นโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะสารบัญ: ห้วเรื่อง, เลขข้อ | ไฟล์เดียว: html, text | [ค้นหา] [สารบัญ] <ก่อนนี้] [ถัดไป> เนตติปกรณ์แปล : วาสนาภาคิยสูตร [93] ในพระสูตร 16 นั้น สูตรชื่่อว่า วาสนาภาคิยะเป็นไฉน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า"ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐที่สุด สำเร็จแล้วแต่ใจถ้าบุคคลมีใจผ่องใส กล่าวอยู่ก็ตาม กระทำอยู่ก็ตาม สุขย่อมไปตามบุคคลนั้น เพราะสุจริต 3 อย่างนั้น เหมือนเงามีปกติไปตามตัว ฉะนั้น" ดังนี้สูตรนี้ ชื่อว่า วาสนาภาคิยสูตร เจ้ามหานามศากยราช ได้กราบทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระนครกบิลพัสดุ์นี้ เป็นพระนครมั่งคั่งเจริญรุ่งเรือง มีผู้คนมาก แออัดไปด้วยมนุษย์ มีถนนคับแคบ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันนั่งใกล้ (เยี่ยมเยียน) พระผู้มีพระภาคเจ้าหรือนั่งใกล้ภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นที่เจริญใจแล้ว เมื่อเข้าไปยังพระนครกบิลพัสดุ์ในเวลาเย็น ย่อมไม่เข้าไปพร้อมกับช้าง ม้า รถ เกวียน และแม้กับบุรุษสมัยนั้น หม่อมฉันลืมสติที่ปรารภถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรมพระสงฆ์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันมีความดำริว่า ถ้าในเวลาเย็นเราพึงทำกาละ คติของเราจะเป็นอย่างไร อภิสัมปรายภพจะเป็นอย่างไร"พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า"ขอถวายพระพร มหาบพิตรอย่ากลัวเลย ๆ การสวรรคตอันไม่เลวทรามจักมีแก่มหาบพิตร กาลกิริยาอันไม่เลวทรามจักมีแก่มหาบพิตรดูกรมหาบพิตร อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ธรรม 4 ประการเป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้าว่า อิติปิโส ภควา อรหํ ฯลฯ พุทฺโธ ภควา ดังนี้เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้วไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิทั้งหลาย ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนต้นไม้ ที่น้อมไป โน้มไปโอนไป ทางทิศปราจีน เมื่อรากขาดแล้ว จะพึงล้มไปทางไหน" "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พึงล้มไปทางต้นไม้น้อมไป โน้มไป โอนไป พระเจ้าข้า""ดูกรมหาบพิตร ฉันนั้นเหมือนกัน อริยสาวก ผู้ประกอบด้วยธรรม 4เหล่านี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่พระนิพพาน โน้มไปสู่พระนิพพาน โอนไปสู่พระนิพพาน ขอถวายพระพร มหาบพิตรอย่ากลัวเลย การสวรรคตอันไม่เลวทรามจักมีแก่มหาบพิตร กาลกิริยาอันไม่เลวทรามจักมีแก่มหาบพิตร" ดังนี้สูตรนี้ ชื่อว่า วาสนาภาคิยสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า"ผู้ใด แสวงหาความสุขเพื่่อตน ย่อมไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายผู้ใคร่กามสุขด้วยอาชญา ผู้นั้นย่อมได้รับความสุขในโลกหน้า" ดังนี้สูตรนี้ ชื่อว่า วาสนาภาคิยสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า"เมื่อฝูงโคข้ามแม่น้ำอยู่ ถ้าโคผู้นำไปตรงไซร้ โคเหล่านั้นทั้งหมดย่อมไปตรง เพราะมีผู้นำไปตรง ในหมู่มนุษย์ก็เหมือนกัน ผู้ใด ได้รับสมมติให้เป็นผู้ประเสริฐสุด (พระราชา) ถ้าผู้นั้นประพฤติธรรมไซร้ จะป่วยกล่าวไปใยถึงปวงประชานอกนี้ ก็ย่อมประพฤติธรรมเหมือนกัน ชาวแว่นแคว้นทั้งหมดจะประสบความสุข เพราะพระราชาตั้งมั่นอยู่ในธรรม" ดังนี้สูตรนี้ ชื่อว่า วาสนาภาคิยสูุตร [94] พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุมากรูปย่อมกระทำจีวรกรรมเพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคิดว่าพระผู้มีพระภาคเจ้ามีจีวรสำเร็จแล้ว จะเสด็จจาริกไปโดยล่วงสามเดือน ก็สมัยนั้น พวกช่างไม้นามว่า อิสิทัตตะและปุราณะ อาศัยอยู่ในเมืองสาเกตด้วยกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง พวกเขาทั้ง 2 นั้น ได้ข่าวว่า "ได้ยินว่า ภิกษุมากรูปย่อมกระทำจีวรกรรม เพื่่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ามีจีวรสำเร็จแล้ว จะเสด็จจาริกไปโดยล่วงสามเดือน" ดังนี้ครั้งนั้นแล ช่างไม้นามว่า อิสิทัตตะและปุราณะ จึงวางบุรุษไว้ในหนทางโดยสั่งว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ท่านเห็นพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาในเวลาใด พึงบอกพวกเราในเวลานั้น ดังนี้ บุรุษนั้นยืนอยู่ที่นั้น 2-3 วัน ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จมาแต่ไกล จึงเข้าไปหาช่างไม้ทั้ง 2 นั้น แล้วบอกว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า กำลังเสด็จมา ขอพวกท่านจงทราบกาลอันควรในบัดนี้เถิด ดังนี้ ครั้งนั้นแล ช่างไม้ทั้ง 2 นามว่า อิสิทัตตะและปุราณะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เดินตามพระผู้มีพระภาคเจ้าไปข้างพระปฤษฎางค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแวะจากหนทาง เสด็จเข้าไปยังโคนไม้แห่งหนึ่ง แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดถวาย ช่างไม้ทั้ง 2 นามว่า อิสิทัตตะและปุราณะ อภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่ง ณ ที่่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวลาใด พวกข้าพระองค์ ได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า จักเสด็จจาริกจากพระนครสาวัตถีไปในโกศลชนบท เวลานั้น พวกข้าพระองค์มีความเสียใจ น้อยใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจักห่างพวกเราไป เวลาใด ได้ข่าวว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกจากพระนครสาวัตถี ไปในโกศลชนบทแล้ว เวลานั้น พวกข้าพระองค์มีความเสียใจน้อยใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าห่างพวกเราไปแล้ว" ดังนี้ ฯลฯ "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวลาใด พวกข้าพระองค์ ได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า จักเสด็จจาริกจากแคว้นกาสีไปในมคธ เวลานั้น พวกข้าพระองค์มีความเสียใจ น้อยใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจักห่างพวกเราไปเวลาใด ได้ข่าวว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกจากแคว้นกาสีไปในมคธแล้ว เวลานั้น พวกข้าพระองค์ มีความเสียใจ น้อยใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าห่างพวกเราไปแล้ว" ดังนี้ ฯลฯ "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวลาใด พวกข้าพระองค์ ได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า จักเสด็จจาริกจากมคธไปในกาสี เวลานั้น พวกข้าพระองค์มีความดีใจปลื้มใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า จักใกล้พวกเรา ก็เวลาใด ได้ข่าวว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกจากมคธไปในกาสีแล้ว ดังนี้ พวกข้าพระองค์มีความดีใจ ปลื้มใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าใกล้พวกเราแล้ว"ดังนี้ ฯลฯ "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวลาใด พวกข้าพระองค์ ได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า จักเสด็จจาริกจากโกศลไปสู่พระนครสาวัตถี เวลานั้นพวกข้าพระองค์มีความดีใจปลื้มใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจักใกล้พวกเราดังนี้ เวลาใด พวกข้าพระองค์ได้ข่าวว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ทรงประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ดังนี้ พวกข้าพระองค์มีความดีใจมากปลื้มใจมากว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า ใกล้พวกเราแล้ว" ดังนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า"ดูกรช่างไม้ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ ฆราวาสคับแคบ เป็นทางแห่งธุลี บรรพชาชื่อว่า โอกาสอันว่าง เพราะอรรถะว่า ไม่มีปลิโพธเป็นเครื่องกังวล ดูกรช่างไม้ทั้งหลาย ก็การที่ท่านทั้งหลายผู้อยู่ครองเรือนมีความคับแคบอย่างนี้ สมควรแล้ว เพื่อทำความไม่ประมาท""ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความคับแคบอย่างอื่น ที่เป็นความคับแคบกว่า และที่นับว่าคับแคบยิ่งกว่าความคับแคบนี้ มีอยู่หนอ""ดูกรนายช่างไม้ ความคับแคบของท่าน เป็นไฉน""ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เมื่อใดพระเจ้าปเสนทิโกศล มีพระราชประสงค์จะเสด็จออกไปยังพระราชอุทยาน เมื่อนั้นข้าพระองค์ทั้งหลายต้องกำหนดช้างที่ขึ้นทรงของพระเจ้าปเสนทิโกศลแล้วให้พระชายาที่โปรดปราน ที่พอพระทัยของพระเจ้าปเสนทิโกศลประทับข้างหน้าพระองค์หนึ่ง ข้างหลังพระองค์หนึ่ง กลิ่นของพระชายาเหล่านั้นเป็นอย่างนี้ คือ เหมือนกลิ่นของนางราชกัญญาผู้ประพรมด้วยของหอม ดังขวดน้ำหอมที่เขาเปิดในขณะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กายสัมผัสของพระชายาเหล่านั้น เป็นอย่างนี้ คือ เหมือนกายสัมผัสของนางราชกัญญาผู้ดำรงอยู่ด้วยความสุข ดังปุยนุ่น หรือปุยฝ้าย ก็ในสมัยนั้น แม้ช้างข้าพระองค์ทั้งหลายก็ต้องระวัง