นโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะสารบัญ: ห้วเรื่อง, เลขข้อ | ไฟล์เดียว: html, text | [ค้นหา] [สารบัญ] <ก่อนนี้] [ถัดไป> เนตติปกรณ์แปล : 3. ยุตติหารวิภังค์ [ 18 ] ในบรรดาหาระเหล่านั้น ยุตติหาระเป็นไฉน ? คาถาว่า “สพฺเพสํ หารานํ (หาระทั้งปวง)” เป็นต้นนั้น ชื่อว่า ยุตติหาระ. ในยุตติหาระนี้ท่านประกอบอะไร ? ประกอบดังนี้ คือ มหาปเทส (หลักการกล่าวอ้างใหญ่ของธรรม) มี 4 คือ พุทธาปเทส (กล่าวอ้างพระพุทธเจ้า) สังฆปเทส (กล่าวอ้างพระสงฆ์) สัมพหุลัตเถราปเทป (กล่าวอ้างพระเถระจำนวนมาก) เอกัตเถราปเทป (กล่าวอ้างพระเถระรูปเดียว).3 4 อย่างเหล่านี้ ชื่อว่า มหาปเทส. อรรถบทและพยัญชนะบทเหล่านั้น ท่านจัดเข้าในสูตรแสดงไว้ในวินัย ใส่ไว้ในธรรมดา 3 ที. มหา. 10/187/109, องฺ. จตุกฺก. 21/108/191 จัดลงในสูตรไหน ? ในอริยสัจ 4. แสดงในวินัยไหน ? ในราควินัย (วินัยเป็นเหตุกำจัดราคะ) โทสวินัย (วินัยเป็นเหตุกำจัดโทสะ) โมหวินัย (วินัยเป็นเหตุกำจัดโมหะ). ใส่ไว้ในธรรมดาไหน ? ในปฏิจจสมุปบาท. ท่านจัดลงในอริยสัจ 4 ย่อมแสดงในกิเลสวินัย (วินัยเป็นเหตุกำจัดกิเลส มีราคะเป็นต้น) ย่อมไม่ทำให้ขัดแย้งกับธรรมดา เมื่อเป็นเช่นนี้ ย่อมไม่ทำให้อาสวะ (มีกามาสวะเป็นต้นเกิดขึ้น) อรรถใด ๆ บาลีใด ๆ ย่อมควรกับมหาปเทส 4 ย่อมควรด้วยเหตุใด ๆ ย่อมควรด้วยประการใด ๆ ควรถือเอาอรรถและบาลีนั้น ๆ [ 19 ] ผู้ถูกกามปัญหาควรประมวล ควรเลือกเฟ้นโดยบทว่า ที่เป็นปัญหามีกี่บท. ถ้าบททั้งปวงกล่าวอรรถ (ที่ประสงค์) อันเดียวก็เป็นปัญหาข้อเดียว ถ้า 4 บท กล่าวอรรถ (ที่ประสงค์) อันเดียวก็เป็นปัญหาข้อเดียว ถ้า 3 บทหลัง กล่าวอรรถ (ที่ประสงค์) อันเดียวก็เป็นปัญหาข้อเดียว ถ้า 2 บท กล่าวอรรถ (ที่ประสงค์) อันเดียวก็เป็นปัญหาข้อเดียว. ถ้าบทเดียวกล่าวอรรถ (ที่ประสงค์) อันเดียวก็เป็นปัญหาข้อเดียว. (เมื่อเป็นเช่นนี้ บทนั้นก็เป็นปัญหาข้อเดียว) ผู้พิจารณาปัญหานั้นควรทราบว่า “ธรรมเหล่านี้มรอรรถต่างกัน มีศัพท์ต่างกัน หรือ อรรถอันเดียวของธรรมเหล่านี้มีศัพท์ต่างกันเท่านั้น” เหมือนอะไร ? เหมือนที่เทวดานั้นทูลถามปัญหาพระผู้มีพระภาคว่า สัตว์โลกถูกอะไรกำจัด ถูกอะไรแวดล้อม ถูกลูกศรอะไรเสียบแทง ถูกอะไรทำให้เร่าร้อนทุกเมื่อ 1 4 บทเหล่านี้เป็นคำถาม อรรถที่ถูกถามด้วย 4 ประโยคเหล่านั้น เป็นปัญหา 3 ข้อ. รู้ได้อย่างไร ? รู้ได้เพราะพระผู้มีพระภาคตรัสตอบเทวดาว่า สัตว์โลกถูกความตายกำจัด ถูกชราแวดล้อม ถูกลูกศร คือตัณหาเสียบแทง ถูกตัณหาทำให้เร่าร้อนทุกเมื่อ2 1 สํ. ส. 15/66/45 2. สํ. ส. 15/66/45, ขุ. เถร. 26/448/337 [ 20 ] ในคาถาวิสัชนานั้น 2 อย่างเหล่านี้คือ ชราและมรณะ มีลักษณะเป็นสังขตะแห่งปัญจขันธ์ที่ถูกปรุงแต่ง. ชรานี้ได้แก่ความเป็นอย่างอื่น (ความเปลี่ยนแปลง) แห่งการตั้งอยู่. มรณะ ได้แก่ความเสื่อมสิ้น. ในคำข้างต้นนั้น