นโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะสารบัญ: ห้วเรื่อง, เลขข้อ | ไฟล์เดียว: html, text | [ค้นหา] [สารบัญ] <ก่อนนี้] [ถัดไป> เนตติปกรณ์แปล : มิสสกสูตร [106] ในพระสูตร 16 นี้ สูตรชื่อว่า"สังกิเลสภาคิยะและวาสนาภาคิยะเป็นไฉน"ในอุโปสถสูตร พระองค์ทรงเปล่งอุทานว่า"ฝนคือกิเลส ย่อมรั่วรดสิ่งที่ปกปิด ย่อมไม่รั่วรดสิ่งที่เปิด เพราะฉะนั้น พวกเธอพึงเปิดสิ่งที่ปกปิด ฝนคือกิเลสย่อมไม่รั่วรดสิ่งที่เปิดนั้นอย่างนี้" ดังนี้คำว่า "ฝนคือกิเลสย่อมรั่วรดสิ่งที่ปกปิด" นี้ เป็นสังกิเลส ฯ คำว่า"ฝนย่อมไม่รั่วรดสิ่งที่เปิด" นี้ เป็นวาสนา ฯ คำว่า "เพราะฉะนั้น พวกเธอพึงเปิดสิ่งที่ปกปิดไว้ ฝนคือกิเลส ย่อมไม่รั่วรดสิ่งที่เปิดอย่างนี้" นี้เป็นสังกิเลสและวาสนา ฯ คำนี้เป็นสูตร ชื่อว่า สังกิเลสภาคิยะและวาสนาภาคิยะ ฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า"ดูกรมหาบพิตร บุคคล 4 เหล่านี้ มีอยู่ในโลก บุคคล 4 เหล่านั้นเป็นไฉน บุคคลผู้มืดมา มืดไป บุคคลผู้มืดมา สว่างไป บุคคลผู้สว่างมามืดไป และบุคคลผู้สว่างมา สว่างไป" ดังนี้ ในบุคคลเหล่านั้น บุคคลใดสังกิเลส ฯ บุคคลใดมืดมา สว่างไป และสว่างมา สว่างไป บุคคลทั้ง 2 นี้เป็นส่วนแห่งวาสนา ฯ คำนี้ ชื่่อว่า สูตรอันเป็นส่วนแห่งสังกิเลสและส่วนแห่งวาสนา ฯ ในพระสูตร 16 นั้น สูตรชื่อว่า"สังกิเลสภาคิยะและนิพเพธภาคิยะเป็นไฉน"พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า"นักปราชญ์ทั้งหลาย ย่อมไม่กล่าว เครื่องผูกอันเกิดแต่เหล็ก เกิดแต่ไม้ และเกิดแต่หญ้าปล้องว่ามั่น แต่สัตว์ผู้กำหนัดแล้ว กำหนัดนักแล้วในแก้วมณี ในแก้วกุณฑล และความห่วงใยในบุตรและภรรยา" ดังนี้ ข้อนี้ เป็นสังกิเลส ฯ "นักปราชญ์ทั้งหลาย กล่าวว่า ความกำหนัด และความกำหนัดนักแล้วเป็นต้น อันหน่วงลง (ลงอบาย) อันหย่อน และอันบุคคลเปลื้องได้ยากนี้ว่ามั่น นักปราชญ์ทั้งหลายตัดเครื่องผูก แม้นั้นแล้ว เป็นผู้ไม่มีความห่วงใยละกามสุขแล้ว ย่อมเว้นรอบ" ดังนี้ข้อนี้ เป็นนิพเพธะ สูตรนี้ ชื่อว่า สังกิเลสภาคิยะและนิพเพธะภาคิยะ ฯ [107] ในเจตนาสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมจงใจถึงสิ่งใด ย่อมดำริถึงสิ่งใด และย่อมครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์ เพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณเมื่อมีอารมณ์เป็นปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ตัณหาอันให้เกิดในภพใหม่ต่อไปจึงมี เมื่อตัณหาอันให้เกิดในภพใหม่ต่อไปมี ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงมี ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ แต่ยังครุ่นคิดถึงสิ่งใดสิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์เพื่อความตั้งมั่นแห่งวิญญาณ เมื่อมีอารมณ์เป็นปัจจัยความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้วตัณหาอันให้เกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไปจึงมี เมื่อตัณหาอันให้เกิดในภพใหม่ต่อไปมี ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงมีความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้" ดังนี้ข้อนี้ เป็นสังกิเลส ฯ "ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ ไม่ครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นย่อมไม่เป็นอารมณ์เพื่อความตั้งมั่นแห่งวิญญาณ เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งมั่นแล้ว ไม่เจริญแล้ว ตัณหาอันให้เกิดในภพใหม่ต่อไปจึงไม่มีเมื่อตัณหาอันให้เกิดใหม่ต่อไปไม่มี ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัสและอุปายาส จึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี ด้วยประการฉะนี้" ดังนี้ข้อนี้เป็นนิพเพธะ ฯ สูตรนี้ ชื่อว่า สังกิเลสภาคิยะและนิพเพธภาคิยะ ฯ [108] ในพระสูตร 16 นั้น สูตรชื่อว่า สังกิเลสภาคิยะและอเสกขภาคิยะเป็นไฉน ในมุทสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชน ผู้มิได้สดับแล้ว ย่อมกล่าวว่า "สมุทร สมุทร" ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมุทรนั้นไม่ชื่อว่า เป็นสมุทร ในวินัยของพระอริยเจ้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมุทรนั้น เป็นกองแห่งน้ำใหญ่ เป็นห้วงแห่งน้ำใหญ่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นสมุทรของบุรุษ กำลังของจักษุนั้นสำเร็จแล้วด้วยรูปายตนะ" ดังนี้เป็นสังกิเลส ฯ "บุคคลใด ย่อมอดกลั้นกำลังอันเกิดจากรูปายตนะนั้นได้ บุคคลนี้เราเรียกว่าเป็นพราหมณ์ ข้ามสมุทร คือ จักษุ ซึ่งมีทั้งคลื่น มีทั้งน้ำวนมีทั้งสัตว์ร้าย มีทั้งผีเสื้อน้ำ แล้วขึ้นถึงฝั่่ง ตั้งอยู่บนบก" ดังนี้ นี้เป็นอเสกขะ ฯ "ดูกรภิกษุ โสตะเป็นสมุทร ฯลฯ ฆานะเป็นสมุทร ฯลฯ ชิวหาเป็นสมุทร ฯลฯ กายเป็นสมุทร ฯลฯ ใจเป็นสมุทรของบุรุษ กำลังของใจนั้นสำเร็จแล้วด้วยธัมมารมณ์" ดังนี้ นี้เป็นสังกิเลส ฯ "บุคคลใด ย่อมอดกลั้นกำลังอันเกิดจากธัมมายตนะนั้นได้ บุคคลนี้เราเรียกว่า เป็นพราหมณ์ ข้ามสมุทร คือ ใจ ซึ่งมีทั้งคลื่น มีทั้งน้ำวน มีทั้งสัตว์ร้าย มีทั้งผีเสื้อน้ำ แล้วขึ้นถึงฝั่งตั้งอยู่บนบก" ดังนี้ นี้เป็นอเสกขะพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว ครั้นตรัสเนื้อความนี้แล้ว จึงตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า"บุคคลใด ข้ามสมุทรนี้ ซึ่งมีทั้งคลื่น มีทั้งน้ำวน มีทั้งสัตว์ร้าย มีทั้งผีเสื้อน้ำ อันน่าหวาดกลัว ซึ่งข้ามได้แสนยากได้แล้ว บุคคลนั้นเราเรียกว่าผู้จบเวท อยู่จบพรหมจรรย์ ถึงที่สุดแห่งโลก ข้ามถึงฝั่งแล้ว" ดังนี้ ฯ นี้เป็นอเสกขะ สูตรนี้ชื่อว่า สังกิเลสภาคิยะและอเสกขภาคิยะ ฯ ในพาลิสิกสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในโลกนี้มีเบ็ด 6 ชนิด เพื่อนำสัตว์ไปในสิ่งที่มิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์ (ฆ่า) สัตว์ทั้งหลาย เบ็ด 6 ชนิด เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจน่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุ ย่อมเพลิดเพลินย่อมสรรเสริญ หมกมุ่นซึ่งรูปนั้นอยู่ไซร้ ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ผู้กลืนกินเบ็ดของมาร ถึงความวิบัติ ถึงความพินาศ อันมารผู้มีบาป พึงกระทำได้ตามชอบใจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เสียง ฯลฯ กลิ่น ฯลฯ รส ฯลฯ โผฏฐัพพะและธัมมารมณ์ อันพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารักชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมสรรเสริญหมกมุ่นซึ่่งธัมมารมณ์นั้นอยู่ไซร้ ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ผู้กลืนกินเบ็ดของมารถึงความวิบัติ ถึงความพินาศ อันมารผู้มีบาป จึงกระทำได้ตามชอบใจ" ดังนี้ข้อนี้ เป็นสังกิเลส"ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลินไม่สรรเสริญ ไม่หมกหมุ่นรูปนั้นไซร้ ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ผู้ไม่กลืนกินเบ็ดของมาร ได้ทำลายเบ็ด ได้ย่ำยีเบ็ด ไม่ถึงความพิบัติ ไม่ถึงความพินาศ อันมารผู้มีบาปพึงกระทำตามชอบใจไม่ได้ดูกรภิกษุทั้งหลาย เสียง ฯลฯ กลิ่น ฯลฯ รส ฯลฯ โผฏฐัพพะและธัมมารมณ์ อันพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารักชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่นธัมมารมณ์นั้นไซร้ ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ผู้ไม่กลืนกินเบ็ดของมาร ได้ทำลายเบ็ด ได้ย่ำยีเบ็ด ไม่ถึงความพิบัติ ไม่ถึงความพินาศ อันมารผู้มีบาปพึงกระทำตามชอบใจไม่ได้" ดังนี้ข้อนี้เป็นอเสกขะ พระสูตรนี้ชื่อว่า สังกิเลสภาคิยะและอเสกขภาคิยะ ฯ [109] ในพระสูตร 16 นั้น สูตรว่า"สังกิเลสภาคิยะ นิพเพทภาคิยะและอเสกขภาคิยะ เป็นไฉน" ในโลกสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานว่า "โลก (คือหมู่สัตว์) นี้ มีความเร่าร้อนเกิดขึ้นแล้ว ผู้อันทุกขสัมผัสครอบงำแล้ว ร้องไห้อยู่ ย่อมบ่นเพ้อ โดยความเป็นตัวตน เพราะสัตว์ทั้งหลาย ย่อมสำคัญซึ่งการกระทำแห่งทุกข์ของตนโดยประการใด ๆ ทุกข์นั้นอันบุคคลพึงเยียวยาโดยประการอื่น สัตวโลกนี้ ข้องแล้วในภพ อันมีความแปรปรวนเป็นอย่างอื่่นเป็นผู้เดือดร้อนในภพแล้ว ก็ยินดีเพลิดเพลินนั่นแหละ สัตวโลก ย่อมยินดีเพลิดเพลินสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นภัย สัตวโลก ย่อมกลัวสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นทุกข์"ดังนี้ ข้อนี้ เป็นสังกิเลส ฯ และคำว่า "พรหมจรรย์นี้ เราประพฤติเพื่อการละภพ" ดังนี้ ข้อนี้ เป็นนิพเพธะ ฯ "ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง กล่าวการหลุดพ้นจากภพด้วยภพ (หลุดจากกามภพด้วยรูปภพเป็นต้น) เรากล่าว สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดว่า เป็นผู้ไม่หลุดพ้นจากภพ ก็หรือว่าสมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง กล่าวการสลัดออกจากภพด้วยความไม่มี (วิภวะ) เรากล่าวว่าสมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดว่า เป็นผู้ไม่สลัดออกไปจากภพเพราะทุกข์นี้อาศัยอุปธิมีขันธ์เป็นต้นจึงเกิดขึ้น" ดังนี้ ข้อนี้เป็น สังกิเลส ฯ และคำว่า "เพราะความสิ้นไปแห่งอุปาทานทั้งปวง ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ย่อมไม่มี" ดังนี้ข้อนี้ ชื่่อว่า นิพเพธะ ฯ "เธอจงดูโลก (จิต) นี้ สัตว์ทั้งหลายมากอันอวิชชาครอบงำแล้ว หรือยินดีแล้ว ซึ่งขันธปัญจกะที่เกิดแล้ว เป็นผู้ไม่พ้นจากภพ ก็ภพเหล่าใดเหล่าหนึ่งในที่ทั้งปวง (คือเบื้องบน เบื้องต่ำ และเบื้องขวาง) โดยสภาพทั้งปวง (คือ อบาย 4 และสุคติ เป็นต้น) ภพทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา" ดังนี้ ข้อนี้ เป็นสังกิเลส ฯ "เมื่อภิกษุเห็นขันธปัญจกะ กล่าวคือภพ ตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้อยู่ ย่อมละภวตัณหาได้ ทั้งไม่ยินดีในวิภวตัณหาเพราะความสิ้นไปแห่งตัณหา โดยประการทั้งปวง นิพพานจึงมี เพราะความดับด้วยอริยมรรคอันสำรอกโดยไม่เหลือ" ดังนี้ ข้อนี้ เป็นนิพเพธะ ฯ เพราะความไม่เกิดแห่งภิกษุผู้มีตัณหาอันดับแล้วนั้น ภพใหม่จึงไม่มีภิกษุนั้นเป็นผู้ครอบงำมาร เป็นผู้ชนะสงครามแล้ว ก้าวล่วงภพทั้งปวงเป็นผู้คงที่" ดังนี้ ข้อนี้ เป็นอเสกขะ ฯ สูตรนี้ชื่อว่า สังกิเลสภาคิยะนิพเพธภาคิยะและอเสกขภาคิยะ ฉะนี้ ฯ ในอนุโสตสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า"ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล 4 จำพวกนี้ มีอยู่ บุคคล 4 จำพวกเป็นไฉน บุคคลผู้ไปตามกระแส 1 บุคคลผู้ไปทวนกระแส 1 บุคคลผู้มีตน (จิต)ตั้งมั่นแล้ว 1 และบุคคลผู้เป็นพราหมณ์ ข้ามฝั่งแล้วยืนอยู่บนบก 1 ฯ ในบุคคล 4 นั้น บุคคลใด ไปตามกระแส (เสพกามและทำบาปกรรม) บุคคลนี้(เป็นอันธปุถุชน) ชื่อว่า เป็นผู้มีส่วนแห่งสังกิเลส ฯ ในบุคคล 4 นั้น บุคคลใด ไปทวนกระแส (กัลยาณปุถุชน) และบุคคลใด มีตนตั้งมั่นแล้ว (พระเสกขะ) บุคคลทั้ง 2 นี้ เป็นผู้มีส่วนแห่งปัญญาเครื่องแทงตลอด ฯ ในบุคคล 4 นั้น บุคคลใด เป็นพราหมณ์ข้ามฝั่งยืนอยู่บนบก บุคคลนี้เป็นพระอเสกขะ ฯ สูตรนี้ ชื่อว่า สังกิเลสภาคิยะ นิพเพธภาคิยะและอเสกขภาคิยะ ฉะนี้แล ฯ" [110] ในพระสูตร 16 นั้น สูตรชื่อว่า"สังกิเลสภาคิยะ วาสนาภาคิยะและนิพเพธภาคิยะ เป็นไฉน" ในฉฬาภิชาติสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "บุคคลดำมีชาติดำ (สกุลต่ำ) ประพฤติธรรมดำมีอยู่ บุคคลดำมีชาติดำ ประพฤติธรรมขาวมีอยู่ บุคคลดำมีชาติดำ ยังนิพพานอันตนเห็นแล้วโดยสิ้นเชิงว่า ธรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ให้สำเร็จมีอยู่บุคคลขาวมีชาติขาว (สกุลสูง) ประพฤติธรรมดำมีอยู่ บุคคลขาวมีชาติขาว ประพฤติธรรมขาวมีอยู่ บุคคลขาวมีชาติขาว ย่อมยังพระนิพพานอันตนเห็นแล้วโดยสิ้นเชิงว่า ธรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ให้สำเร็จมีอยู่" ฯ ในบุคคล 6 เหล่านั้น บุคคล 2 นี้ คือ บุคคลดำมีชาติดำประพฤติธรรมดำ และบุคคลขาวมีชาติขาว ประพฤติธรรมดำ นี้ เป็นส่วนแห่งสังกิเลส ฯ ในบุคคล 6 นั้น บุคคล 2 นี้ คือ บุคคลดำมีชาติดำ ประพฤติธรรมขาวและบุคคลขาวมีชาติขาว ประพฤติธรรมขาวนี้เป็นส่วนแห่งวาสนา ฯ ในบุคคล 6 นั้น บุคคล 2 