แม้ชายาทั้งหลาย พวกข้าพระองค์ก็ต้องระวังแม้พระเจ้าปเสนทิโกศลเล่า พวกข้าพระองค์ก็ต้องระวัง แม้ตัวข้าพระองค์ทั้งหลายก็ต้องระวัง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ไม่รู้ว่า จิตอันลามก บังเกิดขึ้นในพระชายาเหล่านั้นเลย ข้อนี้แล คือ ความคับแคบอย่างอื่นที่คับแคบกว่า และที่นับว่าเป็นความคับแคบยิ่งกว่าความคับแคบ" ดังนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า"ดูกรช่างไม้ทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละการครองเรือนจึงคับแคบเป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง ดูกรช่างไม้ ก็การอยู่ครองเรือนคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลีอย่างนี้ สมควรแล้วเพื่อทำความไม่ประมาท" "ดูกรช่างไม้ทั้งหลาย อริยสาวกประกอบด้วยธรรม 4 ประการย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ข้างหน้า" "ธรรม 4 ประการเป็นไฉน ดูกรนายช่างไม้ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ มีใจปราศจากมลทินคือความตระหนี่ อยู่ครองเรือน มีจาคะอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน กระทำการเฉลี่ยไทยธรรม ดูกรนายช่างไม้ทั้งหลายอริยสาวก ผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประกากรเหล่านี้แล เป็นพระโสดาบันมีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า" "ดูกรนายช่างไม้ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ ก็ไทยธรรมสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีอยู่ในตระกูล ท่านเฉลี่ยไทยธรรมนั้นทั้งหมด กับผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม ท่านทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ชนเหล่าใด เป็นผู้มีศีล เป็นต้น มีประมาณเท่าไร ในแคว้นโกศล ชนเหล่านั้นท่านพึงแบ่งทำให้เสมอกันจำแนกทาน" ดังนี้"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นลาภของข้าพระองค์ทั้งหลาย ข้าพระองค์ได้ดีแล้ว ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบพฤติการณ์อย่างนี้ของข้าพระองค์ทั้งหลาย" ดังนี้สูตรนี้ ชื่่อว่า วาสนาภาคิยสูตร [95] พระสูตรใดที่กล่าวว่า "เราสละดอกไม้เพียงดอกเดียวบูชาแล้ว ก็ได้ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายตลอดหมื่นล้านกัป ด้วยวิบากที่เหลือเป็นผู้ปรินิพพานแล้ว" ดังนี้สูตรนี้ ชื่่อว่า วาสนาภาคิยสูตร พระสันธิตเถระกล่าวคาถาว่า"เราเป็นผู้มีสติ ได้อนิจจสัญญา ที่เป็นไปในพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ที่่ต้นอัสสัตถพฤกษ์อันพระรัศมีนำมาแล้ว ถอยไป 30 กัปแห่งภัททกัปนี้ เราย่อมไม่รู้จักทุคติ วิชชา 3 เรากระทำให้แจ้งแล้ว เพราะการอบรมสัญญาอันเป็นไปในพระพุทธเจ้านั้น" ดังนี้สูตรนี้ ชื่่อว่า วาสนาภาคิยสูตร พระสูตรใดที่กล่าวไว้ว่า"พระสัมมาพุทธมุนี ผู้ฆ่าตัณหา เป็นอัครบุคคลผู้อนุเคราะห์ ได้เสด็จเข้าไปยังโกศลบุรี เพื่อทรงรับบิณฑะ ในกาลก่อนกาลแห่งภัตร บุรุษคนหนึ่ง มีเครื่องประดับด้วยดอกไม้นานาชนิดอยู่ในมือ ได้เห็นพระสัมพุทธะผู้อันหมู่แห่งภิกษุกระทำไว้เบื้องหน้า ผู้อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายบูชาแล้ว กำลังเสด็จเข้าไป โดยทางแห่งพระราชา จึงร่าเริงแล้ว ยังจิตให้เลื่อมใสแล้ว ได้เข้าไปยังสำนักพระสัมพุทธะ บุรุษนั้น ครั้นเข้าไปแล้ว มีความเลื่อมใสจึงกระทำขั้วดอกไม้ให้มีสีสวย อันมีกลิ่นหอม อันเป็นที่รื่่นเริงใจแล้วน้อมไปเพื่อพระสัมพุทธะ ด้วยมือทั้งสองของตน ลำดับนั้นเปลวพระรัศมีอันรุ่งโรจน์ ในภายในแห่งวาจาที่เปล่งออกของพระพุทธเจ้าเป็นสหัสสรังสี ดุจสายฟ้าแลบออกจากกลีบเมฆ สหัสสรังสีออกจากพระรัศมี ไปกระทำประทักษิณสิ้น 3 รอบ ที่พระเศียรแห่งพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธ์แห่งพระอาทิตย์ ครั้นทำประทักษิณแล้วก็อันตรธานไปในพระเศียร พระอานนท์เห็นปาฏิหาริย์อันอัศจรรย์ อันไม่เคยมี กระทำให้ขนชูชันนี้แล้ว จึงกระทำผ้าเฉวียงบ่าแล้วได้กราบทูลคำนี้ว่า ข้าแต่พระมหามุนี อะไรเป็นเหตุแห่งการแย้ม ขอพระองค์ทรงพยากรณ์เหตุนั้น ข้าแต่พระมุนี แสงสว่างแห่งธรรมจักมี ขอพระองค์ทรงเปลื้องความสงสัยของข้าพระองค์เถิด ญาณในสัทธรรมทั้งปวงของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ย่อมเป็นไปทุกเมื่อ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงข้ามความสงสัยได้ตรัสกับพระอานนท์ผู้มีความสงสัยอย่างนี้ว่า ดูกรอานนท์ บุรุษใด ยังจิตให้เลื่อมใสในเรา บุรุษนั้นจักไม่ไปสู่ทุคติ 84 กัป จักปกครองราชอาณาจักรอันเป็นทิพย์ เป็นเทพมีความงามในเทวดาทั้งหลาย ในมนุษย์จักเป็นจอมราชาในมนุษย์ทั้งหลาย บุคคลนั้น บวชแล้วในภพสุดท้ายจักทำให้แจ้งซึ่งสัจจธรรม 4 หรือจักเป็นพระปัจเจกโพธิ นามว่า วฏังสกะผู้มีราคะอันขจัดแล้ว เมื่อจิตเลื่อมใสในพระตถาคตสัมมาสัมพุทธะ หรือในสาวกของพระตถาคต ทักขิณาย่อมไม่ชื่อว่า มีผลน้อย พระพุทธเจ้าทั้งหลาย อันใคร ๆ ไม่อาจคิดได้ ธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งหลายอันใคร ๆไม่อาจคิดได้ เมื่อบุคคลเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าและพระธรรมอันใคร ๆไม่อาจคิดได้ ย่อมมีวิบากอันใคร ๆ ไม่อาจคิดได้" ดังนี้สูตรนี้ ชื่อว่า วาสนาภาคิยสูตร [96] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า"ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดรู้จิตด้วยจิต ย่อมรู้บุคคลบางคนในโลกนี้ ผู้มีจิตเลื่อมใสแล้วว่า บุคคลนี้ย่อมดำเนินไปอย่างไร เป็นผู้ดำเนินไปสู่ปฏิปทามีทานเป็นต้น และยังมรรคมีทัสสนะเป็นต้นให้งอกงามแล้วถ้าบุคคลนี้ พึงทำกาละในสมัยนี้ ก็พึงเกิดในสุคติ เหมือนบุคคลเชิญมาไว้ด้วยทานนั้น ด้วยมรรคนั้น ฉะนั้น ข้อนี้เพราะเหตุอะไร เพราะจิตของเขาผ่องใส ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุแห่งจิตแล สัตว์บางพวกในโลกนี้เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์" พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า "พระพุทธเจ้า ทรงทราบบุคคลบางคนในโลกนี้ ผู้มีจิตผ่องใส ได้พยากรณ์เนื้อความนี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ในสำนักพระองค์ว่า ถ้าในสมัยนี้บุคคลนี้พึงทำกาละไซร้ บุคคลนี้พึงเข้าถึงสุคติ เพราะจิตของเขาผ่องใสเขาเป็นอย่างนั้น เหมือนเชิญมาไว้ เพราะเหตุแห่งจิตผ่องใสแล บุคคลผู้มีปัญญานั้น ย่อมเข้าถึงสุคติ เพราะกายแตกไป" ดังนี้ เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล ฯ สูตรนี้ ชื่อว่า วาสนาภาคิยสูตร พระสูตรใดที่กล่าวว่า"ดูกรเทพนารี ท่านขึ้นนั่งบนวิมานเรือ หุ้มไว้ด้วยทองคำ ด้วยบุญกรรม เล่นในสระโบกขรณี เก็บดอกปทุมอยู่ ท่านมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญอะไร ท่านมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ เพราะบุญอะไร โภคะทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่ง อันใจปรารถนาแล้ว ย่อมเกิดแก่ท่าน เพราะบุญอะไรดูกรเทวดา เราขอถามท่าน นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร" เทพนารีนั้น ผู้อันเทวราชถามแล้ว มีใจยินดี (ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า) "ข้าพระองค์สดับมาว่า เทวดานั้นผู้อันเทวราชถามปัญหาแล้วได้พยากรณ์ในสำนักแห่งท้าวสักกเทวราชว่า หม่อมฉันเดินทางไกลเห็นพระสถูป อันเป็นที่รื่นรมย์งดงาม ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะผู้ทรงยศ ได้ยังใจให้เลื่อมใสในพระสถูปนั้น หม่อมฉันเลื่อมใสแล้วได้บูชาด้วยดอกปทุม ด้วยมือทั้ง 2 ของหม่อมฉัน ผลทั้งปวงนี้เป็นวิบากแห่งกรรมนั้น หม่อมฉันกระทำบุญแล้วจึงได้ผลเช่นนี้" ดังนี้สูตรนี้ ชื่อว่า วาสนาภาคิยสูตร พระสูตรใดที่กล่าวถึงทานและผลแห่งทาน ศีลและผลแห่งศีล สวรรค์และการให้เกิดในสวรรค์ บุญ 10 มีทาน มีศีล และภาวนาเป็นต้น และกล่าวถึงผลแห่งบุญ 10 เหล่านั้น สูตรนี้ ชื่่อว่า วาสนาภาคิยสูตร อีกอย่างหนึ่ง "เมื่อสถูปดินที่เขากระทำอุทิศพระสัมมาสัมพุทธะ บรรจุพระสรีรธาตุไว้ภายใน นระเหล่าใดมีใจเลื่อมใส นระเหล่านั้น พึงทำการนอบน้อมในสถูปแม้นั้นแล้วย่อมบันเทิงในสวรรค์ทั้งหลาย"คำที่กล่าวนี้ก็ชื่อว่า วาสนาภาคิยสูตร [97] พระสูตรใดที่กล่าวว่า"ชนทั้งหมด มีวรรณะเช่นกับเทพบุตร มีสัณฐานงดงาม เพราะทำดินให้ชุ่มด้วยน้ำสร้างสถูปของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธะ ข้าแต่ท่านทั้งหลายผู้ดำเนินไปดีแล้ว พระสถูปนี้เป็นของพระสุคต ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ ผู้ทรงไว้ซึ่งพลธรรม 10 ประการ พวกเทวดาและมนุษย์เลื่อมใสในพระสถูปนั้นแล้ว กระทำการนอบน้อมอยู่ จักพ้นจากชรามรณะ" ดังนี้สูตรนี้ชื่อว่า วาสนาภาคิยสูตร สูตรใดที่กล่าวว่า"ข้าพเจ้าได้ยกอุบล 4 ดอก และพวงมาลัยขึ้นสู่สถูปของพระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ บุญนั้น ข้าพเจ้ากระทำแล้ว เป็นบุญโอฬาร(ประเสริฐ) ได้มีแล้วหนอ นับแต่ภัททกัปนี้ถอยไป 