ชรากับมรณะมีความแตกต่างกันโดยอรรถ. เพราะเหตุไร ? เพราะแม้สัตว์ทั้งหลายที่อยู่ในครรภ์ก็ย่อมตายได้ ซึ่งสัตว์เหล่านั้นยังไม่ทันแก่. เทวดาทั้งหลายก็ยังมีความตาย ซึ่งสรีระของเทวดาเหล่านั้นย่อมไม่แก่. บุคคลอาจจะป้องกันความแก่ได้แต่ไม่สามารถป้องกันความตาย ยกเว้นผู้มีฤทธิ์ทั้งหลาย สามารถป้องกันความตายด้วยฤทธิ์ได้. ส่วนตัณหาที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในคำว่า “ตณฺหาสลฺเลน โอติณฺโณ (ถูกลูกศร คือตัณหาเสียบแทง)” นั้น พระอรหันต์ทั้งหลายผู้ปราศจากตัณหาแม้จะแก่แม้จะตายก็ย่อมปรากฏ. ถ้าว่าตัณหาเหมือนกับชราและมรณะไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้สัตว์ทั้งปวงที่ตั้งอยู่ในความเป็นหนุ่มก็พึงปราศจากตัณหา. ตัณหาเป็นเหตุแห่งทุกข์ ฉันใด แม้ชราและมรณะก็เป็นเหตุแห่งทุกข์ ฉันนั้น. ตัณหาไม่เป็นเหตุแห่งทุกข์ ชราและมรณะก็ไม่เป็นเหตุแห่งทุกข์เหมือนกัน. (ความจริง) ตัณหาเป็นเหตุแห่งทุกข์เท่านั้น. ตัณหาพึงทำลายด้วยมรรค ฉันใด แม้ชราและมรณะก็พึงทำลายด้วยมรรค ฉันนั้น. ควรหาความเป็นอย่างอื่นด้วยเหตุอันสมควรอื่น ๆ โดยยุตติความสมควร (ดังที่กล่าวแล้ว) นี้. ถ้าว่าเมื่อยกขึ้นสู่ยุตติ ย่อมแสดงความเป็นอย่างอื่นโดยอรรถ. ควรหาความเป็นอย่างอื่นโดยศัพท์. ธรรมเหล่านี้ที่กล่าวไว้ว่า “สลฺโล” ก็ดี “ธูปายนํ” ก็ดี มีความเป็นอันเดียวกันโดยอรรถ. แท้จริงไม่สมควรที่อิจฉากับตัณหาจะต่างกันโดยอรรถ. เมื่อความประสงค์ด้วยตัณหาไม่เต็มอยู่ ความโกรธและความผูกโกรธย่อมเกิดขึ้นในอาฆาตวัตถุ 9 อย่าง. ความต่างกันโดยอรรถแห่ง ชรา มรณะ และ ตัณหา ย่อมควรด้วยยุตติความสมควรเช่นนี้. พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกคำนี้ด้วยชื่อ 2 อย่าง ว่า “อิจฉา” บ้าง “ตัณหา” บ้าง ด้วยอำนาจแห่งอารมณ์ของวัตถุ มี รูปารมณ์เป็นต้นภายนอก. แท้จริงตัณหาทั้งปวงมีลักษณะเหมือนกันด้วยลักษณะการเหนี่ยวอารมณ์มายึดไว้ เปรียบเหมือนไฟทั้งปวงมีลักษณะเหมือนกันด้วยลักษณะคือความร้อน แม้จะเหมือนกันเช่นนั้นก็ยังได้ชื่ออื่น ๆ ว่า ไฟไหม้ บ้าง ไฟหญ้า บ้าง ไฟสะเก็ดไม้ บ้าง ไฟโคมัย บ้าง ไฟแกลบ บ้าง ไฟขยะ บ้าง ด้วยอำนาจแห่งเชื้อ. แท้จริงไฟทั้งปวงมีลักษณะเป็นความร้อนเท่านั้น ตัณหาทั้งปวงก็เช่นเดียวกัน มีลักษณะเหมือนกันด้วยลักษณะคือการเหนี่ยวอารมณ์มายึดไว้ แต่ท่านเรียกด้วยชื่ออื่น ๆ ว่า อิจฉา (ธรรมชาติที่ต้องการอารมณ์) บ้าง ตัณหา (ธรรมชาติที่ติดอยู่ในอารมณ์) บ้าง สัลละ (สิ่งที่เสียบแทง) บ้าง ธูปยาน (สิ่งที่ทำให้เร่าร้อน) บ้าง สริตา (สิ่งที่ทำให้แล่นไป) บ้าง วิสัตติกา (สิ่งที่ซ่านไป) บ้าง สิเนหะ (ความรัก) บ้าง กิลมถะ (สิ่งที่ทำให้ลำบาก) บ้าง ลตา (สิ่งที่รัดรึงเหมือนเถาวัลย์) บ้าง มัญญนา (ธรรมชาติที่นึกว่าสมบัติของเรา) บ้าง พันธะ (สิ่งที่ผูกไว้) บ้าง อาสา (ธรรมชาติที่ปรารถนา) บ้าง ปิปาสา (ธรรมชาติที่ต้องการดื่มรสในอารมณ์) บ้าง. ตัณหาทั้งปวงมีลักษณะเหมือนกันด้วยลักษณะเหนี่ยวอารมณ์มายึดไว้อย่างนี้ สมดังคำที่ท่านกล่าวไว้ในเววจนหารวิภังค์ว่า ความหวัง ความปรารถนา ความยินดียิ่งย่อมมี ธรรมชาติที่ไหลไปดุจแม่น้ำ ธรรมชาติที่เป็นที่ตั้งแห่งธาตุเป็นอันมากก็ดี สิ่งที่เป็นที่เกิดคือโมหมูลก็ดี สิ่งที่กระซิบก็ดี ย่อมมี เราทำตัณหาทั้งปวงพร้อมทั้งรากเหง้าให้สิ้นสุดแล้ว 1 คำว่า “อาสา ปิหา (ความหวัง ความปรารถนา)” เป็นต้นนี้ เป็นคำไวพจน์ของตัณหา สมดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า 2 ดูก่อนติสสะ สำหรับผู้ที่ยังไม่ปราศจากราคะ ยังไม่ปราศจากฉันทะ ยังไม่ปราศจากความรัก ยังไม่ปราศจากความกระหาย ยังไม่ปราศจากความเร่าร้อน ในรูปขันธ์ (ใช้ชื่อเหล่านี้) เหมือนเช่นนั้น สำหรับผู้ที่ยังไม่ปราศจากราคะ ยังไม่ปราศจากฉันทะ ยังไม่ปราศจากความรัก ยังไม่ปราศจากความกระหาย ยังไม่ปราศจากความเร่าร้อน ในเวทนาขันธ์ ในสัญญาขันธ์ ในสังขารขันธ์ ในวิญญาณขันธ์ (ใช้ชื่อเหล่านี้). สูตรทั้งปวงควรขยายความ คำทั้งปวงที่กล่าวไว้ในสูตรนี้เป็นคำไวพจน์ของตัณหา. คำอันเรากล่าวไว้เช่นนี้ ย่อมสมควร [ 21 ] ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ทั้งปวง มีกามตัณหาเป็นปัจจัยและมีสังขารเป็นเหตุ ความเป็นอย่างนี้ย่อมควร. ส่วนความเกิดขึ้นแห่งนิพพานทั้งปวง มีวัตถุกามที่แวดล้อมด้วยกามตัณหาเป็นเหตุ ย่อมไม่สมควร ควรหาด้วยเหตุอื่น ๆ ด้วยยุตติดังที่กล่าวไว้แล้วอย่างนี้ สมดังที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอสุภะแก่บุคคลผู้เป็นราคจริต เทศนานั้นย่อมสมควร. ทรงแสดงเมตตาแก่บุคคลผู้เป็นโทสะจริต ทรงแสดงปฏิจจสมุปบาทแก่บุคคลผู้เป็นโมหะจริต. ถ้าพระผู้มีพระภาคพึงแสดงเมตตาเจโตวิมุติ แก่บุคคลผู้เป็นราคะจริตหรือพึงแสดงสุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา หรือ สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา หรือ ปหาน ที่มีวิปัสสนานำหน้า เทศนานั้นย่อมไม่สมควร (เพราะไม่เป็นสัปปายะ) การคล้อยตามแห่งการละราคะ การคล้อยตามแห่งการละโทสะ การคล้อยตามแห่งการละโมละ ทั้งสิ้นย่อมมีโดยนัยดังกล่าวมานี้. ควรพิจารณาคำทั้งปวงนั้น ด้วยวิจยหาระแล้วประกอบด้วยยุตติหาระ. ยุตติหาระย่อมมีประมาณเท่ากับอารมณ์ของปัญญา เทศนาว่า “พยายาทครอบงำจิตแล้วจะตั้งอยู่แก่ผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตา” ย่อมไม่สมควร. เทศนาว่า “พยาบาทย่อมถึงซึ่งการหายไป ซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้” ย่อมสมควร. เทศนาว่า “การเบียดเบียนครอบงำจิตแล้วจักตั้งอยู่แก่ผู้มีปกติอยู่ด้วยกรุณา” ย่อมไม่สมควร. เทศนาว่า “การเบียดเบียนย่อมถึงซึ่งการหายไป ซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้” ย่อมสมควร. เทศนาว่า “ความไม่ยินดีครอบงำจิตแล้วจักตั้งอยู่แก่ผู้มีปกติอยู่ด้วยมุทิตา” ย่อมไม่สมควร. เทศนาว่า “ความไม่ยินดีย่อมถึงซึ่งการหายไป ซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้” ย่อมสมควร. เทศนาว่า “ราคะครอบงำจิตแล้วจักตั้งอยู่แก่ผู้มีปกติอยู่ด้วยอุเบกขา” ย่อมไม่สมควร. เทศนาว่า “ราคะย่อมถึงซึ่งการหายไป ซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้” ย่อมสมควร. เทศนาว่า “วิญญาณอันมีการเป็นไปตามซึ่งสังขารนิมิต ย่อมเป็นไปด้วยอนิจจนิมิตเป็นต้นนั้น ๆ แก่ผู้มีปกติอยู่ด้วยสมาบัติที่ได้ด้วยการเจริญอนิจจานุปัสสนา” ย่อมไม่สมควร. เทศนาว่า “สังขารมีนิจจนิมิตเป็นต้น ย่อมถึงซึ่งการหายไป ย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้” ย่อมสมควร. เราย่อมปราศจากการกำหนดว่า “เป็นเรา”, เราไม่แลดูว่า “อุปาทานขันธ์นี้เป็นเรา” (เมื่อไม่แลดูอย่างนั้น) เทศนาว่า “ลูกศรคือความสงสัยกล่าวคือวิจิกิจฉาว่า “เราเป็นอะไร เราเป็นอย่างไร” ครอบงำจิตแล้วจักตั้งอยู่แก่เรา” ย่อมไม่สมควร. เทศนาอื่นเป็นไฉน ? เทศนาว่า “กามราคะและพยาบาทย่อมเป็นไปเพื่อทุติยฌานอันพิเศษ แก่ผู้เข้าปฐมฌาน” ย่อมไม่สมควร. เทศนาว่า “ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม” ย่อมสมควร. อีกอย่างหนึ่ง เทศนาว่า “สัญญามนสิการอันเป็นไปพร้อมด้วยวิตกย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม” ย่อมไม่สมควร. เทศนาว่า “ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ทุติยฌานอันพิเศษ” ย่อมสมควร. เทศนาว่า “สัญญามนสิการอันเป็นไปพร้อมด้วยวิตกและวิจารย่อมเป็นไป เพื่อตติยฌานอันพิเศษ แก่ผู้เข้าทุติยฌาน” ย่อมไม่สมควร. เทศนาว่า “ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม” ย่อมสมควร. อีกอย่างหนึ่งเทศนาว่า “สัญญามนสิการอันเป็นไปพร้อมด้วยอุเบกขาและสุข ย่อมเป็นไปได้เพื่อความเสื่อม” ย่อมสมควร. เทศนาว่า “ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ตติยฌานอันพิเศษ” ย่อมสมควร เทศนาว่า “สัญญามนสิกาการอันเป็นไปพร้อมด้วยปิติและสุข ย่อมเป็นไปเพื่อจตุตถฌานอันพิเศษ แก่ผู้เข้าตติฌาน” ย่อมไม่สมควร. เทศนาว่า “ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม” ย่อมสมควร. อีกอย่างหนึ่ง เทศนาว่า “สัญญามนิการอันเป็นไป พร้อมความหมดจดแห่งสติ อันอุเบกขาทำให้เกิดขึ้น ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม” ย่อมไม่สมควร. เทศนาว่า “ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่จตุตถฌานอันพิเศษ” ย่อมสมควร เทศนาว่า “สัญญามนสิการอันเป็นไปพร้อมด้วยอุเบกขา ย่อมเป็นไปเพื่ออากาสานัฐจายตนฌานอันพิเศษ แก่ผู้เข้าจตุตถฌาน” ย่อมไม่สมควร. เทศนาว่า “ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม” ย่อมสมควร อีกอย่างหนึ่ง เทศนาว่า “สัญญามนสิการอันเป็นไปพร้อมด้วยอากาสานัญจายตนฌาน” ย่อมสมควร เทศนาว่า “สัญญามนสิการอันเป็นไปพร้อมด้วยรูปฌาน ย่อมเป็นไปเพื่อวิญญานัญจายตนฌานอันพิเศษ แก่ผู้เข้าอากาสานัญจายตนฌาน” ย่อมไม่สมควร. เทศนาว่า “ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม ย่อมสมควร. อีกอย่างหนึ่ง เทศนาว่า “สัญญามนสิการอันเป็นไปพร้อมด้วยวิญญานัญจายตนฌานย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม” ย่อมไม่สมควร. เทศนาว่า “ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ทุติยอรูปฌานอันพิเศษ” ย่อมสมควร. เทศนาว่า “สัญญามนสิการอันเป็นไปพร้อมด้วย อากาสานัญจายตนฌานย่อมไปเพื่ออากิญจัญญายตนฌานอันพิเศษ แก่ผู้เข้าวิญญานัญจายตนฌาน ย่อมไม่สมควร เทศนาว่า “ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม” ย่อมสมควร. อีกอย่างหนึ่ง เทศนาว่า “สัญญามนสิการอันเป็นไปพร้อมด้วย อากิญจัญญายตนฌาน ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม” ย่อมไม่สมควร. เทศนา “ย่อมไปเพื่อประโยชน์แก่ตติยอรูปฌานอันพิเศษ” ย่อมสมควร เทศนาว่า “สัญญามนสิการอันเป็นพร้อมด้วยวิญญานัญจายตนฌาน ย่อมเป็นไปเพื่อจตุตถอรูปฌานเป็นพิเศษ แก่ผู้เข้าอากิญจัญญายตนฌาน” ย่อมไม่สมควร. เทศนาว่า “ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม” ย่อมสมควร. อีกอย่างหนึ่ง เทศนาว่า “สัญญามนสิการอันเป็นไปพร้อมด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม” ย่อมไม่สมควาร. เทศนาว่า “ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่จตุตถอรูปฌานอันพิเศษ” ย่อมสมควร. เทศนาว่า “จิตตุปบาทอันไม่ได้กำหนดสิ่งที่ทำสัญญากิจที่ปรากฏ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่สัญญาเวทยิตนิโรธอันพิเศษ แก่ผู้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน” ย่อมไม่สมควร. เทศนาว่า “ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม” ย่อมสมควร. อีกอย่างหนึ่ง เทศนาว่า “สัญญามนสิการอันเป็นไปพร้อมด้วยสัญญาเวทยิตนิโรธ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม” ย่อมไม่สมควร. เทศนาว่า “ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่สัญญาเวทยิตนิโรธ” ย่อมสมควร เทศนาว่า “จิตที่อบรมในสมาบัติที่กล่าวแล้วด้วยความเป็นวสี ย่อมไม่อดกลั้นซึ่งอภิญญาภินิหาร” ย่อมไม่สมควร. เทศนาว่า “จิตที่อบรมในสมาบัติที่กล่าวแล้วด้วยความเป็นวสี ย่อมอดกลั้นซึ่งอภิญญาภินิหาร” ย่อมสมควร ควรเลือกเฟ้นพระสูตร กล่าวคือพระไตรปิฏกอันมีองค์ 9 ด้วยวิจยหาระ โดยประการทั้งปวงตามธรรมตามวินัย ตามคำสั่งสอนของพระศาสดาอย่างนี้ แล้วพึงประกอบด้วยยุตติหาระ. เพราะฉะนั้นพระมหากัจจายนเถระจึงกล่าวว่า “สพฺเพสํ หารานํ, ยา ภูมิ โย จ โคจโร เตสํ (ศัพท์อันเป็นภูมิ และโคจรกล่าวคืออรรถของสูตรอันใดแห่งหาระทั้งปวง)” เป็นต้น ยุตติหาระ ท่านยกจากพระบาลีมาประกอบแล้ว 4. ปทัฏฐานหารวิภังค์ |