นี้ คือ บุคคลดำมีชาติดำ ย่อมยังพระนิพพานอันตนเห็นแล้วว่า ธรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ให้สำเร็จ และบุคคลขาวมีชาติขาว ย่อมยังพระนิพพานอันตนเห็นแล้วว่าธรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาวให้สำเร็จ นี้ เป็นส่วนแห่งนิพเพธะ ฯ สูตรนี้ ชื่อว่า สังกิเลสภาคิยะ วาสนาภาคิยะและนิพเพธภาคิยะ ฯ ในกรรมวรรค ตรัสว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรม 4 เหล่านี้มีอยู่ กรรม 4 เหล่านั้น เป็นไฉน กรรมดำมีวิบากดำ มีอยู่ กรรมขาวมีวิบากขาว มีอยู่ กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาวมีอยู่ กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นกรรมสูงสุด เป็นกรรมประเสริฐสุด ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม"ในกรรม 4 เหล่านั้น กรรมดำมีวิบากดำ และกรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำและขาว ทั้ง 2 นี้ เป็นสังกิเลส ฯ กรรมขาวมีวิบากขาว นี้เป็นวาสนา ฯ กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นกรรมสูงสุด เป็นกรรมประเสริฐสุด ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม นี้เป็นนิพเพธะ ฯ สูตรนี้ชื่อว่า สังกิเลสภาคิยะ วาสนาภาคิยะและนิพเพธภาคิยะ ฉะนี้แล ฯ [111] ในพระสูตร 16 นั้น สูตรชื่อว่า"วาสนาภาคิยะและนิพเพธภาคิยะเป็นไฉน" สูตรที่กล่าวว่า"การได้ความเป็นมนุษย์ ย่อมเป็นผู้มีกิจ (หน้าที่) 2 อย่าง คือกิจที่ควร และกิจที่ไม่ควรทีเดียว บุญทั้งหลาย หรือการละสังโยชน์ เป็นกิจดี ควรทำ" ดังนี้คำว่า "บุญทั้งหลาย เป็นกิจดี" ดังนี้ ข้อนี้ เป็นวาสนา ฯ คำว่า"หรือการละสังโยชน์" ดังนี้ เป็นนิพเพธะ ฯ พระสูตรว่า "บุคคลทั้งหลายผู้ทำบุญ ครั้นทำบุญทั้งหลายแล้ว ย่อมไปสู่สวรรค์จากสวรรค์นั่นแหละบุคคลผู้ละสังโยชน์ทั้งหลาย ย่อมพ้นจากชราและมรณะ" ดังนี้ คำว่า"บุคคลผู้ทำบุญ ครั้นทำบุญทั้งหลายแล้วย่อมไปสู่สวรรค์จากสวรรค์"ดังนี้ เป็นวาสนา ฯ คำว่า "บุคคลผู้ละสังโยชน์ทั้งหลาย ย่อมพ้นจากชราและมรณะ" ดังนี้ เป็นนิพเพธะ ฯ สูตรนี้ ชื่อว่า วาสนาภาคิยะและนิพเพธภาคิยะ ดังนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเพียรเหล่านี้ มี 2 อย่าง ความเพียร 2อย่างเป็นไฉน บุคคลใด ย่อมสละจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร (ถวาย) ในบรรพชิตผู้ไม่มีเรือน ผู้ออกบวชจากเรือน และในบรรพชิตทั้งหลายผู้ไม่มีเรือนออกบวชจากเรือนนั้น บุคคลใด สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นการสิ้นไปแห่งตัณหา เป็นวิราคะ นิโรธะ และนิพพาน" ดังนี้ ฯ ใน 2 อย่างนั้น บุคคลใด สละจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ในบรรพชิตผู้ไม่มีเรือน นี้ เป็นวาสนา ฯ ในบรรพชิตผู้ไม่มีเรือนนั้น บุคคลใด สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นการสิ้นไปแห่งตัณหา เป็นวิราคะนิโรธะ และนิพพาน นี้ เป็นนิพเพธะ ฯ สูตรนี้ ชื่อว่า วาสนาภาคิยะ และนิพเพธภาคิยะ ฉะนี้ แล ฯ ในพระสูตร 16 นั้น