30 กัป ข้าพเจ้าไม่รู้จักทุคติ ไม่ไปสู่วินิบาต เพราะบูชาสถูปของพระศาสดา" ดังนี้สูตรนี้ ชื่อว่า วาสนาภาคิยสูตร สูตรใดที่ท่านกล่าวว่า"ข้าพเจ้า ได้บูชาสถูปของพระโลกนาถผู้ชนะมาร ผู้ทรงไว้ซึ่งพระลักษณะ 32 ประการ จึงเป็นผู้มีใจร่าเริงในอายุกัปสิ้นแสนอัตภาพ บุญใดที่ข้าพเจ้ากระทำไว้ ด้วยบุญนั้น ข้าพเจ้าไม่ไปสู่วินิบาตเลย บุญเหล่านั้นได้กระทำสมบัติอันเลิศ และความเป็นพระราชาอันประเสริฐทั้งหลายปัญญาจักษุใด อันข้าพเจ้าตั้งไว้แล้ว ในศาสนาของพระโลกนาถผู้ฝึกคนที่ยังไม่ได้ฝึก วิมุตตจิตใดที่ตั้งไว้อย่างนั้น ปัญญาจักษุและวิมุตตจิตนั้นทั้งหมด ข้าพเจ้าได้แล้ว ข้าพเจ้าเป็นผู้ขจัดตัณหาเพียงดังเครือเถาได้แล้วเป็นผู้พร้อมด้วยผลวิมุตตจิต" ดังนี้สูตรนี้ ชื่อว่า วาสนาภาคิยสูตร [98] สูตรใดที่ท่านกล่าวว่า"ก็ข้าพเจ้าได้ถวายไทยธรรม เพียงข้าวฟ่างและข้าวสุกประมาณทะนานหนึ่ง ในพระปัจเจกพุทธะ ผู้มีจิตหลุดพ้นแล้ว ผู้ไม่กระด้าง (ไม่มีตะปูตรึงใจ) ไม่มีอาสวะ ผู้มีปกติอยู่ด้วยธรรมอันไม่มีข้าศึก ผู้มีใจไม่ข้องข้าพเจ้าเชื่อมั่น ซึ่งปัจเจกธรรมอันสูงสุดในพระปัจเจกพุทธะนั้น ข้าพเจ้าได้ปรารถนาว่า แม้ข้าพเจ้า ก็พึงกระทำให้แจ้งซึ่งธรรมอันพระปัจเจกพุทธะได้แล้ว เมื่อข้าพเจ้า ผู้อันพระปัจเจกพุทธะผู้มีปกติอยู่ด้วยวิหารธรรมอย่างนี้สงเคราะห์แล้ว ข้าพเจ้าอย่าได้มีความอาลัยแม้ในกาลไหน ๆ ด้วยเพราะวิบากกรรมที่กระทำแล้วในพระปัจเจกพุทธะนั้นนั่นแหละ ข้าพเจ้าเข้าถึงอุตตรกุรุทวีปสิ้น 1,000 ครั้ง ข้าพเจ้าเข้าถึงกายอันประเสริฐที่สุดในหมู่บริวารทั้งหลาย ผู้ลูบไล้ประดับด้วยมาลาและอาภรณ์อันวิจิตร เพราะวิบากแห่งกรรมนั้นแหละ ข้าพเจ้ามีจิตหลุดพ้นแล้ว ไม่กระด้าง ไม่มีอาสวะ เป็นผู้มีร่างกายอันทรงไว้ในที่สุด เพราะก้าวล่วงกุศลและอกุศลแล้ว สมาคมของข้าพเจ้าได้มีแล้วแก่พระปัจเจกพุทธะทั้งหลายเหล่านี้ฉะนี้ พระตถาคตชินเจ้า ทรงกระทำให้ประจักษ์แล้ว ได้ตรัสคำว่า "สิ่งใดอันผู้มีศีลปรารถนาแล้ว สิ่งนั้นย่อมสำเร็จ" ดังนี้ ข้าพเจ้า คิดด้วยใจโดยประการใด ๆ ความสำเร็จโดยประการนั้นย่อมมี ภพนี้เป็นภพมีในที่สุดของข้าพเจ้า" ดังนี้สูตรนี้ ชื่อว่า วาสนาภาคิยสูตร พระสูตรใดที่กล่าวไว้ว่า"ในกัปที่ 31 พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่าสิขี เป็นพระชินเจ้า ผู้ไม่มีกิเลสเป็นเหตุให้หวั่นไหว ผู้มีปกติเห็น (ทรงทราบ) หาที่สุดมิได้ พระราชาผู้เป็นพระภาดาของพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้นั้น ทรงเลื่อมใสยิ่งในพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิขี และในพระธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เมื่อพระพุทธเจ้าผู้นำวิเศษของโลกปรินิพพานแล้ว ได้ทรงกระทำพระสถูปใหญ่กว้างขวางประมาณหนึ่งคาวุตโดยรอบ เพื่อพระมเหสีพุทธเจ้า ผู้สูงสุดกว่านระ ผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ มนุษย์ผู้มีปกตินำวัตถุมาบูชาพระสถูปนั้น มีใจร่าเริง ประคองดอกมะลิซ้อนบูชา