาหาระนี้ว่า"อัสสาทะ (ความยินดี) อาทีนวะ (โทษ) นิสสรณะ (การสลัดออก)ผล (อานิสงส์) อุบาย (ข้อแนะนำ) อาณัตติ (บัญญัติเทสนา) ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า เทสนาหาระ" ดังนี้ จบ เทสนาหารสัมปาตะ 2. วิจยหารสัมปาตะ |