พระสูตรที่ชื่อว่า ส่วนแห่งตัณหาสังกิเลส พึงแสดงด้วยตัณหา 3 คือ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา เพราะเป็นฝ่ายแห่งตัณหาอย่างเดียว หรือตัณหานั้นยึดมั่นโดยอาศัยวัตถุใด ๆ พึงแสดงด้วยวัตถุนั้น ๆความพิสดารแห่งตัณหานั้น เป็นตัณหาที่ท่องเที่ยวไปในอารมณ์ต่าง ๆ เพียงดังข่ายมี 36 ประการ ฯ ในพระสูตร 16 นั้น พระสูตร ที่ชื่อว่า ส่วนแห่งทิฏฐิสังกิเลส พึงแสดงโดยสัสสตะและอุทเฉทะ เพราะเป็นฝ่ายแห่งทิฏฐินั่นแหละ ก็หรือว่า ทิฏฐินั้นย่อมยึดมั่นด้วยอำนาจความเห็นในวัตถุใด ๆ ว่า "สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า"ดังนี้ ก็พึงแสดงโดยวัตถุนั้น ๆ นั่นแหละ ความพิสดารแห่งทิฏฐินั้น ได้แก่ทิฏฐิคตะ 62 ประการในพระสูตร 16 นั้น พระสูตรที่เป็นส่วนแห่งทุจริตสังกิเลส พึงแสดงด้วยทุจริต 3 คือ กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต ด้วยเจตนาและกรรมคือเจตสิกความพิสดารแห่งทุจริตนั้น ได้แก่ อกุศลกรรมบถ 10 ประการในพระสูตร 16 นั้น สูตรอันเป็นส่วนแห่ง ตัณหาโวทาน (คือความผ่องแผ้วจากตัณหา) บัณฑิตพึงแสดงด้วยสมถะ สูตรอันเป็นส่วนแห่งทิฏฐิโวทาน(ความผ่องแผ้วจากทิฏฐิ) พึงแสดงด้วยวิปัสสนา สูตรอันเป็นส่วนแห่งทุจริตโวทาน (ความผ่องแผ้วจากทุจริต) บัณฑิตพึงแสดงด้วยสุจริต อกุศลมูลมี 3อย่าง ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งอะไร เป็นเหตุของความเกิดขึ้นแห่งสังสาร จริงอย่างนั้น เมื่อสังสารเกิดขึ้นแล้ว กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต มีอยู่ พาลลักษณะนี้ ย่อมเกิดขึ้นด้วยวิบากแห่งกรรมอันไม่งามนี้ สูตรนี้ ชื่อว่า สังกิเลสภาคิยะ ฯ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต มีอยู่ มหาปุริสลักษณะนี้ ย่อมเกิดขึ้นด้วยวิบากแห่งกรรมอันงดงาม เพราะเหตุนั้น สูตรนี้จึงชื่่อว่า วาสนาภาคิยะ ฯ ในพระสูตร 16 เหล่านั้น สูตรอันเป็นส่วนแห่งสังกิเลส บัณฑิตพึงแสดงด้วยภูมิแห่งกิเลส 4 คือ ภูมิแห่งอนุสัย 1 ภูมิแห่งปริยุฏฐาน 1 ภูมิแห่งสังโยชน์ 1 และภูมิแห่งอุปาทาน 1 ฯ คืออย่างไรปริยุฏฐานกิเลส ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้ละอนุสัยยังไม่ได้ บุคคลผู้อันปริยุฏฐานมีกามราคะเป็นต้นกลุ้มรุมแล้ว ย่อมประกอบด้วยสังโยชน์มีกามราคะเป็นต้นบุคคลผู้ประกอบด้วยสังโยชน์ ย่อมยึดมั่นอกุศลกรรม มีกามุปาทานเป็นต้นเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงมี การเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี ด้วยประการฉะนี้ กิเลสทั้งปวงเหล่านี้ ย่อมถึงการสงเคราะห์ คือ ประชุมลงด้วยภูมิแห่งกิเลส 4 นี้ สูตรนี้ จึงชื่อว่า ส่วนแห่งกิเลส ฯ พระสูตร อันเป็นส่วนแห่งวาสนา พึงแสดงด้วยสุจริต 3 ฯ พระสูตร อันเป็นส่วนแห่งนิพเพธะ พึงแสดงด้วยสัจจะ 4 ฯ พระสูตร อันเป็นส่วนแห่งอเสกขะบัณฑิตพึงแสดงด้วยธรรม 3 อย่าง คือ ด้วยธรรมของพระพุทธเจ้า 1 ด้วยธรรมของพระปัจเจกพุทธะ 1 และด้วยภูมิแห่งพระสาวก 1 ภูมินี้ พึงแสดงด้วยอารมณ์แห่งฌานทั้งหลาย ฉะนี้แล ฯ +มูลบท 18 |