ดอกมะลิดอกหนึ่งของคนนั้นถูกลมพัดตกไปแล้ว ข้าพเจ้าเก็บดอกมะลินั้นนั่นแหละมนุษย์นั้น ผู้มีความสำเร็จด้วยดอกไม้ มีใจเลื่อมใสยิ่ง ได้กล่าวกะข้าพเจ้าว่าเราให้ดอกไม้นั้นแก่ท่านนั่นแหละ ข้าพเจ้าถือเอาดอกไม้ดอกเดียวนั้นตั้งใจมั่นในการกำหนดพระสถูปนั้น ตามระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าบ่อย ๆ ตั้งแต่ 30 กัป จนถึงภัททกัปนี้ ข้าพเจ้า ไม่รู้จักทุคติ และย่อมไม่ไปสู่วินิบาต นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระสถูป" ดังนี้สูตรนี้ ชื่อว่า วาสนาภาคิยสูตร พระสูตรใดที่กล่าวว่า"พระนครชื่่อว่ากปิละ ของพระราชาพระนามว่า พรหมทัต เป็นพระนครมีทางใหญ่ ที่เขาจัดไว้ดีแล้ว มีมนุษย์เกลื่อนก่น เป็นพระนครมั่งคั่งรุ่งเรือง ในพระนครอันประเสริฐนั้น ข้าพเจ้า ขายขนมกุมมาสแห่งแคว้นปัญจาละ ข้าพเจ้านั้นได้เห็นพระปัจเจกสัมพุทธะพระนามว่า อริฏฐะผู้มียศ ผู้ยืนอยู่ในเบื้องบน (เวหาส) เป็นผู้ร่าเริงแล้ว ยังจิตให้เลื่อมใสแล้วนิมนต์พระอริฏฐะ ผู้สูงสุดแห่งนระ ด้วยธุวภัตรที่มีอยู่ในเรือนของข้าพเจ้าก็ในกาลนั้น เป็นเดือนกัตติกา ใกล้วันปัณณรสี ข้าพเจ้าถือเอาคู่แห่งผ้าใหม่ น้อมเข้าไปถวายพระปัจเจกพุทธะอริฏฐะ ในกาลนั้น พระมุนีปัจเจกพุทธะ ผู้สูงสุดแห่งนระ ผู้อนุเคราะห์ ผู้กรุณา ผู้ฆ่าตัณหา ทราบว่าข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใสแล้วรับเอา ข้าพเจ้านั้น ครั้นกระทำกรรมดีที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญแล้ว จึงท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เคลื่อนจากเทวโลกนั้น เกิดเป็นบุตรคนเดียวของเศรษฐี ในตระกูลมั่งคั่งในพระนครพาราณสี เป็นที่รักใคร่กว่าสัตว์มีปาณะทั้งหลาย ในกาลนั้น ข้าพเจ้าถึงความเป็นผู้รู้เดียงสา (ความผิดความชอบ) ผู้อันเทวบุตรตักเตือน จึงลงจากปราสาทเข้าไปเฝ้าพระสัมพุทธะพระนามว่า โคดม พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า โคดมนั้น ได้ทรงแสดงแล้วซึ่งธรรมแก่ข้าพเจ้าเพื่ออนุเคราะห์พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มุนีนั้น ได้ทรงแสดงสัจจธรรม คือ สัจจ 4 เหล่านี้ คือทุกข์ (ทุกขสัจจะ) ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ (สมุทยสัจจะ) การก้าวล่วงซึ่งทุกข์ (นิโรธสัจจะ) และอริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 อันเข้าไปสงบทุกข์(มัคคสัจจะ) ข้าพเจ้าฟังพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแล้ว เป็นผู้ยินดีในพระศาสนาอยู่ เป็นผู้ไม่ประมาททั้งกลางวันทั้งกลางคืน แทงตลอดแล้วซึ่งสมถะ อาสวะเหล่าใด ทั้งภายในและภายนอกของข้าพเจ้าในกาลก่อน อาสวะเหล่านั้นทั้งสิ้น อันมรรคตัดขาดแล้ว และจักไม่เกิดขึ้นอีก ทุกข์ย่อมเป็นอันข้าพเจ้ากระทำให้ถึงที่สุดแล้ว อัตภาพนี้มีการท่องเที่ยวไปแห่งความเกิดและความตายได้มีที่สุดแล้ว บัดนี้ ย่อมไม่มีภพใหม่ต่อไป" ดังนี้ สูตรนี้ ชื่อว่า วาสนาภาคิยสูตร +นิพเพธภาคิยสูตร |